การพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยใช้วัสดุเศษหินอันเกิดจากกระบวนการผลิต ครกหินเพื่อการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิต และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด (กรณีศึกษา ชุมชนบ้านไร่ศิลาทอง ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง) 1

ผู้แต่ง

  • กิตติพงษ์ และ รัชภูมิ เกียรติวิภาค และ ปัญส่ง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การออกแบบ/ วัสดุเศษหิน/ บรรจุภัณฑ์/ ผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการนำเอาวัสดุเศษหินที่เหลือ จากการผลิต
ครกหินนำกลับมาใช้ประโยชน์ โดยการใช้แนวทางในการออกแบบและสร้างสรรค์
เข้ามาเพื่อพัฒนาวัสดุเศษหินเหล่านี้ให้สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของตกแต่ง
บ้านที่น่าสนใจ และสามารถต่อยอดจากเศษหินที่ไม่มีคุณค่ากลับมาใช้ประโยชน์ได้
อย่างเหมาะสม ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตราสินค้าและ
บรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้พัฒนาขึ้นจากวัสดุเศษหินในกระบวนการผลิต
ครกหินที่มีคุณภาพและมีมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจ รวมถึงศึกษาทัศนคติความพึงพอใจ
ของประชาชนต่อผลิตภัณฑ์ต้นแบบศิลาปาภายใต้แนวคิดส่วนประสมการตลาด
(4Ps) โดยผลลัพธ์ที่ได้ในงานวิจัยนั้นได้ทำการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งสิ้น
30 รูปแบบผลงาน ซึ่งแบ่งผลงานออกเป็น 6 หมวดผลิตภัณฑ์ได้แก่ เชิงเทียน ที่เสียบ
ปากกา ที่วางสบู่ ฐานเสียบรูปภาพ ที่วางตะเกียบ และกระถางดอกไม้ขนาดเล็ก
ในส่วนของการศึกษาทัศนคติความพึงพอใจของประชาชนต่อผลิตภัณฑ์
ต้นแบบศิลาปาภายใต้แนวคิดส่วนประสมการตลาด (4Ps) สำรวจโดยการเก็บข้อมูล
จากกลุ่มตัวอย่างที่เข้ามาร่วมชมผลงานนิทรรศการแสดงผลงานและผู้ที่สนใจ
จำนวนทั้งสิ้น 550 คน พบว่า ◉ ทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์ศิลาปา (Product) มีทัศนคติเชิงบวกในระดับมาก
ต่อผลิตภัณฑ์ ( =3.99) โดยประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยสูงที่สุด คือ ประเด็น
ของศิลาปาสามารถพัฒนาเป็นสินค้าที่เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้
( =4.21)
◉ ทัศนคติต่อราคาที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ (Price) ในประเด็นราคา
ที่เหมาะสมของสินค้าจากการประเมินกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มผลิตภัณฑ์กระถาง
ดอกไม้ขนาดเล็กได้ค่าเฉลี่ยของราคาผลิตภัณฑ์สูงสุดอยู่ที่ 111.05 บาท ต่อหนึ่งชิ้น
และกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่วางตะเกียบได้ค่าเฉลี่ยของราคาผลิตภัณฑ์ต่ำสุดอยู่ที่ 68.64 บาท
ต่อหนึ่งชิ้น
◉ ทัศนคติต่อช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ (Place) จากการประเมิน
ช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ พบว่า สถานที่ที่ควรจำหน่ายใน 3 อันดับแรกคือ
1) สถานที่ท่องเที่ยว ได้แก่ วัดพระธาตุลำปางหลวง น้ำตกแจ้ซ้อน ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย
อุทยานแห่งชาติดอยฝรั่ง แม่เมาะ กาดกองต้า ศูนย์เซรามิค และข่วงนคร เป็นต้น
2) ร้านขายของที่ระลึกและร้านของฝากจังหวัดลำปาง 3) เลือกห้างสรรพสินค้าที่
อยู่ในลำปาง เช่น เสรีสรรพสินค้า โลตัส บิ๊กซี แมคโคร เซ็นทรัล
◉ ทัศนคติต่อการส่งเสริมทางการตลาด (Promotion) มีทั้งสิ้น 3 ประเด็น
คือ 1) การโฆษณาผ่านสื่อของสินค้า พบว่า 3 อันดับแรก ได้แก่ รายการวิทยุ
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และอินเตอร์เน็ต ตามลำดับ 2) เนื้อหาที่ควรประชาสัมพันธ์
พบว่า 3 อันดับแรก คือ ประชาสัมพันธ์เรื่องการสะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่น
ประชาสัมพันธ์การใช้ประโยชน์ และประชาสัมพันธ์ด้านใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ตามลำดับ 3) การกระตุ้นและการส่งเสริมการตลาด พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 59.1
ให้ความเห็นว่าควรมีการส่งเสริมในเรื่องการมีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของแถมมากที่สุด

References

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. 2543. ความรู้เบื้องต้นด้านทรัพย์สินทางปัญญา.
