การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ในรายวิชาเทคนิคการฝึกอบรมนาฏศิลป์และดนตรี ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ผู้แต่ง

  • ประวิทย์ ฤทธิบูลย์ สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สุชีรา อินทโชติ สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในรายวิชาเทคนิคการฝึกอบรมนาฏศิลป์และดนตรี ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการจัดการฝึกอบรมหลังการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในรายวิชาเทคนิคการฝึกอบรมนาฏศิลป์และดนตรี ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 3) เพื่อศึกษาความ         พึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในรายวิชาเทคนิคการฝึกอบรมนาฏศิลป์และดนตรี ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี       กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 07200303 เทคนิคการฝึกอบรมนาฏศิลป์และดนตรี ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน         71 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ประกอบด้วยขั้นตอน 6 ขั้น แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความสามารถในการจัดการฝึกอบรม แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในรายวิชาเทคนิคการฝึกอบรมนาฏศิลป์และดนตรี ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) โครงการที่ใช้ในการฝึกอบรมทั้งหมด จำนวน                9 โครงการ โดยมีกลุ่มสถานศึกษาศึกษาเป้าหมาย จำนวน 9 แห่ง ผลการประเมินความสามารถในการจัดการฝึกอบรมหลังการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.64 ซึ่งอยู่ในระดับมาก 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อ             การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.60 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด

References

ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อ

สร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียน

ไทย. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

ประวิทย์ ฤทธิบูลย์. (2558). รูปแบบการเรียนการสอนนาฏศิลป์ราชอาณาจักรกัมพูชา: กรณีศึกษาของสมาคม

TLAITNO.วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2, กรกฎาคม-

ธันวาคม. 95-123.

ปรียานุช พรหมภาสิต และคณะ. (2557). Knowledge Management: สร้างเกลียวความรู้พัฒนาการสอน

แบบ Problem-based Learning; PBL, Project-based Learning; PBL. กำแพงเพชร: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุรธร จีนา และวิภาดาอญาณสาร. (2556). การใช้กิจกรรมโครงงานภูมิปัญญาล้านนา ในรายวิชาเศรษฐกิจ

พอเพียง เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

ล้านนา. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ฉบับพิเศษ การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ราชมงคล ครั้งที่ 5 (RMUTP Research Journal Special Issue The 5th Rajamangala University of

Technology National Conference) วันที่ 15-16 กรกฎาคม 2556 ณ ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชั่น

เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ. 1-11.

รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์. (2552). การส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนิสิต: การสะท้อนจากกระบวนการวิจัย

ปฏิบัติการ. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม. 5(1-2). 145-166.

ศศิโสภิต แพงศรี. (2561). การสอนแบบโครงงานเป็นฐาน: การประยุกต์สู่การปฏิบัติในการจัดการศึกษาพยาบาล.

วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 29(1), มกราคม-มิถุนายน 2561. 215-222.

ศิริพร ศรีจันทะ. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาการ

จัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ 1 ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

เลย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 6(1), มกราคม-มีนาคม 2560. 127-139.

สันติ หุตะมาน. (2558). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ในรายวิชาระบบ

ควบคุมแบบคลาสสิค. การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 8 (The 8th National Conference on Technical Education) วันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 81-88.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.

-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.

Dewey, J. (1897). My Pedagogic Creed. The School Journal LIV, 3. 77-80

Efstratia, D. (2014). Experiential education through project based learning. Procedia-Social and

Behavioral, 152. 1256-1260.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30