มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมการหายใจในอากาศสะอาด : ศึกษากรณีประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และประเทศสิงคโปร์

Main Article Content

สลิลา กลั่นเรืองแสง
รพีพร สายสงวน

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของสิทธิในการหายใจในอากาศสะอาด ที่จำเป็นต้องมีนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้รูปแบบการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ซึ่งเป็นการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลด้านกฎหมายในหลายแหล่งที่มา ทั้งของประเทศไทย ต่างประเทศ และระหว่างประเทศ ซึ่งบทความวิจัยนี้จะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาหน่วยงานด้านการกำกับดูแลมลภาวะทางอากาศเพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีของประชาชน
          กล่าวได้ว่ากฎหมายสิ่งแวดล้อมของไทยในปัจจุบัน ต้องใช้กฎหมายหลายฉบับประกอบกัน เพื่อลดการสร้างมลภาวะทางอากาศ ซึ่งจากปัญหาข้อเท็จจริงในการบังคับใช้กฎหมายที่มี    อยู่นั้น สรุปผลวิจัยที่สำคัญ ประการแรก คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักป้องกันตนเองเมื่อเผชิญกับอากาศที่ไม่สะอาด พร้อมให้คำแนะนำด้านสุขภาพที่อ้างอิงมาตรฐานสากลที่น่าเชื่อถือ ประการที่สอง คือ สมควรมีองค์กรกลาง ซึ่งอาจทำในลักษณะของศูนย์เฉพาะกิจ (เมื่อสถานการณ์ฝุ่นเป็นอันตรายต่อสุขภาพ) เพื่อประสานความร่วมมือให้บังคับใช้กฎหมายรวดเร็ว ครอบคลุม และทั่วถึง และประการที่สาม คือ ปรับปรุงกฎหมายที่เน้นการควบคุมแหล่งกำเนิดหรือผู้ก่อมลพิษ เน้นมาตรการป้องกันล่วงหน้า กับบทกำหนดโทษที่เหมาะสม (ครอบคลุมทั้งการก่อมลพิษภายในประเทศและกรณีข้ามพรมแดน) เพื่อให้บุคคลหรือองค์กรที่อาจจะก่อมลพิษทางอากาศ ตระหนักต่อการไม่คุกคามหรือกระทำการละเมิดต่อสิ่งแวดล้อม
          ทั้งนี้ สหประชาชาติได้รับรอง สิทธิที่จะมีสภาพแวดล้อมที่สะอาด ซึ่งดีต่อสุขภาพ และยั่งยืน ในฐานะสิทธิมนุษยชน อีกทั้งเรียกร้องให้รัฐสมาชิกเพิ่มขีดความสามารถในการทำให้มั่นใจว่าพลเมืองของรัฐจะมีสภาพแวดล้อมที่สะอาด ที่ดีต่อสุขภาพ และยั่งยืน จึงสมควรที่ประเทศไทยจะต้องพัฒนากฎหมายเฉพาะด้านอย่างเร่งด่วน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมอันจะส่งผลให้พลเมืองของรัฐมีสิทธิที่จะหายใจในอากาศสะอาดอย่างยั่งยืนต่อไป

Article Details

How to Cite
กลั่นเรืองแสง ส., & สายสงวน ร. (2024). มาตรการทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมการหายใจในอากาศสะอาด : ศึกษากรณีประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และประเทศสิงคโปร์ . วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 7(4), 1–22. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/273851
บท
บทความวิจัย

References

กิตติมา อรุณพูลทรัพย์. (2563). การยกระดับมาตรการทางกฎหมายในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5. สืบค้นจาก https://www.senate.go.th/view/93/กฎหมายน่ารู้/TH-TH?year=&page101=6

ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. (2560). กฎหมายกับการควบคุมมลภาวะทางอากาศ. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 3(3), 401- 424.

พวงผกา บุญโสภาคย์, ประสาน บุญโสภาคย์, และ ณปภัช นธกิจไพศาล. (2561). มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและควบคุมมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นจากโรงงานอุตสาหกรรม. วารสารเกษมบัณฑิต, 19(ฉบับพิเศษ), 118–129.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2561). พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535. สืบค้นจาก https://krisdika.ocs.go.th/librarian/get?sysid=396089&ext=htm

สุรสม กฤณะจูฑะ. (2550). สิทธิสุขภาพ สิทธิมนุษยชน. นทบุรี: สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ.

เสน่ห์ จามริก. (2546). สิทธิมนุษยชนไทยในสถานการณ์สากล. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันชุมชนพัฒนา.

อภิรัฐ ดีทองอ่อน. (2559). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษทางอากาศอันเกิดจากการเผาในที่โล่งในภาคเกษตรกรรม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ

Association of Southeast Asian Nation (ASEAN). (2021). ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution. Retrieved from https://asean.org/wp-content/uploads/2021/01/ASEANAgreementonTransboundaryHaze Pollution-1.pdf

Association of Southeast Asian Nation Secretariat (ASEAN Secretariat). (2021). Action: ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution. Retrieved from https://hazeportal.asean.org/action/asean-agreement-on-transboundary-haze-pollution/

Climate and Clean Air Coalition Secretariat (CCAC Secretariat). (2023). In a World Full of Dirty Air, Regional Agreements on Air Pollution Offer a Glimmer of Hope Retrieved from https://www.ccacoalition.org/news/world-full-dirty-air-regional-agreements-air-pollution-offer-glimmer-hope

Environmental Protection Agency (EPA). (2024). Criteria Air Pollutants: NAAQS Table. Retrieved from https://www.epa.gov/criteria-air-pollutants/naaqs-table

Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO). (2019). Transboundary Haze Pollution Act 2014 (No. 24 of 2014). Retrieved from https://www.fao.org/faolex/results/details/en/c/LEX-FAOC137119/

International Energy Agency (IEA). (2022). Law on Air Pollution Prevention and Control. Retrieved from https://www.iea.org/policies/11896-law-on-air-pollution-prevention-and-control

International Institute for Sustainable Development (IISD). (2022). UNGA Recognizes Human Right to Clean, Healthy, and Sustainable Environment. Retrieved from https://sdg.iisd.org/news/unga-recognizes-human-right-to-clean-healthy-and-sustainable-environment/

Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). (2006). Environmental Compliance and Enforcement in CHINA: An Assessment of Current Practices and Ways Forward. Retrieved from https://www.oecd.org/environment/outreach/37867511.pdf

Roundtable on Sustainable Palm Oil (RSPO) (2024). Secretariat. Retrieved from https://rspo.org/who-we-are/governance/secretariat/

United Nations (UN). (2022). The human right to a clean, healthy and sustainable environment. Retrieved from https://digitallibrary.un.org/record/3982508?ln=en&v=pdf

United Nations Environment Programme (UNEP). (2010). Air Pollution: Promoting regional cooperation. Retrieved from http://www.rrcap.ait.ac.th/Publications/Air%20Pollution%20-%20Promoting%20Regional%20Cooperation.pdf

United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (UNESCAP). (2023). A brief Introduction. Retrieved from https://www.unescap.org/sites/default/d8files/2023-09/Air-pollution-infographics-30-Aug-2023.pdf

United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (UNESCAP). (2024). Clean Air. Retrieved from https://www.unescap.org/our-work/environment-and-development/climate-and-clean-air/clean-air