ผลกระทบและมาตรการรองรับการเยียวยาที่มีต่อแรงงานว่างงาน จากการระบาดของโรคโควิด-19 กรณีศึกษาแรงงานในจังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ธรณินทร์ เสนานิมิตร
ชนิดาภา ชลอวงษ์
บงกชมาศ เอกเอี่ยม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐกิจและด้านสังคมที่เกิดขึ้นกับแรงงานว่างงาน จากการระบาดของโรคโควิด-19 และเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของนโยบายภาครัฐที่มีต่อแรงงานว่างงาน จากการระบาดของโรคโควิด-19 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีในการดำเนินการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ  โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ตัวแทนเจ้าหน้าที่รัฐและตัวแทนแรงงานทุกภาคส่วน จำนวน 20 คน ในส่วนของระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลกับ        กลุ่มตัวอย่างที่เป็นแรงงานว่างงาน และมีการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม จำนวน    385 คน โดยใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.79 จากนั้นวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา       


ผลการวิจัยพบว่า ในประเด็นผลกระทบด้านเศรษฐกิจและด้านสังคมที่เกิดขึ้นกับแรงงานว่างงานจากการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้แรงงานทุกภาคส่วนเผชิญหน้ากับสภาพปัญหาในมิติทางเศรษฐกิจ การถูกเลิกจ้าง และการลดค่าตอบแทนเนื่องจากการลดชั่วโมง  การทำงาน ในขณะที่มิติทางสังคมนั้นแรงงานเผชิญหน้ากับสภาวะการว่างงาน เนื่องการปิดกิจการของสถานประกอบการ รายได้ไม่เพียงพอกับภาระหนี้สินของตนเอง สำหรับผลสัมฤทธิ์ของนโยบายภาครัฐที่มีต่อแรงงานว่างงานจากการระบาดของโรคโควิด-19 พบว่า แรงงานว่างงานได้สะท้อนถึงผลการดำเนินการของภาครัฐในการรองรับและเยียวยาแรงงานว่างงาน ประกอบด้วย ด้านประสิทธิผล ด้านประสิทธิภาพด้านความพอเพียง ด้านความเป็นธรรม  ด้านความเสมอภาค และด้านความพอใจ อยู่ในระดับน้อยทุกด้าน

Article Details

How to Cite
เสนานิมิตร ธ., ชลอวงษ์ ช., & เอกเอี่ยม บ. (2025). ผลกระทบและมาตรการรองรับการเยียวยาที่มีต่อแรงงานว่างงาน จากการระบาดของโรคโควิด-19 กรณีศึกษาแรงงานในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 8(1), 1–20. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/SASAJ/article/view/277122
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2563). การประเมินความเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCov) ระหว่างประเทศทั่วอาเซียน. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/980020200205043038.pdf

กระทรวงแรงงาน. (2563). รมว.สุชาติ ตั้ง ศบค.รง. เป็นวอรูมบริหารสถานการณ์โควิด ช่วยเหลือแรงงานทุกมิติ. สืบค้นจาก https://www.mol.go.th/news/รมว-สุชาติ-ตั้ง-ศบค-รง-เป็นวอรูมบริหารสถานการณ์โควิด-ช่วยเหลือแรงงานทุกมิติ

กระทรวงแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน. (2563). สถานการณ์ด้านแรงงานไตรมาส 1 ปี 2563 (มกราคม-มีนาคม 2563). ม.ป.ท.: ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางกอกบล็อก.

กระทรวงแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน. (2564). ข้อมูลผลงานสำคัญกระทรวงแรงงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 รอบ 8 เดือน (ตุลาคม 2563 - พฤษภาคม 2564). กระทรวงแรงงาน.

จิตราภรณ์ จิตตานุรักษ์. (2567). นโยบายการจัดการอัตราการว่างงาน. วารสารสหวิทยาการทางสังคมศาสตร์, 1(6), 52-67.

นณริฏ พิศลยบุตร, สุภาภรณ์ เกียรติสิน, วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์, และ วิโรจน์ ณ ระนอง. (2564). โครงการประเมินผลกระทบของโควิด-19 ต่อสังคมและเศรษฐกิจ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

พฤกษ์ เถาถวิล. (2566). บทสะท้อนการเยียวยาผลกระทบโควิด-19 บนหลักการเยียวยาเฉพาะกลุ่ม: กรณีศึกษาชุมชนแออัดและชุมชนชนบทในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 17(4), 791-890.

พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (2548, 16 กรกฎาคม) . ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 122. ตอนที่ 58 ก, หน้า 2

สำนักงานจังหวัดพิษณุโลก กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด.. (2563.) แผนพัฒนาจังหวัดพิษณุโลกระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2563 - 2582).

กระทรวงแรงงาน. สืบค้นจาก https://infocenter.oic.go.th/สำนักงานจังหวัดพิษณุโลก2/topic-detail.php?conid=5464404

สำนักงานจัดหางานจังหวัดพิษณุโลก. (2564). นัดพบแรงงาน NEW NORMAL Job Fair. สืบค้นจาก https://www.doe.go.th/prd/phitsanulok/news/param/site/161/cat/7/sub/0/pull/detail/view/detail/object_id/48917

สำนักงานประกันสังคม. (2564). รายงานสรุปการรับแจ้งและวินิจฉัยประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานทั่วประเทศ. ม.ป.ท.: กระทรวงแรงงาน.

สำนักงานสถิติแห่งชาติกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). การสํารวจผลกระทบด้านการทำงานจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สุพัตรา รุ่งรัตน์, ซูลฟีกอร์ มาโซ, และ ยุทธนา กาเด็ม. (2564). ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์โควิด-19 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองยะลาจังหวัดยะลา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 160-174.

เสาวลักษม์ กิตติประภัสร์, ธรรมวิทย์ เทอดอุดมธรรม, พราวภวินท์ พักตร์ธนาปกรณ์, และ พัชราภรณ์ ศอกจะบก. (2563). ผลกระทบทางสังคมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และวิกฤตเศรษฐกิจ. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Jarernpanit, T., Chalorwong, C., Senanimitr, T., Anuttarangoon, R., & Jitnukul, A. (2024). Policy recommendations for workers returning to their hometowns: A case study of Phitsanulok province, Thailand. Humanities, Arts and Social Sciences Studies, 24(1), 89-101.