การวิเคราะห์การดำเนินงานอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตทอผ้าตำบลสันนาเม็ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ผ่านมาค่อนข้างรุนแรง แต่ยังคงมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบางแห่งที่สามารถดำเนินกิจการต่อได้อย่างยั่งยืน การได้ทราบถึงวิธีการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเหล่านี้จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน การดำเนินงานอย่างยั่งยืน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตทอผ้าตำบลสันนาเม็ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ร่วมกับเทคนิคการอภิปรายกลุ่ม กับสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจำนวน 150 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรม AMOS และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (ρ)
ผลการศึกษา พบว่าสมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 69.30) อายุเฉลี่ย 52.62 ปี สมรสแล้ว (ร้อยละ 67.30) สำเร็จการศึกษาในระดับประถม (ร้อยละ 34.00) มีรายได้เฉลี่ยต่อปี 8,393.33 บาท ไม่เคยเข้าร่วมการฝึกอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ร้อยละ 56.00) และไม่เคยได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ (ร้อยละ 63.30) เป็นสมาชิกกลุ่มเฉลี่ย 3.64 ปี และเชื่อว่าผู้บริหารกลุ่มมีภาวะความเป็นผู้นำอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.47) อย่างไรก็ตามสมาชิกกลุ่มมีความรู้ความเข้าใจ (ร้อยละ 98.00) มีทัศนคติเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.98) และมีความพึงพอใจต่อสวัสดิการที่ได้รับในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.68) ในขณะที่มีการดำเนินงานอย่างยั่งยืนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.76) สำหรับการวิเคราะห์ AMOS พบแบบจำลองสมการโครงสร้างของปัจจัยสนับสนุน และปัจจัยด้าน เศรษฐสังคมมีอิทธิพลต่อการดำเนินงานอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังพบ 3 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานอย่างยั่งยืนในภาพรวมคือ อายุ การเข้าร่วมอบรมด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐด้านการดำเนินงานอย่างยั่งยืน ทั้งนี้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีอายุมากขึ้น ได้รับการฝึกอบรมและการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐบ่อยครั้ง จะส่งผลให้มีการดำเนินงานอย่างยั่งยืนในระดับที่สูงขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2552). การดําเนินงานพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทยจํากัด.
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2557). การประกอบกิจการวิสาหกิจชุมชนเพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC. สืบค้นจาก https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2019/05/AEC.pdf
ธนเดช วงเขียว. (2565). เชียงใหม่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 1/2565. สืบค้นจาก https://chiangmai.doae.go.th/province/?p=10554
กัญญ์สิริ จันทร์เจริญ. (2554). การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง. สืบค้นจาก https://www.ict.up.ac.th/surinthips/ResearchMethodology_2554/เอกสารเพิ่มเติม/การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง.PDF
จรีภรณ์ มีศรี. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มชีลี-วรรณ ชุมชนพัฒนาตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ (รายงานวิจัย). ฉะเชิงเทรา: สำนักงานประมงจังหวัดฉะเชิงเทรา.
จักรพงษ์ พวงงามชื่น. (2552). การพัฒนาชุมชน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ฐากูร อนุสรณ์พาณิชกุล. (2563). รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนปลงและการจัดการนวัตกรรมที่มีผลต่อความสำเร็จวิสาหกิจชุมชนในเขตภาพเหนือตอนล่าง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(2), 14-25. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JLPRU/article/view/241274/168206
ณัฏฐวรวีร์ มานพพงษ์, สถาพร แสงสุโพธิ์, เฉลิมชัย ปัญญาดี, และ สมคิด แก้วทิพย์. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนประเภทผ้าทอจังหวัดลำพูน. วารสารวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 4(2), 45-64. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/242024/171043
ทัศน์ชัย ศิริวรรณ. (2564). การพัฒนาดัชนีชี้วัดความสำเร็จอย่างยั่งยืนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ชีววิถีตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.
