Login or Register to make a submission.

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

รูปแบบการเขียนบทความ

หลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัย เพื่อพิมพ์ในวารสารนิเทศสยามปริทัศน์ กองบรรณาธิการวารสารนิเทศสยามปริทัศน์มีความยินดีที่จะขอเรียนเชิญผู้ที่สนใจทุกท่านส่งบทความ ทางวิชาการหรือรายงานการวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ความรู้และความก้าวหน้าทางวิชาการใน วารสารนิเทศสยามปริทัศน์ ทั้งนี้บทความที่ส่งมาให้พิจารณาต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการตีพิมพ์ในวารสารอื่น ทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจทานและแก้ไขต้นฉบับและจะพิจารณาตีพิมพ์ตามความเหมาะสม โดยมีเกณฑ์การพิจารณาดังนี้

1. บทความวิชาการหรือบทความวิจัยเน้นสาระความรู้ การวิจัยและวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ นิเทศศาสตร์วารสารศาสตร์ประชาสัมพันธ์โฆษณาหนังสือพิมพ์วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ การแสดง การสื่อสารการตลาด สื่อดิจิทัล และการสื่อสารมวลชน ฯลฯ ซึ่งเป็นการนำเสนอองค์ความรู้ใหม่ทางวิชาการและวิชาชีพที่น่าสนใจ

2. บทความวิชาการหรือบทความวิจัยเรื่องที่ส่งไปตีพิมพ์จะต้องเป็นเรื่องที่ไม่เคยตีพิมพ์ที่ไหนมาก่อน หรือไม่อยู่ในระหว่างส่งไปตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น ต้องระบุชื่อบทความและชื่อ-นามสกุลจริง ของผู้เขียนบทความภายในบทความให้ชัดเจน

3. บทความวิชาการหรือบทความวิจัยต้องเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ในกรณีที่เป็นภาษาอังกฤษต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาก่อนส่งมายังกองบรรณาธิการ

4. ผู้เขียนต้องกรอกข้อมูลในแบบเสนอขอส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารนิเทศสยามปริทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ให้ครบถ้วนและส่งมาพร้อมกับบทความวิชาการหรือ บทความวิจัย

5. บทความวิชาการหรือบทความวิจัยที่ส่งตีพิมพ์จะได้รับกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่าน ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความ สำหรับบทความที่ไม่ผ่านการพิจารณาให้ตีพิมพ์ทางกอง บรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบ แต่จะไม่ส่งต้นฉบับคืนผู้เขียน

6.  บทความวิชาการหรือบทความวิจัยที่แปลหรือเรียบเรียงจากภาษาต่างประเทศต้องมีหลัก ฐานการอนุญาตให้พิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์

7. บทความวิชาการหรือบทความวิจัยต้องมีรูปแบบของการเขียนและการเตรียมต้นฉบับโดยชื่อเรื่องให้พิมพ์ไว้หน้าแรก ส่วนรายชื่อผู้เขียนให้พิมพ์ไว้ใต้ชื่อเรื่อง โดยเยื้องไปทางขวามือ ชื่อเรื่องและชื่อผู้เขียนให้ระบุภาษาอังกฤษไว้ด้วย ส่วนตำแหน่งและสถาบันหรือที่ทำงานของผู้เขียนควรพิมพ์ไว้เป็น เชิงอรรถ ความยาวของเนื้อเรื่องต้องไม่เกิน 15-21 หน้ากระดาษ A4 ขนาดอักษร TH SarabanPSK 16 (บทความที่มีภาพประกอบ ให้แนบไฟล์ภาพ .JPEG) โดยมีการเรียงลำดับเนื้อหาดังนี้

ในการนี้สำหรับบทความภาษาไทย จำเป็นจะต้องมีข้อมูล 1. ชื่อบทความ 2. ชื่อและสังกัดของผู้เขียนบทความ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) พร้อม e-mail 3. บทคัดย่อ 4. คำสำคัญ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 บทคัดย่อและคำสำคัญ

บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวอย่างละไม่เกิน 300 คำกรุณาตรวจสอบความถูกต้องของไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ และความสอดคล้องระหว่างบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วย

- คำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

- ควรเป็นคำที่บ่งชี้หัวข้อหรือประเด็นที่ศึกษา กลุ่มแนวคิดทฤษฎีที่เป็นกรอบการศึกษา หรือระเบียบวิธีวิจัย (หากเป็นองค์ประกอบสำคัญของงานวิจัย) อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านสืบค้นได้ง่าย

- ผู้เขียนสามารถระบุคำสำคัญได้ไม่เกิน 5 คำ และให้ใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นคำสำคัญแต่ละคำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

            7.1 บทความวิชาการ • บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4) • คำสำคัญบทความประกอบด้วย (บทนำ แนวคิดหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กระบวนการสร้างสรรค์/ผลงาน  องค์ความรู้ที่ได้รับ บรรณานุกรม)

