แรงจูงใจที่ส่งผลต่อการเปิดรับสื่อพฤติกรรมการวิ่ง และการเกิดจิตสำนึกร่วมแห่งความเป็นชุมชน ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ ThaiRun ฮับความสุขนักวิ่ง

Main Article Content

กฤตพร ขะวิลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่อง แรงจูงใจที่ส่งผลต่อการเปิดรับสื่อ พฤติกรรมการวิ่ง และการเกิดจิตสำนึกร่วม แห่งความเป็นชุมชนของเฟซบุ๊กแฟนเพจ ThaiRun ฮับความสุขนักวิ่ง งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการสุ่มแบบสะดวก ด้วยการแจกแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 400 ชุด เพื่อศึกษา แรงจูงใจ การเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการวิ่งที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดจิตสำนึกร่วมแห่งความเป็นชุมชนของเฟซบุ๊กแฟนเพจ ThaiRun ฮับความสุขนักวิ่ง ผลการวิจัยพบว่า การเกิดจิตสำนึกร่วมแห่งความเป็นชุมชนผ่านทางสังคมออนไลน์สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายมากกว่าสังคมแบบเดิม เนื่องจากสังคมออนไลน์เป็นสังคมที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความรู้ ความคิดเห็นหรือแสดงอารมณ์ที่มีต่อเนื้อหาต่าง ๆ โดยไม่มีข้อจำกัดว่าผู้แสดงความรู้ หรือ ความคิดเห็นนั้น ๆ จะอายุเท่าไร จบการศึกษาด้านไหน หรือทำอาชีพอะไร ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมและการแบ่งปันกันในวงกว้าง อีกทั้งยังเป็นสังคมที่เอื้อต่อการแสดงออกทางอารมณ์ทำให้ผู้รับสาร และผู้ส่งสารเกิดความรู้สึกต่อกันที่หลากหลาย เช่น เกิดแรงจูงใจในการวิ่ง มองเห็นประโยชน์ของการวิ่ง ความรู้เรื่องสุขภาพต่าง ๆ เพื่อปรับใช้ในการวิ่ง ทำให้รู้สึกดีเหมือนมีเพื่อนที่ให้คำปรึกษาหรือคอยแนะนำอยู่ตลอดเวลาถึงหลักการวิ่งต่าง ๆ อุ่นใจสุขใจที่ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนสื่อสารในเฟซบุ๊กแฟนเพจ ThaiRun ฮับความสุขนักวิ่ง ซึ่งก่อให้เกิดจิตสำนึกร่วมแห่งความเป็นชุมชนได้

Article Details

How to Cite
ขะวิลัย ก. . (2020). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อการเปิดรับสื่อพฤติกรรมการวิ่ง และการเกิดจิตสำนึกร่วมแห่งความเป็นชุมชน ของเฟซบุ๊กแฟนเพจ ThaiRun ฮับความสุขนักวิ่ง . นิเทศสยามปริทัศน์, 19(2), 156–168. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/commartsreviewsiamu/article/view/248329
บท
บทความวิจัย

References

ภาษาไทย
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for windows (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
ปวริศา ยอดมาลัย. (2555). ปัจจัยส่วนบุคคลกับแรงจูงใจในการออกกำลังกายและพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
มณีรัตน์ สิทธิโชค. (2546). ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อความคิดเห็นในการปฏิบัติงาน การใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ของผู้บริหารและครูในโรงเรียนผู้นําการใช้เทคโนโลยีเพื่อการ เรียนรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลักขณา สริวัฒน์. (2539). แรงจูงใจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อธิษฐาน ตั้งอำพัน. (2556). กระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างความมีชื่อเสียงของตนเองผ่านเครือข่าย สังคมออนไลน์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุชาติ พวงสำลี และ วีรบูรณ์ วิสารทสกุล. (2541). ประชาคมสังคม คำ ความคิดและความหมาย. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

ภาษาอังกฤษ
Blackshaw, T. (2010). Key concepts in community studies. Los Angeles: Sage.
Deci, E. L., & Ryan, R. M. (1985). Intrinsic motivation and self-determination in human behaviour. New York: Plenum.
Deci, E. L., & Ryan, R. M. (2000). The 'what' and 'why' of goal pursuits: Human needs and the self-determination of behavior. Psychological Inquiry, 11(4), 227-268.
Deci, E.L., & Ryan, R. M. (2002). Handbook of self-determination research. New York: University of Rochester.
Delanty, G. (2003). Community. London: Sage.
King, I.M. (1981). A theory for nursing: Systems, concepts, process. New York: John Wiley & Sons.
Maslow, A. H. (1954). Motivation and personality. New York: Harper & Brother.
McMillan, D.W., & Chavis, D.M. (1986). Sense of Community: A Definition and Theory. Journal of Community Psychology, 14(1), 6-23.
Ouwersloot, H., & Odekerken-Schro¨Der, G. (2008). Who’s who in brand communities – and why. European Journal of Marketing, 42(5/6), 571-585.
Schwarz, E.C., & Tait, R. (2007). Recreation, arts, events & festivals: Their contribution to a sense of community. Rural Society, 17(2), 125-138.
Woolfolk, A.E. (2010). Educational psychology (11th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Merrill.

ออนไลน์
Fuehrer, D., & Douglas, S. (2014). A brief history of the marathon. เข้าถึงได้จาก https://www.runnersworld.com/ races/a-brief-history-of-the-marathon