นพดล บุญช่วย. (2564). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบสวัสดิการ คุณภาพชีวิตในการทำงาน และความผูกพันของพนักงานที่ปฏิบัติงานในสำนักงานใหญ่ของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สืบค้นจาก http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1527/1/gs611130368.pdf
นุชนาถ ทัพครุฑ, ศุภพิชญาณ์ บุญเกื้อ, และ อรอนงค์ อำภา. (2563). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดตรังโดยใช้แนวคิดในการบริหารจัดการ Balanced Scorecard. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 12(1), 1-12. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index. php/nakboot/article/view/221014/164153
บัณฑิต นิจถาวร. (2562). ทุนนิยมกับความเหลื่อมล้ำ. สืบค้นจาก https://www.thaipost.net/main/detail/50546
บุรณิน รัตนสมบัติ. (2557). การพัฒนาตัวแบบเชิงกลยุทธ์การจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืนในอนาคตของวิสาหกิจขนาดใหญ่ (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). สืบค้นจาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/snamcn/Buranin_Rattanasombat_Doctor/fulltext.pdf
ประกริต รัชวัตร์. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษาพยาบาล (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). สืบค้นจาก http://center.mcu.ac.th/userfiles/file/วิทยานิพนธ์/ปริญญาเอก/พุทธบริหารการศึกษา/2560/MCU600114022.pdf
พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย. (2560). กายวิภาควิกฤตเศรษฐกิจ: ฟองสบู่ หนี้ ทุน และความเสี่ยง. สืบค้นจาก https://www.the101.world/anatomy-of-econ-crisis/
พิราวรรณ กิติสากล. (2565). ปัจจัยแรงจูงใจในงาน ความพึงพอใจในงาน ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษาพนักงานบริษัทนำเข้าและจำหน่ายเครื่องพิมพ์ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สืบค้นจาก https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/4944/1/TP%20BM.107%202565.pdf
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2564). ขั้นตอนวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วย AMOS. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, 1(1), 50-60. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jstpcru/article/download/255632/172991/930877
รัตพงษ์ สอนสุภาพ. (2554). ทุนนิยมพวกพ้องในประเทศไทย: ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างระบบสฤษดิ์-ถนอมและระบอบทักษิณ. จันทรเกษมสาร, 17(32), 82-89. สืบค้นจาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/crujournal/article/view/30235/26069
เรวดี พานิช. (2563). เจตคติผู้บริหารบริษัทไทยที่มีต่อการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ 2015-2030. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 26(2), 1-12. สืบค้นจาก https://www.journals.apheit.org/jounal/social-26-2/01.pdf
ลักษณา ทรัพย์สมบูรณ์. (2551). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ลําแพน จอมเมือง, และ สุทธิพงษ์ วสุโสภาพล. (2546). ผ้าทอไทลื้อ: เศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์.
วาสนา ผิวผลาผล. (2564). การศึกษาความพึงพอใจต่อสวัสดิการของพนักงานที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเฉพาะส่วน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (รายงานการวิจัย). สืบค้นจาก http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3929/3/Wasana_p-Research.pdf
วันวสา วิโรจนารมย์. (2562). การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป AMOS for SEM ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ. สืบค้นจาก https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=929
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). การระดมความคิดเห็นกรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. สืบค้นจาก https://www. nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/PPTกรอบแผน13สำหรับระดมความเห็น.pdf
Guilford, J. P. (1954). Psychometric Methods. New York, NY: McGraw-Hill.
Poung-ngamchuenm, J., & Buwjoom, T. (2023). The Feasibility Synthesis of Growing Hemp Instead of Maize to Reduce Smog from Maize Stubble Burning in Northern Thailand. Universal Journal of Agricultural Research. 11(2), 230-240. Retrieved from https://www.hrpub.org/download/20230330/UJAR2-10429615.pdf
Siriwan, T., Poung-ngamchuen, J., Rungkawat, N., & Kruekum, P. (2020). Rationale Factors Affecting Participation in Managerial Administration of Chiwavitee Community Enterprise Group’s Members in Nam KianSub-district, Phu Phiang District, Nan Province. Journal of Environmental Treatment Techniques, 8(4), 1611-1617.