การบริหารโครงการหมู่บ้านจัดสรรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

Main Article Content

กมล ชุมภู
ภัทรวุฒิ สมยานะ
กมลทิพย์ คำใจ
ชุติวลัญชน์ เสมมหาศักดิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการบริหารโครงการหมู่บ้านจัดสรร และหาแนวทางการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหาร เพื่อเสนอแนวทางการยกระดับการบริหารที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ โครงการหมู่บ้านจัดสรรที่มีการดำเนินการที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ จำนวน 13 โครงการ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อาศัยแนวคิดการวิเคราะห์เชิงระบบ (system analysis) ของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า คือ การบริหารตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม กระบวนการ คือ การมีส่วนร่วมด้านการบริหารตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การมีส่วนร่วมด้านสิ่งแวดล้อม และความสุขของผู้อยู่อาศัย ผลผลิต คือ ระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของโครงการหมู่บ้านจัดสรร และผลลัพธ์ คือ แนวทางการยกระดับการบริหารโครงการหมู่บ้านจัดสรร ทำการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าของโครงการหรือผู้จัดการนิติบุคคล กรรมการ และผู้อยู่อาศัย


ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยนำเข้า คือ การบริหารโครงการหมู่บ้านจัดสรรโดยการอาศัยคุณธรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะความซื่อสัตย์สุจริตมีความสำคัญเป็นอันดับแรกของการบริหาร และมีความเป็นธรรม โปร่งใส ส่วนกระบวนการ พบว่า ควรส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร ด้านการร่วมคิด ได้แก่ การเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี เนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นของการมีส่วนร่วมของผู้อยู่อาศัย ส่วนด้านการร่วมวางแผนต่อเนื่องจากการมีส่วนร่วมด้านการร่วมคิด ได้แก่ การวางแผนการบริหาร การซ่อมบำรุงระบบสาธารณูปโภคประจำเดือนและประจำปี ด้านร่วมปฏิบัติ ได้แก่ การช่วยลดปริมาณขยะในครัวเรือน การคัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้ง ด้านร่วมการตรวจสอบ ได้แก่ การร่วมตรวจสอบการบริหารจัดการจุดทิ้งขยะที่มีความเพียงพอต่อปริมาณขยะของผู้อยู่อาศัย ระบบท่อระบายน้ำ ส่วนผลผลิตและผลลัพธ์ พบว่า โครงการหมู่บ้านจัดสรรมีความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงระดับเข้าถึง 1 โครงการ ระดับเข้าใจ 1 โครงการ ระดับเข้าข่าย 5 โครงการ และยังไม่เข้าข่าย 6 โครงการ ดังนั้นการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมตามหลักความยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ จะช่วยยกระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านจัดสรรให้สูงขึ้น ส่งผลต่อระดับความสุขของผู้อยู่อาศัยได้สูงขึ้น ซึ่งเป็นเป้าหมายของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความอยู่ดีมีสุขนั่นเอง

Article Details

How to Cite
ชุมภู ก., สมยานะ ภ., คำใจ ก., & เสมมหาศักดิ์ ช. (2025). การบริหารโครงการหมู่บ้านจัดสรรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 8(1), 184–202. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/274311
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2551). โครงการด้านอนุรักษ์พลังงาน. ใน โครงการประกวดบ้านจัดสรรอนุรักษ์พลังงานดีเด่น ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กระทรวงพลังงาน.

จุฬาลักษณ์ งามยืนยง. (2562). รูปแบบบ้านประหยัดพลังงานเพื่อการอยู่อาศัย กรณีศึกษา กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

ณดา จันทร์สม. (2562). เศรษฐกิจพอเพียง หลักคิดสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/publicize/news_1372085

นรินทร์ภัค เกตุสุรินทร์, และ วริยา ล้ำเลิศ. (2561). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับมลพิษทางน้ำจากชุมชน ศึกษากรณี: หมู่บ้านจัดสรรที่สร้างขึ้นก่อนและขณะใช้พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543. วารสารวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 9(1), 61-73.

พจนีย์ จันที. (2563). พฤติกรรมการบริหารองค์กรที่ส่งผลต่อปัญหาในการบริหารงบประมาณของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิวัธน์ ศรีเจริญวงศ์, และ พัลลภ กฤตยานวัช. (2559). การจัดสรรที่ดินและนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร: ระเบียบและการประกาศของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: มาสเตอร์ คีย์.

วีระศักดิ์ สมยานะ. (2555). การประยุกต์ใช้คุณธรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วยท้องถิ่นในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่. (2565). รายงานการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่.

สุทัศน์ เยี่ยมวัฒนา, และ ศศิมา เจริญกิจ. (2561). บ้านต้นแบบประหยัดพลังงานที่ใช้โซลาร์เซลล์. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 9(1), 25-41.

อภิชัย พันธเสน. (2560). เศรษฐกิจพอเพียง: พระอัจฉริยภาพและพระกรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.

อภิชัย พันธเสน. (2564). พุทธเศรษฐศาสตร์: วิวัฒนาการ ทฤษฎีและการประยุกต์ กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่างๆ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

Arfanto, A. W., & Santosa, F. R. E. (2018). Characteristics of Household Waste Management in an Effort to the Achievement of Sustainable Development Goals (SDGs) in Krembangan District of Surabaya City. IJTI (International onal Journal of Transportation And Infrastructure), 1(1), 40-46.

Rassanjani, S. (2018). Sustainable Development Goals (SDGs) and Indonesian Housing Policy. Otoritas: Jurnal Ilmu Pemerintahan, 8(1), 44-55.

United Nations. (2015). THE 17 GOALS. Retrieved from https://sdgs.un.org/goals