            7.2 บทความวิจัย • บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4) • บทนำซึ่งครอบคลุมความสำคัญของปัญหาและวัตถุประสงค์การวิจัย • วิธีการวิจัย (กลุ่มตัวอย่าง, เครื่องมือ, วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล) • สรุปผลการวิจัยและข้อจำกัดของการวิจัย • อภิปรายผลการวิจัย • ข้อเสนอแนะ •บรรณานุกรม

7.3 รูปแบบการพิมพ์ (Format)

เพื่อความสะดวกในการจัดหน้าและเพื่อคงความสมบูรณ์ของเนื้อหาในต้นฉบับ ขอให้ผู้เขียนใช้รูปแบบการพิมพ์ดังต่อไปนี้

- ต้นฉบับเป็นไฟล์ Microsoft Word (เวอร์ชั่น 97 ขึ้นไป) ความยาวไม่เกิน 15-21 หน้ากระดาษขนาด A4

- ใช้ตัวอักษรฟอนต์ Th SarabunPSK ขนาด 16 point ระยะห่างระหว่างบรรทัด 1 เท่า (single paragraph spacing) และจัดแนวข้อความให้ด้านหน้าและหลังเสมอกันแบบ Thai Distributed เพื่อความสะดวกในการจัดหน้า

- มีเลขหน้ากำกับบทความ โดยวางตำแหน่งเลขหน้าที่กึ่งกลางด้านล่าง หรือมุมขวาด้านบน เพื่อความสะดวกในการอ้างอิงข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการต่อไป

- การเว้นวรรคตอน

- ใช้การเว้นวรรคตอนเล็ก คือ ช่องว่างมีขนาดเท่า 1 ตัวอักษร หรือ 1 เคาะ

- สำหรับบทความภาษาไทย ไม่ใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นระหว่างคำ แต่ใช้การเว้นวรรคตอนเล็กแทน

8. รูปแบบบรรณานุกรม ให้ผู้ส่งบทความจัดทำรูป การเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมรูปแบบ APA 7th edition

ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรม  https://e-library.siam.edu/wp-content/uploads/2023/10/APA-7-SiamU-2566.pdf

9. การรับบทความ

         - ฉบับที่ 1 รับบทความระหว่าง เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม

          - ฉบับที่ 2 รับบทความระหว่าง เดือน มกราคม-มิถุนายน

10. การตอบรับบทความ และแก้ไขบทความ

          - กองบรรณาธิการจะพิจารณาตอบรับบทความหลังจากวันที่ส่งบทความระยะเวลา 3 สัปดาห์

          - การแก้ไขบทความ หลังจากที่กองบรรณาธิการพิจารณารับบทความ และส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาระยะเวลา  1 เดือน

11.  รูปแบบการเขียนข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียน

        - ในต้นฉบับบทความที่ส่งมายังกองบรรณาธิการ ควรระบุชื่อผู้เขียนด้านล่างชื่อบทความ และใส่ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนในเชิงอรรถท้ายหน้า

       - กรุณาเรียบเรียงข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความตามรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งต่อไปนี้ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนที่ครบถ้วนจะเป็นประโยชน์ในการอ้างอิงและหากผู้อ่านต้องการติดต่อผู้เขียนเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรณีที่มีผู้เขียนมากกว่า 1 คน สามารถระบุเฉพาะอีเมล์ของผู้เขียนหลัก หรือผู้ที่ผู้อ่านสามารถติดต่อได้เพียงท่านเดียวก็ได้

     - ในกรณีเป็นบทความภาษาไทย ให้ใส่ข้อมูลผู้เขียนทำเป็น 2 ภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

12 การเขียนคำอธิบายภาพประกอบและตาราง (Captions)

- ตาราง แผนภูมิ รูปภาพ แผนที่ กราฟ หรือการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพในรูปแบบอื่นๆ ต้องมีคำอธิบายประกอบ โดยระบุลำดับภาพเป็นตัวเลข ตามด้วยคำอธิบายที่พิมพ์ตัวหนา และวางคำอธิบาย (caption) ไว้เหนือภาพ ชิดแนวพิมพ์ด้านซ้าย

- ระบุที่มาของข้อมูลด้านล่างภาพ โดยใช้ว่า ที่มา: (อ้างอิงแหล่งข้อมูลตามหลักการอ้างอิง)

- ผู้เขียนควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า ตาราง แผนภูมิ กราฟ มีเนื้อหาครบถ้วนและถูกต้อง หากเป็นแผนภูมิที่ผู้เขียนสร้างขึ้นเอง ควรจัดกลุ่มรูปร่างหรือวัตถุ (group) หรือแปลงแผนภูมิเป็นไฟล์ภาพ (.jpeg หรือ .tif) เพื่อให้มีเนื้อหาสมบูรณ์ ไม่มีส่วนใดขาดหายหรือเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการบรรณาธิกรณ์ต้นฉบับหรือตีพิมพ์

- ภาพต้องมีความละเอียดสูง (300 dpi ขึ้นไป) และควรเป็นไฟล์ .jpeg หรือ .tif เพื่อให้สามารถเห็นได้ชัดเจนเมื่อตีพิมพ์