การนำนโยบาย “สมาร์ต ซิตี้” ไปปฏิบัติ กรณีของโครงการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมืองอัจฉริยะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการนำนโยบายสมาร์ต ซิตี้ ไปปฏิบัติของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมืองอัจฉริยะ ความเป็นเลิศที่ยั่งยืนสู่ชุมชน และผลลัพธ์ 7 ด้านอัจฉริยะ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม พลังงาน พลเมือง การคมนาคม เศรษฐกิจ และการบริหารงาน 2) ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการนำนโยบายสมาร์ต ซิตี้ ไปปฏิบัติของโครงการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมืองอัจฉริยะ โดยสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง จำนวน 31 คน ได้แก่ ผู้กำหนดนโยบาย ผู้บริหารในมหาวิทยาลัย รองอธิการบดีและผู้อำนวยการจากส่วนงานวิชาการ พนักงานผู้ปฏิบัติและนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนายกเทศมนตรีจากโครงการสมาร์ต ซิตี้อื่น
ผลการวิจัย 1) ผลการศึกษากระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นไปใน 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเริ่มต้น: ได้แปลงนโยบายยึดบริบทและภารกิจตนเอง กำหนดนโยบายและวางแผน บรรจุวาระการพัฒนาสมาร์ตซิตี้ในแผนแม่บท จัดองค์กรและตั้งศูนย์บริหารจัดการเมืองอัจฉริยะ และกระจายทรัพยากรที่เพียงพอและอำนาจให้รองอธิการบดีลงมามีส่วนร่วม ขั้นการปฏิบัติ: มีโครงสร้างองค์การเข้มแข็ง ระบบคัดคน วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมที่ดี มีการกำหนดขั้นตอนมอบหมายงาน ประเมินผลที่ชัดเจน ผู้ปฏิบัติงานมีคุณภาพ เจตจำนงที่ดีร่วมกับ ผู้นำ ๆ เข้มแข็ง มีภาวะผู้นำและความสามารถสูง การประสานงานความร่วมมือและทีมเวิร์คสูง และขั้นผลลัพธ์: ครบองค์ประกอบของสมาร์ต ซิตี้ เกิดผลลัพธ์เป็นรูปธรรมในบางด้านที่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน การคมนาคมและการดำรงชีวิต เช่น การจัดการของเสียเป็นศูนย์ ลดการปล่อยคาร์บอน ผลิตพลังงานสะอาดใช้ นำเทคโนโลยีดิจิทัลและข้อมูลมาใช้ต่อเนื่อง ในบางด้านยังคงพัฒนาต่อไป 2) ปัจจัยสู่ความสำเร็จในกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ แบ่งเป็นปัจจัยภายใน ได้แก่ ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ ความมุ่งมั่นและกรอบแนวคิดสมาร์ต ซิตี้ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานและนักศึกษา กระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติที่ดี ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี และปัจจัยภายนอก ได้แก่ โครงสร้างองค์กร งบประมาณ เจตจำนงที่ดี การมีส่วนร่วมของนักศึกษาและการประชาสัมพันธ์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
บรรพต เมฆนิติกุล. (2554) การนำนโยบายการควบคุมอาคารไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, สถานที่พิมพ์.
วรเดช จันทรศร. (2551). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ (An Integrated theory of public policy implementation) (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สมาคมนักวิจัยมหาวิทยาลัยไทย.
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2564). การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ. สืบค้นจาก https://www.depa.or.th/th/smart-city-plan/smart-city-office
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). คำสั่งที่สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 267/2017 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ. สืบค้นจาก https://www.depa.or.th/storage/app/media/file-rules%20announce%20law/national/25601015.pdf
เอกวิทย์ เมฆประยูร. (2567). ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้นำนโยบาย Smart City Thailand มาปฏิบัติ : โครงการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมืองอัจฉริยะ ความเป็นเลิศที่ยั่งยืนสู่ชุมชน (the CMU Smart City Project). สืบค้นจาก https://wictorzekawit.blogspot.com/2024/05/cmu-smart-city.html
Brewer, G., & Deleon, P. (1983). The Foundations of Policy Analysis. New York, NY; The Dorsey Press.
Chourabi, H., Nam, T., Walker, S., Gil-Garcia, J. R., Mellouli, S., Nahon, K.,,...Scholl, H. J. (2012). Understanding smart cities: an integrative framework. In System Science (HICSS), 2012 45th Hawaii International Conference on (pp. 2289-2297). IEEE.
Jones, C. (1977). An Introduction to Study of Public Policy (2nd ed). Duxbury, MA: Duxbury Press.
Myeong, S., Jung, Y., & Lee, E. (2018). A Study on Determinant Factors in Smart City Development: An Analytic Hierarchy Process Analysis. Sustainability, 10(8), 2606. https://doi.org/10.3390/su10082606
Nam, T., & Pardo, T. (2011). Conceptualizing Smart City with Dimensions of Technology, People, and Institutions [PDF file]. Retrieved from https://dl.acm.org/doi/pdf/10.1145/2037556.2037602