แนวทางการประยุกต์การประเมินผลสัมฤทธิ์และคุณค่าทางสังคมในประเทศไทย

Main Article Content

สกุลทิพย์ กีรติพันธวงศ์
ชลวิทย์ เจียรจิตต์
สันติ เติมประเสริฐสกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาแนวทางการประยุกต์การประเมินผลสัมฤทธิ์และคุณค่าทางสังคมในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การประยุกต์ และรูปแบบแนวทาง การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางสังคมในภาคส่วนต่าง ๆ ในประเทศไทย ตลอดจนวิเคราะห์ความเชื่อมโยงไปสู่การส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และแนวทางการส่งเสริม ทั้งในระดับนโยบายและปฏิบัติ ที่เหมาะสมในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ผู้ประยุกต์มาตรฐาน จำนวน 8 คน ซึ่งผู้วิจัยคัดเลือกจากองค์กรที่มีประสบการณ์ในการประยุกต์ และกลุ่มที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ส่งเสริมพัฒนามาตรฐาน จำนวน 4 คน ผู้วิจัยคัดเลือกจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาคการศึกษา โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา


ผลการศึกษา พบว่า ระดับความเข้าใจและการนำไปสู่ภาคบังคับใช้ในวงกว้าง โดยการประยุกต์และการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางสังคมในประเทศไทย มีการบูรณาการความร่วมมือและมีความเข้มแข็งในระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน รูปแบบการประยุกต์และการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางสังคมในประเทศไทยสอดคล้องกับ "LIST MODEL" ที่มี 4 มิติ 20 องค์ประกอบ ทั้งนี้รูปแบบการประยุกต์มีลักษณะเป็นกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และมีการหลอมรวมศักยภาพ และการบูรณาการความร่วมมือในการสร้างคุณค่าร่วมที่ครอบคลุมทั้งมิติคุณค่าทางการเงิน สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีการยึดโยงระหว่างความรับผิดชอบและความร่วมมือด้วยการกาหนดตัวชี้วัด ผลสัมฤทธิ์และคุณค่าทางสังคมร่วมกันกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาคการศึกษา ซึ่งนำไปสู่การบูรณาการความร่วมมือสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระสุธีรัตนบัณฑิต (อาภากโร). (2561). LIST MODEL FOR RESEARCH AND SOCIAL DEVELOPMENT. พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุธีรัตนบัณฑิต (อาภากโร), และ พระพรหมบัณฑิต (ธมฺมจิตฺโต). (2562). องค์ประกอบ รูปแบบ และกระบวนการสร้างเครือข่ายการวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 7(4), 923-937.

Africa Union. (2021). Linking Agenda 2063 and the SDGs. Retrieved from https://au.int/agenda2063/sdgs

Cassen, R. H. (1987). Our common future: report of the World Commission on Environment and Development. International Affairs, 64(1), 126.

Fuzi, A., Sikora, D., & Gryszkiewicz, L. (2018). Why Taking a Step Back From Social Impact Assessment Can Lead to Better Results. Retrieved from

https://ssir.org/articles/entry/why_taking_a_step_back_from_social_impact_assessment_can_lead_to_better_res

Kvam, R. (2018). Social Impact Assessment: Integrating Social Issues in Development Projects. Retrieved from https://publications.iadb.org/en/publications/english/viewer/Social_Impact_Assessment_Integrating_Social_Issues_in_Development_Projects.pdf

Nigri, G., & Michelini, L. (2019). A Systematic Literature Review on Social Impact Assessment: Outlining Main Dimensions and Future Research Lines. International Dimensions of Sustainable Management (pp. 53-67). Online: Springer Cham.