กรุงเทพฯ : อักษรไทย.
เกษมณี หมั่นทำการ และคณะ. 2548. ถาม-ตอบ 20 คำถามบรรจุภัณฑ์.
กรุงเทพฯ : บริษัทจิรายา คอมมูนิเคชั่น จำกัด
จีรศักดิ์ เดชวงศ์ญา และคณะ. 2539. หอไตรวัดพระสิงห์ ประวัติลักษณะ
ศิลปกรรมและแนวทางการอนุรักษ์. เชียงใหม่ : ธนบรรณการพิมพ์.
ชัยรัตน์ อัศวางกูร. 2548. ออกแบบให้โดนใจ. กรุงเทพฯ : บริษัททั่งฮั่วซินการพิมพ์
ฐาปกรณ์ เครือระยา. 2551. ศิลปกรรมท้องถิ่นทางพุทธศาสนาในเขตอำเภอ
แม่ทะ จังหวัดลำปาง. เชียงใหม่ : เอกสารประกอบการวิจัย.
นภวรรณ คณานุรักษ์. บรรจุภัณฑ์เพื่อการตลาด. กรุงเทพฯ : เลิฟ แอนด์ ลิฟ.
แน่งน้อย ปัญจพรรค์ และคณะ. เสน่ห์ไม้แกะสลักล้านนา. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์เริงรมย์ จำกัด.
ณงค์ณุช นทีพายัพทิศ. 2546. เอกสารประกอบการบรรยายการออกแบบ
บรรจุภัณฑ์. เชียงใหม่:สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตภาคพายัพ.
นิรัช สุดสังข์. 2548. การวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ :
โอเอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.
นันทวัน กลิ่นจำปา. 2545. เครื่องหอมไทยภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ :
ซีเอดยูเคชั่น.
ธนเดช กุลปิติวัน. 2546. Branding Thailand. กรุงเทพฯ : เซลแคร์พับลิชชิ่ง.
ธีรยุทธ พึ่งเทียร. 2545. สถิติเบื้องต้นและการวิจัย. กรุงเทพฯ : สูตรไพศาล.
ปุ่นและสมพร คงเจริญเกียรติ. 2541. บรรจุภัณฑ์อาหาร. กรุงเทพฯ :
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.
ประชิด ทินบุตร. 2530. การออกแบบกราฟิก. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
51ศิลปกรรมสาร
พงษ์ศักดิ์ ไชยทิพย์. 2544. เทคนิคการออกแบบงานกราฟิก. กรุงเทพฯ :
ซีเอดยูเคชั่น.
พรเทพ เลิศเทวศิริ. 2544. Design Education. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
มานพ ประโลมลัมภ์. 2546. ผลิตภัณฑ์สมุนไพร. ลำปาง : ศิลปการพิมพ์.
ยุทธ ไกยวรรณ์. 2544. สถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฎ
พระนคร.
วรพงศ์ วรชาติอุดมพงศ์. 2540. ออกแบบกราฟิค. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร.
