รูปแบบของกลุ่มประชาสังคมที่มีประสิทธิภาพในการสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

อิทธิชัย สีดำ
มะพาริ กะมูนิง
ปพน บุษยมาลย์
สถาวิทย์ จันจุฬา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาระดับของความเป็นกลุ่มประชาสังคมที่มีประสิทธิภาพและระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบกลุ่มประชาสังคมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ   การปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 3) เพื่อสร้างรูปแบบกลุ่มประชาสังคมที่มีประสิทธิภาพต่อการปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีกลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกกลุ่มประชาสังคม จำนวน 361 คน


ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับของความเป็นกลุ่มประชาสังคมที่มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก และระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ในระดับมาก 3) องค์ประกอบกลุ่มประชาสังคมโดยรวมส่งผลต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยรวม แต่เมื่อแยกประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเป็นรายด้านจะมีองค์ประกอบกลุ่มประชาสังคมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานไม่ครบทุกองค์ประกอบ 3) รูปแบบของกลุ่มประชาสังคมที่มีประสิทธิภาพในการสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีรูปแบบ ดังนี้ กลุ่มประชาสังคมจะต้องมีองค์ประกอบครบทุกองค์ประกอบถ้าหากจะให้ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดขึ้นทุกด้าน แต่หากบางกลุ่มประชาสังคมต้องการเน้นประสิทธิภาพการปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ครบทุกด้านจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป

Article Details

How to Cite
สีดำ อ., กะมูนิง ม., บุษยมาลย์ ป., & จันจุฬา ส. (2025). รูปแบบของกลุ่มประชาสังคมที่มีประสิทธิภาพในการสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 8(1), 116–134. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/273426
บท
บทความวิจัย

References

จิตต์สุมน พรมงคลวัฒน์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชากับขวัญและกำลังใจของบุคลากร ในสถาบันสังกัดสานักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

พิสิฐ เทพไกรวัล. (2554). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียน ประถมศึกษาขนาดเล็ก (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

รุ่งอรุณ กระมุทกาญจน์. (2551). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชนสาธารณสุขเขต 14 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้. (2567). เหตุการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำเดือน ธันวาคม 2566. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/deepsouthwatch/?locale=th_TH.

ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา. (2554). รายงานศูนย์ศึกษาชาติพันธ์และการพัฒนา ประจำปี พ.ศ. 2552-2554. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุทธิพงศ์ พรหมไพจิตร, ปุณวัฒน์ อุบล, และ นพปฎล วิเศษสุวรรณภูมิ. (2539). การประเมินผลโครงการทักษิณพัฒนา (รายงานวิจัย). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2541). ส่วนรวมที่มิใช่รัฐ: ความหมายของประชาสังคม. วารสารธรรมศาสตร์, 24(2), 124-151.

Aall, P. (2001). What Do NGOs Bring to Peacemaking?. In C. Crocker, F. Hampson, & P. Aall (Eds.), Turbulent Peace, (pp. 365-83). Washington D.C.: United States Institute of Peace Press.

Barnes, C. (2005). Weaving the Web: Civil-Society Roles in Working with Conflict and Building Peace. In P. van Tongeren, M. Hellema, & J. Verhoeven, (Eds.), People Building Peace II: Successful Stories of Civil Society, (pp. 5-28). Boulder CO: Lynne Rienner.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitude. Archives of Psychology, 140, 1-55.

Orjuela, C. (2004). Civil Society in Civil War, Peace Work and Identity Politics in Sri Lanka (Doctoral Dissertation). Göteborg University, Göteborg.

Paffenholz, T. (2003). Community-Based Bottom-Up Peacebuilding: The Development of the Life and Peace Institute's Approach to Peacebuilding and Lessons Learned from the Somalia Experience (1990-2000). Uppsala: Life and Peace Institute.

Seedam, I., & Sirisunhirun, S. (2019). A Southern Border Provinces Administrative Center (SBPAC) Organisational Structure Model for Solving Insurgency Problems in the Southern Provinces of Thailand. International Journal of Innovation, Creativity and Change, 10(7), 17-30. Retrieved from https://www.ijicc.net/images/vol10iss7/10710_Seedam_2019_E_R.pdf

Sida. (2005). Sida’s Policy for Civil Society: The Objective of Sida’s Cooperation with Civil Society. Retrieved from www.sida.se

Social Development Department. (2007). Civil society and peacebuilding: Potential, Limitations and Critical Factors. Washington D.C.: The International Bank for Reconstruction and Development / The World Bank.