กระบวนการมีส่วนร่วมในการนำหลักกสิกรรมธรรมชาติ สร้างสวนบำบัด สำหรับเด็กพิเศษผ่านภาคีเครือข่าย หลายภาคส่วน กรณีศึกษา ตำบลช้างน้อย อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการร่วมสร้างสวนบำบัดผ่านหลักกสิกรรมธรรมชาติให้แก่เด็กพิเศษ 2) นำเสนอรูปแบบกระบวนการมีส่วนร่วมในการนำหลักกสิกรรมธรรมชาติสร้างสวนบำบัดให้เด็กพิเศษผ่านรูปแบบการพัฒนาสวนของชุมชน (Community gardens) ภายใต้แนวคิดการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ (New Public Governance: NPG) ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Research: PR) และการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ จำนวนทั้งสิ้น 15 ท่าน ได้แก่ 1) ภาครัฐ (มหาวิทยาลัย) 2) เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ 3) ผู้ปกครอง 4) คุณครูประจำศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 5) ชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาและร้อยเรียงเรื่องราว
ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อริเริ่มกิจกรรมการสร้างสวนบำบัดให้แก่เด็กพิเศษนั้นเริ่มต้นด้วยทุกภาคีเครือข่ายหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมในบทสนทนาตั้งแต่ภาครัฐ ชุมชน โรงเรียน และมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ สอบถามถึงบริบทของพื้นที่และการจุดประเด็นการพัฒนาพื้นที่ ไปจนถึงการหาข้อสรุปหรือลงมือทำ ตลอดจนจัดทำสวนที่มาจากข้อสรุปของทุกฝ่ายได้เห็นพ้องต้องกันและมีการวางแผนทรัพยากรของแต่ละฝ่ายไว้ตั้งแต่ต้น 2) รูปแบบกระบวนการมีส่วนร่วมนั้นเป็นการวางบทบาทและการลงมือช่วยสร้างสวนบำบัดจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ภาครัฐ โรงเรียน มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และชุมชนภายในพื้นที่ ผ่านการพัฒนาพื้นที่ก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของของกิจกรรมที่ร่วมสร้างตลอดจนการสร้างสรรค์พืชที่แปลงผักนั้นให้เต็มไปด้วยแหล่งของการเรียนรู้พืชผักที่สามารถบริโภคได้ และการสร้างคลองขนาดเล็กหล่อเลี้ยงน้ำภายในแปลงผักบริเวณพื้นที่นั้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2565). บันทึกประสบการณ์สวนบำบัด. สืบค้นจาก https://dol.thaihealth.or.th/Media/Index/28dafa46-4035-ec11-80fa-00155db45613
Hussein, H. (2012). The influence of sensory gardens on the behaviour of children with special educational needs. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 38, 343-354.
Joyce, J., & Warren, A. (2016). A case study exploring the influence of a gardening therapy group on well-being. Occupational Therapy in Mental Health, 32(2), 203-215.
Marsh, P., Brennan, S., & Vandenberg, M. (2018). It’s not therapy, it’s gardening: community gardens as sites of comprehensive primary healthcare. Australian Journal of Primary Health, 24(4), 337-342.
Marsh, P., Gartrell, G., Egg, G., Nolan, A., & Cross, M. (2017). End-of-life care in a community garden: findings from a participatory action research project in regional Australia. Health & Place, 45, 110-116.
Nabors, L., Willoughby, J., Leff, S., & McMenamin, S. (2001). Promoting inclusion for young children with special needs on playgrounds. Journal of Developmental and Physical Disabilities, 13, 170-190.
Osborne, S. P. (2006). The new public governance?. United Kingdom: Routledge.
Relf, P. D. (2006). Agriculture and Health Care. In J. Hassink and M. V. Dijk (Eds), Farming for Health: Green-care farming across Europe and the United States of America, (pp. 309-343). New York, NY: Springer.
Rich, M., Viljoen, A., & Rich, K. M. (2015). The ‘Healing City’-Social and therapeutic horticulture as a new dimension of urban agriculture?. In Localizing urban food strategies (Ed.), Farming cities and performing rurality (pp. 22-35). Italy: 7th International Aesop Sustainable Food Planning Conference Proceedings.
Saldivar-Tanaka, L., & Krasny, M. E. (2004). Culturing community development, neighborhood open space, and civic agriculture: The case of Latino community gardens in New York City. Agriculture and human values, 21, 399-412.
Wiesel, F., & Modell, S. (2014). From new public management to new public governance? Hybridization and implications for public sector consumerism. Financial Accountability & Management, 30(2), 175-205.