ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง

คำแนะนำผู้แต่ง

ประกาศ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง หลักเกณฑ์การส่งบทความตีพิมพ์ และการเก็บค่าธรรมนียมการตีพิมพ์บทความในวารสารศิลปกรรมสาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2567

     คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำหนดหลักเกณฑ์การส่งบทความตีพิมพ์ และการเก็บค่าธรรมเนียมลงพิมพ์บทความ เพื่อใช้สำหรับเป็นค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ และค่าผลิตบทความในวารสารศิลปกรรมสารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สำหรับบทความที่ส่งตั้งแต่วันที่ 2 มกกราคม 2567 เป็นต้นไป) ดังนี้
    1.อัตราค่าธรรมเนียมลงตีพิมพ์บทความ โดยบทความภาษาไทย บทความละ 3,000 บาท และบทความภาษาอังกฤษ บทความละ 5,000 บาท
    2.บุคลากรที่สังกัดคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมตามข้อ 1 แต่ไม่รวมถึงบทความที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาเพื่อสำเร็จการศึกษา
    3.นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในหลักสูตรของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต้องชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ โดยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในอัตราบทความละ 1,500 บาท 
    4.นักศึกษาระดับปริญญาตรี ในหลักสูตรของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมตามข้อ 1 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม


บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในศิลปกรรมสาร
จะต้องผ่านการพิจารณาคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบันอย่างน้อย 3 ท่าน/ต่อบทความ
1.บทความต้องมีความยาว 15 – 30 หน้ากระดาษ A4 พิมพ์ด้วย Microsoft Word for Windows
2.แบบและขนาดตัวอักษร

      บทความภาษาไทย ใช้ตัวอักษรแบบ “Angsana New” หรือ “Cordia New” ชื่อบทความใช้ตัวอักษรขนาด 18 ตัวหนา ชื่อหัวข้อและหัวข้อย่อยใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวหนา และ ชื่อผู้เขียน บทคัดย่อและเนื้อความต่างๆ ใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวปกติ

      บทความภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษรแบบ “Times New Roman” ชื่อบทความใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวหนา ชื่อผู้เขียน บทคัดย่อและเนื้อความต่างๆ ใช้ตัวอักษรขนาด 14 ตัวปกติ ชื่อหัวข้อและหัวข้อย่อยใช้ตัวอักษรขนาด 14 ตัวหนา

เกณฑ์การพิจารณาบทความ

      1. เกณฑ์การพิจารณาบทความมีดังนี้ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คุณค่าทางวิชาการ ความสมบูรณ์ของเนื้อหาและโครงสร้าง ภาษาที่ใช้ ความชัดเจนของสมมติฐาน/วัตถุประสงค์ ความชัดเจนของการนำเสนอและการจัดระเบียบบทความ ความถูกต้องทางวิชาการ การอภิปรายผล และการอ้างอิงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

      2. บทความจะต้องได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งกองบรรณาธิการอาจให้ผู้เขียนปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตัดสินลงพิมพ์หรือไม่ก็ได้

ประเภทของบทความ

      1 บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่มีรูปแบบของการวิจัยตามหลักวิชาการ กล่าวคือ มีการตั้งสมมติฐานหรือมีการกำหนดปัญหาที่ชัดเจนสมเหตุสมผล ระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแน่นอน มีการค้นคว้าอย่างมีระบบ รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล ตีความและสรุปผลตรงตามวัตถุประสงค์ เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ

      2 บทความทางวิชาการ (Article) เป็นบทความที่เขียนขึ้นในลักษณะวิเคราะห์วิจารณ์ หรือ เสนอแนวคิดใหม่ๆ จากพื้นฐานทางวิชาการที่ได้เรียบเรียงจากผลงานทางวิชาการของตนเอง หรือของคนอื่น หรือเป็นบทความทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นความรู้ที่สำคัญแก่คนทั่วไป

รูปแบบของบทความ
     แนวทางและรูปแบบการเขียนบทความวิชาการ/วิจัย ต้องมีเนื้อหา ดังนี้

      1 ชื่อเรื่อง (Title)

            ควรกะทัดรัด ไม่ยาวเกินไป ชื่อเรื่อง ต้นฉบับภาษาไทยให้พิมพ์ชื่อเรื่องภาษาไทยก่อนแล้ว ตามด้วยภาษาอังกฤษ

      2 ชื่อผู้เขียนและหน่วยงานสังกัด (Authors)

           ให้ระบุชื่อเต็ม-นามสกุลเต็มของผู้เขียนทุกคน และระบุตำแหน่งทางวิชาการ หน่วยงานหรือสถาบันที่สังกัด

      3 บทคัดย่อ (Abstract)

            กำหนดให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 350 คำ (บทคัดย่อที่เขียนควรเป็นแบบ Indicative Abstract คือ สั้นและตรงประเด็นและให้สาระสำคัญเท่านั้น ไม่ควรเขียนแบบ Informative Abstract ตามแบบที่เขียนวิทยานิพนธ์หรือรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์)

      4 คำสำคัญ (Keywords)

            กำหนดคำสำคัญที่เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ทำคำค้นในระบบฐานข้อมูลที่คิดว่าผู้ที่จะค้นหาบทความควรใช้ ให้ระบุทั้งคำในภาษาไทยและภาษาอังกฤษใส่ไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษา อย่างละไม่เกิน 5 คำ

