การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มปลาดุกในชุมชนประมงพื้นบ้านตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มปลาดุกในชุมชนประมงพื้นบ้านตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ที่เน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติ ขั้นสังเกต และขั้นสะท้อนกลับ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน ผู้นำองค์กรชุมชน ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 28 คน ส่วนกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริโภคน้ำพริกบางแก้วเมืองลุง จำนวน 63 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการ วิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์ การสังเกต และการสนทนากลุ่ม ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนประมงพื้นบ้านตำบลนาปะขอเป็นชุมชนที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ แต่ชุมชนมีทรัพยากรสำคัญ ได้แก่ “ปลาดุก” จึงนำมาสู่แนวคิดการสร้างมูลค่าเพิ่มปลาดุก ในรูปแบบของ “ผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาดุก” จำนวน 3 รสชาติ ได้แก่ น้ำพริกปลาดุกสมุนไพร น้ำพริกปลาดุกฟู และน้ำพริกปลาดุกลุยสวน ภายใต้ตราสินค้า “น้ำพริกบางแก้ว เมืองลุง” โดยให้ความสำคัญกับแนวคิด “ส่วนประสมทางการตลาด 4P’s” ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการขาย ผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคประมวลโดยภาพรวม พบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาดุกฟู (=4.57) และน้ำพริกปลาดุกสมุนไพร (
=4.52) อยู่ในระดับมากที่สุด และน้ำพริกปลาดุกลุยสวน (
=4.44) อยู่ในระดับมาก สำหรับผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาดุกจะมีการพัฒนาและต่อยอดต่อไปบนฐานความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและทุนชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน โดยมีข้อเสนอแนะ ได้แก่ การส่งเสริมการรวมกลุ่มการทำผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาดุก การส่งเสริมการใช้วัตถุดิบภายในชุมชน และการส่งเสริมและพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาดุก อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจของชุมชน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่าง ยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี (รายงานวิจัย). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณรงค์ เจนใจ. (2566). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากทุนภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชุมชนเมืองเก่าสบสม-หาดไคร้ ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. วารสารบัณฑิตแสงโคมดำ, 8(3), 559-579.
เปรียบแก้ว เจริญแพทย์. (2562). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มน้ำอัดลมแบบไม่มีน้ำตาลในจังหวัดชลบุรี (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น, กรุงเทพฯ.
สุจิตรา บรรณจิตร, และ ยุทธกร ฤทธิ์ไธสง. (2565). การศึกษาส่วนประสมทางการตลาดสำหรับผู้บริโภคของร้านค้าปลีก ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 1(1), 51-66.
องค์การบริหารส่วนตำบลนาปะขอ. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570. พัทลุง: องค์การบริหารส่วนตำบลนาปะขอ.
อุรวศี วัฒนวรางกูร. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าซัลวาซู ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
เอกพล แสงศรี, บัญชา นวนสาย, เทพพร โลมารักษ์, และ คคนางค์ ช่อชู. (2566). ส่วนผสมทางการตลาด 4P’s ที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจชื้อผักมาตรฐาน GAP จากโครงการเกษตรแปลงรวมแก้จน ของผู้บริโภคในตลาดเกษตรสร้างสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 18(1), 135-144.
Best, J. W. (1981). Research in Education. London: Prentice-Hall India.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1990). The Action Research Planner. Geelong: Deakin University Press.