การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยชุมชน ในจังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

นริศรา คำสิงห์
อนรรฆมณี โภคสวัสดิ์
กุลธิดา ยามี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของชุมชนท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม โดยศึกษาจากแนวคิดองค์ประกอบของการท่องเที่ยวโดยชุมชนทั้ง 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม 2) ด้านองค์กรชุมชน 3) ด้านการจัดการ และ 4) ด้านการเรียนรู้ เพื่อทราบถึงข้อมูลศักยภาพในแต่ละด้านของชุมชน และสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ดำเนินการวิจัยด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัย ได้แก่ บ้านหนองหิน บ้านดงน้อย และบ้านหัวขัว ซึ่งเป็นชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีของจังหวัดมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือผู้นำชุมชนหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวภายในชุมชน ชุมชนละ 10 คน รวม 30 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา


ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม บ้านหนองหิน มีทรัพยากรได้แก่ หนองหิน หนองคู ดอนปู่ตา สถูปหลวงปู่เพียร บ้านดงน้อย ได้แก่ ดอนปู่ตา กู่สันตรัตน์ พระธาตุนาดูน บ้านหัวขัว ได้แก่ สะพานไม้แกดำ อ่างเก็บน้ำหนองแกดำ วัดดาวดึงษ์ และทั้ง 3 ชุมชนยังคงยึดถือประเพณีตามฮีต 12 คอง 14 2) ด้านองค์กรชุมชน พบว่า ชุมชนทั้ง 3 ชุมชน มีการรวมกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย มีรายได้จากการรวมกลุ่มเพื่อขายสินค้าและบริการ  มีปราชญ์ในชุมชน ซึ่งส่งผลดีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3) ด้านการจัดการแต่ละชุมชนมีการวางกฎระเบียบทั้งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสำหรับสมาชิกในชุมชน และแนวทางปฏิบัติสำหรับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีการจัดทำโครงสร้างคณะกรรมการจัดการท่องเที่ยวภายในชุมชน ที่มีการแบ่งงาน ภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบในการบริหารจัดการร่วมกันส่งผลทำให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวภายในชุมชนอีกด้วย และ 4) ด้านการเรียนรู้ พบว่าทั้ง 3 ชุมชน มีกิจกรรมเรียนรู้ที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตของชุมชนตนเอง การจัดกิจกรรมผ่านการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะแก่กลุ่มอาชีพ วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น รวมถึง การแสดง ขนบธรรมเนียมประเพณีในชุมชน ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดการเรียนรู้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือน

Article Details

How to Cite
คำสิงห์ น., โภคสวัสดิ์ อ., & ยามี ก. (2025). การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยชุมชน ในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 8(1), 239–259. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/273666
บท
บทความวิจัย

References

กชธมน วงศ์คำ, และ เวธกา มณีเนตร. (2563). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหัวขัว ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(4), 1439-1451.

เจตนา พัฒนจันทร์. (2562). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ชุมชนวัดตาล ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ณัฐกานต์ รุ่งเรือง, และ ลินจง โพชารี. (2559). องค์ประกอบของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ส่งผลต่อแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอ่างวังแข้และภูฆ้องคำ ตำบลแก่งเค็ง อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(2), 195-213.

ตรียากานต์ พรมคำ, รัดเกล้า เปรมประสิทธิ์, ฐานิดา บุญวรรโณ, และ นพรัตน์ รัตนประทุม. (2565). พัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนภายใต้แนวคิดวงจรชีวิตพื้นที่ท่องเที่ยวของ Richard W. Butler ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ กรณีศึกษา: ชุมชนบ้านร่องกล้า อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 16(4), 123-136.

ธง คำเกิด, อุทุมพร เรืองฤทธิ์, เพียงฤทัย เสงี่ยมศิลป์, จิตราภรณ์ เถรวัตร, และ ชิดชนก มากจันทร์. (2564). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานรากวิถีชีวิตชุมชนอย่างยั่งยืนของตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี (รายงานการวิจัย). สุพรรณบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุวรรณภูมิ.

ปิยะนุช บุญเย็น. (2559). ปรากฏการณ์และบริบทของชุมชนหมู่บ้านโคกโก่ง จังหวัดกาฬสินธุ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.

พูนทรัพย์ เศษศรี, และ สุจิตรา ริมดุสิต. (2566). ศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชนอย่างยั่งยืนของตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ ศรีปทุม ชลบุรี, 19(4), 40-49.

เมษ์ธาวิน พลโยธี, สุธาธิณี หนูเนียม, และ สุวิชาดา สกุลวานิชเจริญ. (2565). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนกรณีศึกษา ชุมชนไทดำ บ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารวิชาการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 18(1), 1-25.

ยโสธารา ศิริภาประภากร, ชัยนะรินทร์ ทับมะเริง, สุริยา คลังฤทธิ์, และ สำเริง อินทยุง. (2566). การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนปราสาทบ้านไพล จังหวัดสุรินทร์. วารสารราชภัฏสุรินทร์วิชาการ, 1(5), 49-66.

สหภัส อินทรีย์, วรรณวีร์ บุญคุ้ม, และ นรินทร์ สังข์รักษา. (2566). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(10), 649-662.

สุกัญญา ดวงอุปมา. (2557). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการที่ดีของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 2(2), 133–139.

สุดถนอม ตันเจริญ. (2561). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนบางขันแตก จังหวัดสมุทรสงคราม.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 8(2), 32-41.

อรรถพล ศิริเวชพันธุ์. (2564). การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนสู่มาตรฐานความปกติใหม่ (New Normal) เพื่อรองรับ สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา ชุมชนหนองฮะ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12(1), 58-75.

Honggang, X., Sofield, T., & Jigang, B. (2009). Community tourism in Asia: An introduction. In B.A.O. Jigang (Ed.), Tourism and community development (pp.1-17). Madrid, Spain, the World Tourism Organization.

Strydom, A. J., Mangope, D. F., & Henama, U. S. (2018). Lessons learned from Successful Community-Based Tourism Case Studies from the Global South. African Journal of Hospitality, Tourism and Leisure, 7(5), 1-13.

Zapata, M. J., Hall, C. M., Lindo, P., & Vanderschaeghe, M. (2011). Can community-based tourism contribute to development and poverty alleviation? Lessons from Nicaragua. Current Issues in Tourism, 14(8), 725-749.