ความเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจของชุมชนชาติพันธุ์ม้งในพื้นที่ม่อนแจ่ม ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจ และวิเคราะห์ปัจจัยเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับความเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจ พื้นที่ศึกษาอยู่ในม่อนแจ่มซึ่งครอบคลุมบ้านหนองหอยเก่า บ้านหนองหอยใหม่ และบ้านปางไฮ-แม่ขิ ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยแกนนำชุมชน สมาชิกชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ และการจัดประชุมกลุ่มย่อย เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบประเด็นพูดคุยในการประชุมกลุ่มย่อย
ผลการวิจัยพบว่า การเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจชุมชนชาติพันธุ์ม้งเริ่มจากยุคที่ต้องพึ่งพิงฝิ่นและทำไร่หมุนเวียนเพื่อการยังชีพ จากนั้นจึงเข้าสู่ยุคการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการศึกษา และได้รับการส่งเสริมด้านการเกษตรทดแทนการปลูกฝิ่นซึ่งส่งผลให้ชุมชนมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ต่อมาเป็นยุคที่เศรษฐกิจของชุมชนขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรมากกว่าการเกษตรจากกระแสความนิยมท่องเที่ยวม่อนแจ่ม และยุคที่ต้องปรับตัวเข้าสู่การหาแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนจากผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมจากการท่องเที่ยวและความขัดแย้งด้านสิทธิในที่ดินทำกินในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ส่วนปัจจัยเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ได้แก่ ปัจจัยภายในชุมชนซึ่งประกอบด้วยลักษณะกายภาพของม่อนแจ่ม องค์ความรู้ของชนชาติพันธุ์ม้ง การเรียนรู้และปรับตัว และการกลับคืนถิ่นของคนรุ่นใหม่ และปัจจัยภายนอกชุมชนซึ่งประกอบด้วยนโยบายรัฐ การพัฒนา และการสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
เกศสุดา สิทธิสันติกุล, สมคิด แก้วทิพย์, บัญรัตน์ โจลานันท์, และ นัยนา โปธาวงค์. (2565). ความเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจฐานรากสู่แนวทางความยั่งยืนภาคเหนือ. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 5(1), 113-125.
ชลิดา แย้มศรีสุข, และ สกฤติ อิสริยานนท์. (2564). เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 10(3), 86-97.
ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร, จิดาภา ถิรศิริกุล, และ สกล สุขเสริมส่งชัย. (2564). การพัฒนาที่ยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลก. วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ, 2(3), 77-93.
ประคอง สุคนธจิตต์, พัชรี ทองสุก, และ วิเชียร จันทะเนตร. (2566). การปรับตัวของชุมชนในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19. วารสารบัณฑิศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูถัมภ์, 17(3), 260-272.
พระมงคล สุมงฺคโล. (2560). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีต่อวิถีชีวิตชนเผ่าละว้าหมู่ที่ 11 ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 8(2), 57-68.
มานิตตา ชาญไชย. (ม.ป.ป.). แนวทางการพัฒนาประเทศไทยสู่ความสมดุลและยั่งยืน.
สืบค้นจาก https://www.sscthailand.org/uploads_ssc/waytodevelopthaitobalanceandsustain_52.pdf
วิไลลักษณ์ รุ่งเมืองทอง, และ สุพรรณี ไชยอำพร. (2559). กระบวนการเสริมพลังอำนาจประชาชนเพื่อการเป็นปึกแผ่นของชุมชน. วารสารพัฒนาสังคม, 18(2), 77-101.
สิริยา รัตนช่วย. (2560). การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นภายใต้พลวัตของโลกยุคใหม่. วารสารการเมืองการปกครอง, 7(1), 72-87.
Clark, J. S., Porath, S., Thiele, J., & Jobe, M. (2020). Action research. Manhattan: New Pairie Press.
Horner, R. (2020). Towards a new paradigm of global development? Beyond the limits of international development. Progress in Human Geography, 44(3), 415-436.
Irwan, Agustang, A., Adam, A., & Upe, A. (2021). Community empowerment strategy towards a sustainable rural community-based tourısm village. Turkish Online Journal of Qualitative Inquiry, 12(3), 2065-2076.