วิลักษณ์ ศรีป่าซาง. 2545. ขันดอกล้านนา. เชียงใหม่ : บริษัทมิ่งเมืองนวรัตน์
จำกัด.
วิถี พาณิชพันธ์. 2547. ร้อยลายสายละกอน. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้นติง.
วิถี พาณิชพันธ์. 2549. เอกสารประกอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
แนวทางล้านนา. เชียงใหม่.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. 2547. ภูมิปัญญาไทยวิถีไทย. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนา
อินเตอร์พริ้นท์.
วรพงศ์ วรชาติอุดมพงศ์. 2540. ออกแบบกราฟิก. กรุงเทพฯ : โสภณการพิมพ์.
วสันต์ ตุ่นคำ. 2546. หลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ : วารสาร
การบรรจุภัณฑ์.
วิกันดา สวัสดิ์บุรี. 2546. ไอดีไซน์. กรุงเทพฯ : โอเอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
วิรุณ ตั้งเจริญ. 2531. ออกแบบกราฟิก. กรุงเทพฯ : วิฌอารต์.
วิรุณ ตั้งเจริญ. 2544. ออกแบบกราฟิก. กรุงเทพฯ : อีแอนด์ไอคิว.
ศรีเลา เกษพรรณ. 2541. ลั๊วะเยี๊ยะไร่ ไทใสนา. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง.
ศรีศักร วัลลิโภดม. 2545. ประวัติศาสตร์โบราณคดีของล้านนาประเทศ.
กรุงเทพฯ : พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์ จำกัด.
52ศิลปกรรมสาร
สถาพร ดีบุญมี ณ ชุมแพ. 2545. รวบรวมผลงานวิชาการสาขาเทคโนฯ
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกรรม รุ่น 1. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
อนุวงศ์ ตั้ง. 2546. ไอดีไซน์. กรุงเทพฯ : โอเอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.
สาคร คันธโชติ. 2529. วัสดุผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สันติ เล็กสุขุม. 2550. ความสัมพันธ์จีน-ไทย โยงใยในลวดลายประดับ.
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.
สุรัสวดี อ๋องสกุล. 2539. ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
อมรินทร์.
สุมิตรา ศรีวิบูลย์. 2548. การออกแบบอัตลักษณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
Core Function.
สุรพล ดำริห์กุล. 2545. แผ่นดินล้านนา. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
สุรพล ดำริห์กุล. 2544. ลายคำล้านนา. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
รายงานการวิจัย/ภาคนิพนธ์
ประภาภรณ์ ไชยศรี. 2549. “กลยุทธ์การตลาดของธุรกิจท่องเที่ยว กรณีศึกษา
น้ำพุร้อนสันกำแพง หมู่บ้านสหกรณ์ ตำบลสหกรณ์ กิ่งอำเภอแม่ออน
จังหวัดเชียงใหม่” ภาคนิพนธ์วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์.
วรัญญู อัศวพุทธิ. 2549. “พัฒนาการด้านการผลิตและการจัดการตลาดของ
เครื่องประดับเงินเมี่ยน กรณีศึกษา บ้านห้วยสะนาว ตำบลป่ากลาง
อำเภอปัว จังหวัดน่าน” ภาคนิพนธ์วิทยาลัย สหวิทยาการ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วสุธิดา เวสสะสุนทร. 2551. “กลยุทธ์ทางการตลาดแบบเครือข่าย กรณีศึกษา
บริษัทแอมเวย์ แห่งประเทศไทย” ภาคนิพนธ์วิทยาลัยสหวิทยาการ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
53ศิลปกรรมสาร
Books
Lisa Silver. 2001. Logo Design That Works. USA : Rockport Publishers.
Ping Amranand & William Warren .2001. Art & Design of Northern
Thailand. Bangkok : Asia Books Co., Ltd.
Minami-Otsuka. 2007. Package Form and Design Encyclopedia of
Paper-Folding designs. Japan, Tokyo : Pie Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัยสร้างสรรค์