วิวัฒนาการของกีตาร์คลาสสิก และแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติกีตาร์คลาสสิกในระดับอุดมศึกษา
คำสำคัญ:
กีตาร์คลาสสิก, การสอนดนตรี, วิวัฒนาการของกีตาร์คลาสสิกบทคัดย่อ
กีตาร์คลาสสิก ได้รับความสนใจเลือกเรียนเป็นเครื่องดนตรีหลักในระดับอุดมศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาการสอนวิชาปฏิบัติเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงวิวัฒนาการของกีตาร์คลาสสิก และแนวทางการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติกีตาร์คลาสสิกในระดับอุดมศึกษา โดยมีกระบวนการศึกษาทั้งเอกสาร การเสวนากลุ่มโดยมีกลุ่มนักวิชาการด้านดนตรี นักศึกษา นักดนตรี และผู้สนใจ และมีการประเมินด้วยแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า กีตาร์เริ่มมีวิวัฒนาการมากขึ้นในศตวรรษที่ 15-16 โดยรับอิทธิพลจาก “วีอวยล่า” ในศตวรรษที่ 17-18 บทบาทของกีตาร์เริ่มมีวิวัฒนาการเข้ามาแทนที่ ต่อมาช่วงศตวรรษที่ 18-19 กลุ่มนักกีตาร์ชาวอิตาเลียนได้เดินทางแสดงดนตรีทั่วยุโรป ส่งผลให้ระยะเวลาต่อมาในศตวรรษที่ 19-20 กลายเป็น “ยุคทองของกีตาร์คลาสสิก” ด้านแนวทางการพัฒนาทักษะการบรรเลงกีตาร์คลาสสิก นั้น การวางเนื้อหา และการกำหนดจุดมุ่งหมายการสอนควรสัมพันธ์กับเนื้อหาหลักสูตรของสถาบันดนตรีที่เป็นสากล เช่น วิทยาลัยดนตรีทรินิตี้ ลอนดอน (Trinity) วิทยาลัยดนตรีหลวง (ABRSM) โรงเรียนดนตรียามาฮ่า สถาบันการสอนดนตรีตามแนวทางของซูซูกิ เป็นต้น และการพัฒนาทักษะเฉพาะตัวของผู้เรียน โดยสถานศึกษาควรปรับใช้ให้เหมาะสมกับปรัชญา แนวคิด ของสถาบัน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนามากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปปรับใช้เพื่อร่างเนื้อหาการสอน (มคอ.3) สำหรับวิชาปฏิบัติกีตาร์คลาสสิกได้ โดยมีความสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ พ.ศ.2558
References
กมลธรรม เกื้อบุตร. (2554). “กระบวนการสอนกีตาร์คลาสสิกของกีรตินันท์ สดประเสริฐ.” วารสาร ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3,1 (มกราคม-มิถุนายน), 165-183.
เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ พ.ศ.2558.
จารุวรรณ์ สุริยวรรณ์. (2561). “การศึกษาองค์ประกอบทางดนตรีและเทคนิคการเล่นเปียโนในบทเพลงสอบ เทียบเกรดของ ABRSM และ Trinity College London” วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์. 5,1 (มกราคม-มิถุนายน), 99-120.
ธวัช วิวัฒนปฐพี. (2550). “ปัญหาการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาดนตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.” วารสารดนตรีรังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต 2, 1 (มกราคม-มิถุนายน): 25-31.
บรรจง พลขันธ์, ศิริ ถีอาสนา, จำเนียร พลหาญ. (2555). “แนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการ สอนของวิทยาลัยการอาชีพวาปีปทุม.” วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 4, 1 (มกราคม-มิถุนายน): 89-107.
รัฐนิติ นิติอาภรณ์ และวิบูลย์ ตระกูลฮุ้น. (2559) “ศึกษากระบวนการสอนกีตาร์คลาสสิกของครูต่อผู้เรียนวัย ผู้ใหญ่.” วารสารดนตรีรังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต 11, 1 (มกราคม-มิถุนายน): 108-122.
วิทยา วอสเปียน. (2531). ประวัติความเป็นมาของกีตาร์ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 ถึงศตวรรษที่ 20. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
สมาพร กุญแจทอง. (2561). “ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคีตศิลป์ ไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี” วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงาน สร้างสรรค์. 5,2 (กรกฏาคม-ธันวาคม), 108-119.
Alves, Julio Ribeiro. (2015). The History of the Guitar: Its Origins and Evolution. Huntington.
Burkholder, J. Peter, Grout, Donald Jay, Palisca, Claude V. (2014). A History of Western Music. (9th Ed.). Norton & Company, USA: New York.
Noad, Frederick. (2000). The Renaissance Guitar. USA: Ariel Publications.