กระบวนการรับรู้ทางการมองเห็นสู่สภาวะการผ่อนคลายความเมื่อยล้า ของกล้ามเนื้อตาจากการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • ปรางทอง ชั่งธรรม คณะมัณฑนศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • รัฐไท พรเจริญ คณะมัณฑนศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

อุปกรณ์ดิจิทัล, อาการความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อตา, การรับรู้ทางการมองเห็น, การกำหนดทิศทาง

บทคัดย่อ

กว่า 2 ทศวรรษที่โลกกำลังปรับตัวสู่การพัฒนาอย่างก้าวกระโดด แม้กระทั่งประเทศไทยที่กำลังพัฒนาประเทศด้วยการขับเคลื่อนนวัตกรรม การพัฒนาที่หลากหลายในทุกด้านโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอุปกรณ์ดิจิทัลจึงมีบทบาทอย่างมาก ต่างถูกหล่อหลอมเข้าสู่กิจวัตรประจำวันเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ จากการศึกษาพบว่า พฤติกรรมต่อเนื่องร้อยละ 90 ของผู้ใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัลที่ใช้เวลามากกว่า 16 ชั่วโมงต่อวัน ส่งผลให้พบภาวะอัตราการกะพริบตาลดลง ก่อให้เกิดอาการผิวนัยน์ตาแห้ง แสบตา สายตาต้องปรับตัวตลอดเวลา ขณะเดียวกันก่อให้เกิดการโฟกัสภาพและกระบวนการรับรู้ทางการมองเห็นลดลง เป็นปัญหาทางสายตาที่เรียกว่า อาการความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อตาจากการใช้งานอย่างหนักเป็นเวลานาน ภาวะอาการดังกล่าวเกิดจากความผิดปกติจากกลุ่มอาการจอภาพคอมพิวเตอร์อาจส่งผลกระทบถึงคุณภาพชีวิตและประสิทธิผลของการทำงานลดลงในกลุ่มที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ

จากจุดเริ่มต้นของปัญหาในข้างต้น สู่การศึกษาและนำทฤษฎีการรับรู้ทางการมองเห็น ซึ่งเป็นหลักวิทยาศาสตร์ทางเลือกที่อ้างอิงมาจากศาสตร์เทคนิคการแพทย์เฉพาะทางจักษุวิทยา เปรียบดั่งกระบวนการแพทย์ทางเลือก เมื่อนำมาประยุกต์ร่วมกับการบริหารดวงตาผ่านวิธีการฝึกการช่วยผ่อนคลายกลุ่มอาการผิดปกติที่เกี่ยวกับการมองเห็น จากอุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยการเยียวยาจากพลังแห่งธรรมชาติ ซึ่งตั้งอยู่บนฐานของสภาวะสมดุลที่มีศักยภาพและพลังในการจัดการกระบวนการกำหนดทิศทาง เปรียบเสมือนหลักการนวดคลึงกล้ามเนื้อตาที่ยึดเกร็ง ส่งผลให้เกิดการผ่อนคลายบรรเทาอาการบาดเจ็บสะสมเรื้อรังให้กล้ามเนื้อดวงตากลับมาอยู่ในสภาวะสมดุลและเตรียมความพร้อมในการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นการฟื้นฟูดวงตาแบบวิถีธรรมชาติ

References

โกศล จึงเสถียรทรัพย์. (2559). สถาปัตยกรรมโรงพยาบาลและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา = Healthcare architecture and healing environment. นนทบุรี : สุขศาลา

มะลิฉัตร เอื้ออานันท์. (2530). การเรียนการสอนและประสบการณ์ด้านสุนทรียภาพและศิลปวิจารณ์กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2565 (ไตรมาส2) ,กรุงเทพฯ:11-2565

สุชาติ เถาทอง. (2536). หลักการทัศนศิลป์. กรุงเทพ: วิทยพัฒน์.

อารี เพชรผุด. (2536). สภาพการทำงานและองค์ประกอบด้านบุคคล (Ergonomics and human factors). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยา.

Chakrabarti M. What is computer vision syndrome. Kerala journal of ophthalmology. 2007;19(3):323-8.

Chien, C.-H. M., Huang, T., & Schachar, R. A. (2006). Analysis of human crystalline lens accommodation. Journal of biomechanics, 39(4), 672-680.

Low Kelvin.E.Y. 2012. “The Social Life of the Senses: Charting directions.” Sociology Compass 6(3): 271-282.

Leitch, E. F., Chakrabarti, M., Crozier, J. E. M., McKee, R. F., Anderson, J. H., Horgan, P. G., & McMillan, D. C. (2007). Comparison of the prognostic value of selected markers of the systemic inflammatory response in patients with colorectal cancer. British journal of cancer, 97(9), 1266-1270. doi:10.1038/sj.bjc.6604027

Masahiro Toyoda. (2019). Potential of a Small Indoor Plant on the Desk for Reducing Office Workers’ Stress. HortTechnology : American Society for Horticultural Science

McLuhan, M., Gordon, W. T., Lamberti, E., & Scheffel-Dunand, D. (2011). The Gutenberg galaxy: The making of typographic man: University of Toronto Press.

Panagiotopoulou G, Christoulas K, Papanckolaou A, Mandroukas K. Classroom furniture dimensions and anthropometric measures in primary school. Applied Ergonomics. 2004;35(2):121-8

Portello, J. K., Rosenfield, M., & Chu, C. A. (2013). Blink rate, incomplete blinks and computer vision syndrome. Optometry and vision science, 90(5), 482-487.

Stella C. Chiemeke Member, Iaeng Allen E. Akhahowa, Olajire B. Ajayi. Evaluation of vision-related problems amongst computer users: A case study of university of Benin, Nigeria. Proceedings of the world congress on engineering 2007;1.

Rancho Cordova. (2010, July). Eye Strain, Dry Eyes, Fatigue and Headaches Associated With Those Spending More Than Four Hours in Front of Digital Devices; Research Finds More People Are Suffering From Computer Vision Syndrome Affecting Learning and Work Productivity; VSP Offers Tips to Reduce Effects. PR Newswire. New York. 2010 Retrieved August 2:2010

Rao, H., Minguillon, J., Lopez-Gordo, M. A., Renedo-Criado, D. A., Sanchez-Carrion, M. J., & Pelayo, F. (2017). Blue lighting accelerates post-stress relaxation: Results of a preliminary study. PloS one, 12(10). doi:10.1371/journal.pone.0186399

Rosenfield M. Computer vision syndrome: a review of ocular causes and potential treatments. Ophthalmic and Physiological Optics. 2011;31(5):502-15.

Rosenfield M. Computer vision syndrome (a.k.a. digital eye strain). Optometry in Practice 2016. 2016;17(1):1-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29