กลศิลป์ในการเล่าเรื่องของนิยายออนไลน์ในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพเรื่อง “กลศิลป์ในการเล่าเรื่องของนิยายออนไลน์ในสังคมไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลศิลป์ในการเล่าเรื่องของนิยายออนไลน์ในสังคมไทย ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการวิเคราะห์ตัวบท ผลการศึกษาพบว่า นิยายออนไลน์ได้รับอิทธิพลการเล่าเรื่องจากงานบันเทิงคดีในรูปแบบสิ่งพิมพ์และคุณลักษณะของ Web 2.0 เข้ามาประยุกต์ใช้ ส่งผลให้นักเขียนยังคงรักษาขนบการเล่าเรื่องของนิยายรัก ทว่าปรับแต่งเรื่องราวและองค์ประกอบการเล่าเรื่องให้เข้ากับบริบทสังคมไทยร่วมสมัย ตลอดจนการประยุกต์ใช้ภาษาแบบบทสนทนาและการใช้สื่อประสมประกอบการเล่าเรื่องเพื่อสร้างสุนทรียศาสตร์แบบใหม่อันเป็นการผสมผสานทั้งความเป็นงานวรรณกรรมและบันเทิงคดีแบบมวลชนในผลงานนิยายออนไลน์ นอกจากนี้ ผู้เขียนรับอิทธิพลจากปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านต่อการสร้างสรรค์นิยายออนไลน์ร่วมกันในทางอ้อม ด้วยการสังเกตกระแสความนิยมของนิยายออนไลน์และการแสดงความคิดเห็นของผู้อ่านบนชุมชนนิยายออนไลน์
Article Details
References
พัทธ์ธีรา โรจน์รัฐคณาธร. (2553). การวิเคราะห์นวนิยายอินเทอร์เน็ต: กรณีศึกษานวนิยายของแสตมป์เบอรี่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ร เรือในมหาสมุท. (2560). ชายใดเล่าจะแซ่บเท่าแฟนเก่าแม่. กรุงเทพฯ: เอเวอร์วาย.
อนุชา พิมศักดิ์. (2558). อัตลักษณ์ความเป็นลูกผสมในนวนิยายวัยรุ่นไทยสมัยนิยม. ใน เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์ และ อิสระ ชูศรี (บก.). วัฒนธรรมสมัยนิยม (น. 165 – 182). นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล.
อารดา ปรีชาปัญญา. (2553). การวิเคราะห์อัตลักษณ์นวนิยายไทยบนอินเทอร์เน็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภาษาอังกฤษ
Dingjia, C. (2011). Preservation and Innovation in Online Literature: A Brief Discussion. Social Sciences in China, 32(1), 129 – 145.
Hockx, M. (2015). Internet Literature in China. New York: Columbia University Press.
Koss, M. D. (2009). Young Adults Novels with Multiple Narrative Perspectives: The Changing Nature of YA Literature. The Alan Review, 36(3), 73 - 80.
Pennington, M. C. & Waxler, R. P. (2018). Why Reading Books Still Matters: The Power of Literature in Digital Times. New York: Routledge.
Roach, C. M. (2016). Happily Ever After. Indiana: Indiana University Press.
Yongqing, Z. (2011). Reflecting on Online Literature. Social Sciences in China, 32(1), 182 – 190.
ออนไลน์
พี่แนนนี่เพน. (2561, 13 ตุลาคม). “ลี้” ร เรือในมหาสมุท กับนิยายพลังบวกที่ส่งต่อความคิดดี ๆ ให้คนอ่าน. [เว็บบล็อก]. เข้าถึงได้จาก https://www.dek-d.com/writer/50882/
ศิริวรรณ สิทธิกา. (30 เมษายน 2561). เพทาย จิรคงพิพัฒน์ นักเขียนมือรางวัล ที่สร้างผลงาน 18 เล่ม ในกรงขังของร่างกาย. [เว็บบล็อก]. เข้าถึงได้จาก https://themomentum.co/petai-writer-typhoon/
Bold, M. R. (2016). The Return of the Social Author: negotiating authority and influence on Wattpad. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/ 304070253_The_return_of_the_social_ author_Negotiating_authority_and_influence_ on_ Wattpad
Gehrmann, S. (2018). Remediating Romance: Forms and Functions of New Media in Contemporary Love Stories from Togo and South Africa. Retrieved from https://muse.jhu.edu/article/715785
Jones, R. (2015). Mashing, Modding, and Memeing: Writing for a New Generation of University Students. Retrieved from https://www.academia.edu/9360194/Mashing_modding_and_memeing_Writing_for_a_new_generation_of_university_students
Miller, M. (2015). What Wattpad Brings to the Publishing Table. Retrieved from https://thewinnower.com/papers/3268-what-wattpad-brings-to-the-publishing-table
Pennington, M. C. (2017). Literacy, Culture, and Creativity in a Digital Era. Retrieved from https://muse.jhu.edu/article/652345