เจเนอเรชั่นกับพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในภาคเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนต่างเจเนอเรชั่นในภาคเหนือของประเทศไทย โดยจำแนกเจเนอเรชั่น ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ เบบี้บูมเมอร์ เจเนอเรชั่นเอ็กซ์ เจเนอเรชั่นวาย และเจเนอเรชั่นซี การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษาคือผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2562 ในภาคเหนือ 3 จังหวัด ได้แก่ ลำพูน แพร่ และอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยมีแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมาน
ผลการวิจัย พบว่า เจเนอเรชั่นที่แตกต่างกันจะมีพฤติกรรมการติดตามสื่อโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ที่มีความโน้มเอียงทางการเมือง พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกตัวบุคคลหรือพรรคการเมือง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยเบเบี้บูมเมอร์ติดตามสื่อโทรทัศน์หลักมากกว่าเจเนอเรชั่นอื่น ในขณะที่เจเนอเรชั่นวายติดตามสื่อออนไลน์ที่มีความโน้มเอียงทางการเมืองมากกว่าเจเนอเรชั่นอื่น สำหรับพฤติกรรมการเลือกตัวบุคคลหรือพรรคการเมือง พบว่าทุกเจเนอเรชั่นเลือกตัวบุคคลและพรรคร่วมกันมากที่สุด โดยเบบี้บูมเมอร์จะเลือกตัวบุคคลมากกว่าเจเนอเรชั่นอื่น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กนกรัตน์ เลิศชูสกุล. (2564). สงครามเย็น (ใน) ระหว่างโบว์ขาว. กรุงเทพฯ: มติชน.
ฐากร ตัณฑสิทธิ์. (2561). ยุคดิจิทัลจะเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางการเมือง(Landscape) ของประเทศ. Journal of Digital Communications, 2(2), 43–48. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBTC_Journal/article/view/168761/121422
นุกูล ชิ้นฟัก, วรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล, และ จิราพร ปลอดนุ้ย. (2561). พฤติกรรมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีต่อการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยในตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, คณะบริหารธุรกิจ.
วชิรวิชญ์ อัคราวิสิฐพล. (2564). การสื่อสารภังควิวัฒน์กับปรากฏการณ์แฟลชม็อบเยาวชนไทย. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 25(1), 60-69.
วณัฐย์ พุฒนาค. (2560). การแบ่งคนเป็น Generations มาจากไหน? ทำไมต้องนิยามจากช่วงอายุ?. สืบค้นจาก https://thematter.co/pulse/where-does-generation-come-from/26074.
วัชระ คุณวงค์, และ อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์. (2562). ภูมิทัศน์ความรุนแรงและการกลั่นแกล้งในสื่อออนไลน์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นายเรืออากาศ, 9, 146-160.
วัลลภัช สุขสวัสดิ์. (2560). การวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิจิตร เกิดน้อย, ยุทธนา ปราณีต, สุรพล สุยะพรหม, และ พรรษา พฤฒยางกูร. (2563). พฤติกรรมทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในตำบลไทยาวาส อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(2), 129-139.
วุฒิพล วุฒิวรพงศ์, และ กิ่งกาญจน์ จงสุขไกล. (2562). พัฒนาการของช่องทางในการแสดงออกทางการเมืองในสื่อออนไลน์ช่วง พ.ศ. 2560 – 2557. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 8(3), 147-167.
ศักดิ์สิน อุดมวิทยไพศาล, ยุภาพร ยุภาส, และ สัญญา เคณาภูมิ. (2562). กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 10(1), 293-306.
Carrillo-Durán, M.-V., Ruano-López, S., Fernández-Falero, M.-R., & Trabadela-Robles, J. (2022). Understanding How Baby Boomers Use the Internet and Social Media to Improve the Engagement with Brands. Comunicação e Sociedade, 41, 261-284.
Chan, M., Chen, H.-T., & Lee, F. L. F. (2017). Examining the roles of mobile and social media in political participation: A cross-national analysis of three Asian societies using a communication mediation approach. New Media & Society, 19(12), 2003-2021.
Prior, M. (2005). News vs. Entertainment: How Increasing Media Choice Widens Gaps in Political Knowledge and Turnout. American journal of political science, 49(3), 577-592.
Wongsuwan, N., Jermsittiparsert, K., Tokeaw, W., & Boonsiri, K. (2022). News Consumption Behaviors among Voters in Capital's Gubernatorial Election: Evidence in Bangkok, Thailand. Przestrzen Spoleczna, 22(1), 305-324.