การออกแบบชุดของเล่นเสมือนจริง เพื่อส่งเสริมจินตนาการสำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • มนัสกร แย้มเกตุ สาขาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา สาขาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • สมชาย เซะวิเศษ สาขาเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

ของเล่นเสมือนจริง, จินตนาการ, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบของเล่นเสมือนจริงสำหรับเด็กปฐมวัย 2)เพื่อออกแบบของเล่นเสมือนจริงส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาสำหรับเด็กปฐมวัย 3)เพื่อประเมินความพึงพอใจและเปรียบเทียบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ของเล่นเสมือนจริงที่ออกแบบใหม่ โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูพี่เลี้ยงเนอสเซอรี่และผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก จำนวน 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบของเด็กเล่น จำนวน 3 ท่าน และผู้ปกครองในเนสเซอรี่ จำนวน 5 ท่าน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์เชิงบรรยายข้อมูลและสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า t-test Independent ผลการวิจัย จากการสังเกตพฤติกรรมการเล่นของเด็กจะมีการเล่นที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์โดยให้เด็กได้จินตนาการเหมือนสวมบทบาทสมมติ นำผลลัพธ์ข้อมูลเข้าสู่กระบวนการออกแบบโดยมีเป้าหมายมุ่งเน้นสร้างการพัฒนาการทางร่างกายมีความสำคัญมากที่สุด (

=4.69, S.D.=0.50) จากนั้นนำข้อมูลสู่การระดมความคิด ซึ่งผลการประเมินการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ พบว่า แนวคิดที่ 3 มีความเหมาะสมมากที่สุด ( =4.06, S.D.=0.68) และจากการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อชุดของเล่นเด็ก พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.04, S.D.=0.45) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ด้านทักษะมีความพึงพอใจที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =4.46, S.D.=0.44) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผลิตภัณฑ์ใหม่และผลิตภัณฑ์เก่า พบว่า ชุดของเล่นสำหรับเด็กที่พัฒนาใหม่แตกต่างจากรูปแบบเก่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

ถวิล ธาราโภชน์ และ ศรัณย์ ดำริสุข. (2548). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ทิพยวิสุทธิ์

นันทิยา น้อยจันทร์. (2548). การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย. นครปฐม : สำนักพิมพ์นิตินัย

พรรณทิพย์ ศิริวรณบุษย์. (2547). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พัชรี สวนแก้ว. (2536). เอกสารประกอบการสอนวิชา 2173107 จิตวิทยาพัฒนาการและการดูแลเด็ก

ปฐมวัย. กรุงเทพฯ: ดวงกมล

ไพศาล พงศ์พิสุทธิ์พร. (2551). ออกแบบปรับปรุงของเล่นเด็กก่อนวัยเรียนเพื่อฝึกพัฒนาการด้านนับเลขจากไม้

ยางพาราที่ปลอดเชื้อรา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

แพนทิยา. (2554). ลักษณะของเล่นที่ดี. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2563 จาก:

http://center2toys.blogspot.com/2011/07/blog-post_5755.html

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. (2554). ความเป็นมาของของเล่น. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2563 จาก:

http://utcc2.utcc.ac.th/faculties/comarts/webjrshow/Toy/howtobetoy.htm, 2554.

รุ่งนภา สุขมล. (2548). ของเล่น…ความหมายที่มากกว่า กระบวนการและเทคนิคการพลิกฟื้นศิลปะชุมชน.

กรุงเทพฯ: พิสิษฐ์ ไทย ออฟเซต

วงเดือน เดชะรินทร์. (2552). เล่นพัฒนาอัจฉริยะ. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2563 จาก:

http://www.healthtoday.net/thailand/feature/feautre_103.html

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2553). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย แนวคิดเชิงทฤษฎี – วัยเด็กตอนกลาง.

พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศิริพรณ์ ปีเตอร์. (2550). มนุษย์และการออกแบบ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์

สุชา จันทน์เอม. (2541) จิตวิทยาเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชย์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30