การขับเคลื่อนนโยบายระบบฐานข้อมูล iSingle Form ของกระทรวงอุตสาหกรรมต่อการนำไปปฏิบัติราชการของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ชุติมา จีนะดิษฐ์
ไชยวัฒน์ เผือกคง
วาสนา จาตุรัตน์

บทคัดย่อ

          ระบบ iSingle Form คือระบบรายงานข้อมูลกลางของกระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมในรูปแบบออนไลน์ ช่วยอำนวยความสะดวกในการรายงานข้อมูลการประกอบกิจการได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้ระบบ iSingle Form และองค์ประกอบสำคัญต่อการขับเคลื่อนของกระทรวงอุตสาหกรรมในยุคไทยแลนด์ 4.0 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) สร้างรูปแบบที่ใช้ในการขับเคลื่อน iSingle Form ตามนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม ต่อการนำไปปฏิบัติราชการในยุคไทยแลนด์ 4.0 รูปแบบการวิจัยใช้แบบผสมผสานวิธี วิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร บุคลากร และแบบสอบถามจากผู้แทนโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 280 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ปัจจัย และวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการจัดสนทนากลุ่ม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจำนวน 15 คน เพื่อนำผลการวิจัยเชิงปริมาณมาร่วมกันสร้างรูปแบบที่ใช้ในการขับเคลื่อน iSingle Form ตามนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรมต่อการนำไปปฏิบัติราชการในยุคไทยแลนด์ 4.0
          ผลการวิจัย พบว่า 1) การใช้ระบบ iSingle Form ของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด   สุราษฎร์ธานี มีพฤติกรรมในการใช้ระบบจากผู้ประกอบการ อยู่ในระดับมาก แต่ยังพบปัญหา   ทั้งในด้านการใช้ระบบ และประสิทธิภาพของระบบ ซึ่งต้องได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัญหา อุปสรรค พบว่า การขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐของกระทรวงอุตสาหกรรมต้องอาศัยหลายปัจจัย ต้องมีการวางแผนงานหรือการฝึกอบรมเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้เกี่ยวกับหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการผู้ประกอบการได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น 2) ผลจากการสนทนากลุ่มผู้วิจัยได้สร้างรูปแบบในการใช้เป็นแนวทางขับเคลื่อน คือ ใช้ดี โมเดล จากการวิเคราะห์ปัจจัย ซึ่งต้องอาศัยการขับเคลื่อนร่วมกันทั้ง 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ผู้ใช้งานระบบ 2) ระบบ iSingle Form 3) ประสิทธิภาพของระบบ และ 4) การพัฒนาซึ่งต้องอาศัยการดำเนินการไปพร้อมกันก็จะเกิดการพัฒนาและในการขับเคลื่อนการใช้งานระบบ iSingle Form ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
จีนะดิษฐ์ ช., เผือกคง ไ., & จาตุรัตน์ ว. (2024). การขับเคลื่อนนโยบายระบบฐานข้อมูล iSingle Form ของกระทรวงอุตสาหกรรมต่อการนำไปปฏิบัติราชการของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 7(4), 55–72. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/273094
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2566). แผนปฏิบัติการดิจิทัลของกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2566–2570. สืบค้นจาก https://www.industry.go.th

ขวัญ เพชรสว่าง. (2559). การศึกษาความเป็นไปได้ ของโครงการตามยุททธศาสตร์ส่งเสริมการสร้างบริการดิจิทัลภายใต้นโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ณัฐวรรธน์ อุนนะนันทน์, เอกพิชญ์ ชินะข่าย, นนท์ น้าประทานสุข, และ จริยา โกเมนต์ (2566). การบริหารจัดการที่มุ่งสู่ระบบราชการ 4.0 ของสถานสงเคราะห์เด็กโตกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 6(3), 36-50.

ธนพร พวงเปลี้ย. (2565). การบริหารราชการในยุคดิจิทัลของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอหนองม่วง. วารสารไตรศาสตร์, 7(1), 1-13.

บุญชม ศรีสะอาด. (2542). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีระยาสาส์น.

ษมาวีร์ จันทร์อารีย์, และ ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา. (2562). ระบบราชการไทยกับข้าราชการในประเทศไทย 4.0. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 4(2), 218-232.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2566). ข้อมูลเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. สืบค้นจาก https://www.oie.go.th

อนุวัฒน์ ทองแสง, อนุพันธ์ เรืองพรวิสุทธิ์, ปุณณดา ทรงอิทธิสุข, และ โชติ บดีรัตน์. (2565), นโยบายการบริหารกิจการสาธารณะยุคดิจิทัล. วาสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 127-142.