การออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยตามแนวคิดทุนทางวัฒนธรรม จากภูมิปัญญานวดแผนไทย
คำสำคัญ:
อุปกรณ์การนวดตัวเอง, ผลิตภัณฑ์นวดแผนไทยบทคัดย่อ
การออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยตามแนวคิดทุนทางวัฒนธรรม จากภูมิปัญญานวดแผนไทยเป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อุปกรณ์การนวดที่มีในท้องถิ่นมาพัฒนาให้ดีขึ้นจากเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลการนวดแผนไทยจากองค์ความรู้ภูมิปัญญาเพื่อนำมาเป็นแนวคิดในการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย 2) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์นวดแผนไทยร่วมสมัยจากทุนทางวัฒนธรรม 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผลิตภัณฑ์นวดแผนไทยร่วมสมัยจากทุนทางวัฒนธรรม ซึ่งทำการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มประชากร 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญด้านการนวดแผนไทย กลุ่มที่ 2 ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการอุปกรณ์ไม้นวด กลุ่มที่ 3 ผู้บริโภคเพื่อประเมินความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการออกแบบและพัฒนาในงานวิจัย โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีกันระหว่างวิจัยเชิงคุณภาพและวิจัยเชิงปริมาณ โดยศึกษาจากการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึกจากกลุ่มประชากรแล้วนำมาวิเคราะห์หาแนวทางการออกแบบ ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าอุปกรณ์การนวดในท้องถิ่นเชียงรายจะมีลักษณะการใช้งาน 2 แบบ คือ 1) การนวดคลึง 2) การกดจุด การนวดคลึงส่วนมากใช้เพื่อเป็นการคลายความเมื่อยล้าให้ผ่อนคลาย ส่วนการกดจุดใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดหรืออาการติดขัดในบ้างตำแหน่งของร่างกายที่ไม่สามารถนวดได้ด้วยตัวเองและไม่มีแรงกดน้ำหนักในการนวดบรรเทาอาการปวด ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชิ้นจะสนองตอบอวัยวะแค่บางส่วน เช่น คอ ไหล่ สะโพก ต้นขา เอว เป็นต้น จึงได้ผลการออกแบบเป็นอุปกรณ์การนวดรูปแบบใหม่ที่สามารถถอดประกอบได้และสามารถนวดคลึง และกดได้ทุกส่วน หรือเลือกลูกกลิ้งให้เหมาะสมกับการนวดแต่ละส่วน โดยมีผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีค่าคะแนนเฉลี่ย ดังนี้ ด้านบรรจุภัณฑ์อยู่ที่ 4.10 พึงพอใจระดับมาก ด้านความสวยงามอยู่ที่ 4.06 พึงพอใจระดับมาก ด้านคำอธิบายการใช้งานที่เหมาะสมอยู่ที่ 4.00 พึงพอใจระดับมาก และด้านความแข็งแรงอยู่ที่ 3.56 พึงพอใจระดับมาก และราคาโดยเฉลี่ยที่กลุ่มเป้าหมายคิดว่าเหมาะสมอยู่ที่ ราคา 247 บาท ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์นวดแผนไทยร่วมสมัยจากทุนทางวัฒนธรรมนั้นมีคุณค่าพอที่จะสามารถผลิตเพื่อตอบสนองผู้บริโภคและสร้างมูลค่าให้กับสินค้าท้องถิ่นได้
References
กัญญา จึงวิมุติพันธ์. (2553). “การประยุกต์มิติทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามบ้านคันพะลานตำบลนาตาล อำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี”. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 9 (มิ.ย – พ.ย), 61-68
ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. (2554). “เศรษฐกิจสร้างสรรค์ทุนวฒั นธรรมและโอกาสทางธุรกิจ Creative Economy Cultural Capital and Business OpportunityExecutive journal ”. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ .31(ม.ค.-มี.ค), 32-37
ชลวุฒิ พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2547). “วัฒนธรรมนำการออกแบบ Designthnologie” วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 3,1(มี.ค), 1-7
พราหมณ์ บูรพา. (2556). ฤาษีดันตนนวดแผนไทยตำรับวัดโพธิ์ :ไทยควอลิตี้.
พลวัฒน์ ประพัฒน์ทอง. (2553). “เชียงรายภัณฑ์การเชื่อมโยงเชิงสร้างสรรค์จากสินค้าสู่ทุนวัฒนธรรม”.วิจัยสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.
มานพ ประภาษานนท์. (2543). นวดไทยสัมผัสบำบัดเพื่อสุขภาพ. พิมพ์ดีการพิมพ์ .
รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข. (2558). “มโนทัศน์ชนชั้นและทุนของ ปิแอร์ บูร์ดิเออ” วารสารเศรษฐศาตร์การเมืองบุรพา. 2,1(ม.ค.-มี.ค) , 29-44
ระวิน ชุมเกษร. (2550) . เรียนนวดกดจุดรักษาโรคด้วยตัวเอง . ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด :
แซทโฟร์ พริ้นติ้ง จำกัด.
วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. (2548). หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์. iDesign Publishing.
สุโขทัยธรรมธิราช.การนวดแผนไทยเพื่อการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง .สืบค้นเมื่อ 02 กุมภาพันธ์ 2561. จาก https://be7herb.wordpress.com .
อรัญ วานิชกร. (2559). การออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น . สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .
อรัญ วานิชกร. (2559). “องค์ความรู้ ภูมิปัญญาไทย การออกแบบและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย”. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ .15,2 (ม.ค. – มิ.ย), 22-28
อรัญ วานิชกร. (2558). “อัตลักษณ์หัตถเวชกรรมไทยสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ ในสปาร่วมสมัย” .วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์. 2,2 (ก.ค. – ธ.ค) ,171-206
อินทรธนู ฟ้าร่มขาว และ ศิลาลัย ฆโนทัย. (2556). “การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วสมัยตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาไทย” . วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร .
อุทิศ ทาหอม พิชิต วันดี และสำราญ ธุระตา. (2558). “ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้าง การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของชุมชนบ้านตามา จังหวัดบุรีรัมย์”. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม. 11,2 (ส.ค) .44-59
Vitsoe .The power of good design Dieter Rams’s ideology . สืบค้นเมื่อ September 20, 2018 . จาก https://www.vitsoe.com/rw/about/good-design