      5 บทนำ (Introduction)

            อธิบายถึงที่มาและความสำคัญของปัญหาและเหตุผลที่นำไปสู่การศึกษาวิจัย หรือให้ข้อมูลทางวิชาการที่มีการตรวจเอกสาร (Literature Review) พร้อมทั้งจุดมุ่งหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัย/งานวิชาการ

      6 วิธีการวิจัย เครื่องมือการวิจัย และระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology): กรณีที่เป็นบทความวิจัย

            อธิบายกระบวนการดำเนินการวิจัย โดยบอกรายละเอียดของวิธีการศึกษา สิ่งที่นำมาศึกษา จำนวน ขนาด ลักษณะเฉพาะของตัวอย่างที่ศึกษา ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษา อธิบายแบบแผนการวิจัย การเลือกตัวอย่าง วิธีการเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล 

      7 ผลการวิจัย (Research Results): กรณีที่เป็นบทความวิจัย
            เสนอผลการวิจัยอย่างชัดเจน ตรงประเด็นตามลำดับขั้นตอนของการวิจัย ถ้าผลไม่ซับซ้อนและมีตัวเลขไม่มาก ควรใช้คำบรรยายแต่ถ้ามีตัวเลขหรือตัวแปรมากควรใช้ตารางหรือแผนภูมิแทน โดยไม่ควรมีเกิน 5 ตารางหรือแผนภูมิ โดยต้องมีการแปลความหมายและวิเคราะห์ผลที่ค้นพบ และสรุปเทียบกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ (ถ้ามี)

      8 การอภิปรายผล การวิจารณ์และสรุป ข้อเสนอแนะ (Discussions, Conclusions, and Recommendations)

            เป็นการชี้แจงผลการวิจัยว่าตรงกับวัตถุประสงค์/สมมติฐานของการวิจัย สอดคล้องหรือขัดแย้งกับผลการวิจัยของผู้อื่นที่มีอยู่ก่อนหรือไม่อย่างไร เหตุผลใดจึงเป็นเช่นนั้น และให้จบด้วยข้อเสนอแนะที่จะนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ หรือทิ้งประเด็นคำถามการวิจัย ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับการทำวิจัยต่อไป

      9 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements)

            ระบุสั้นๆ ว่าได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยและความช่วยเหลือจากที่ใดบ้าง

      10 การอ้างอิงและเอกสารอ้างอิง

            การอ้างอิง ใช้หลักเกณฑ์ APA โดยระบบการอ้างอิงในเนื้อหาบทความ แบบนาม-ปี และ เลขหน้าในข้อความที่อ้างถึง เอกสารอ้างอิง ให้ระบุรายชื่อเอกสารที่ใช้เป็นหลักในการค้นคว้าวิจัยที่ได้ตรวจสอบเพื่อนำมาเตรียมรายงานและมีการอ้างถึง จัดเรียงลำดับตามตัวอักษร ถ้าเป็นบทความภาษาไทยนำโดยกลุ่มเอกสารภาษาไทยและตามด้วยกลุ่มเอกสารภาษาอังกฤษ รูปแบบของการเขียนเอกสารอ้างอิง ดังนี้

            10.1 รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อหา จะมี 3 รูปแบบ คือ                                   

                        (ผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์, เลขหน้า) ไว้ท้ายข้อความที่อ้างอิง

                        ตัวอย่างรูปแบบ :  (สุนีย์ มัลลิกะมาลย์, 2549, น. 200-205) 

                        ผู้แต่ง (ปีที่พิมพ์, เลขหน้า) ใช้ในกรณีที่ระบุชื่อผู้แต่งในเนื้อหาแล้ว   

                        ตัวอย่างรูปแบบ :  พัชรา บุญมานำ (2551, น. 5) ได้ศึกษาแรงจูงใจ ปัจจัยเกื้อหนุน และปัญหาในการทำวิจัยของอาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่า.................... 

                        ปีที่พิมพ์ ผู้แต่ง (เลขหน้า) ใช้ในกรณีที่มีการระบุปีที่พิมพ์ และผู้แต่งในเนื้อหาแล้ว

                        ตัวอย่างรูปแบบ :  ในปี 2542 เสรี วงษ์มณฑา ได้ให้ความหมายว่า “การประชาสัมพันธ์เป็นการกระทำทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดจากการวางแผนล่วงหน้าในการที่จะสร้างความเข้าใจกับสาธารณชนที่เกี่ยวข้อง....” (น. 9) 

                        ทั้งนี้ ต้องมีความยาวไม่เกิน 3 บรรทัด แต่ถ้าเกิน 3 บรรทัด ต้องขึ้นบรรทัดใหม่แล้วย่อหน้า                 

            10.2  การอ้างอิงหนังสือ

                        รูปแบบ : ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. พิมพ์ครั้งที่. สถานที่พิมพ์ : โรงพิมพ์.

            10.3 การอ้างอิงจากวารสาร

                        รูปแบบ :  ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. ปีที่(เดือน/ฉบับที่), เลขหน้า.

            10.4  การอ้างอิงจากงานศิลปะ (จิตรกรรม/ประติมากรรม/ภาพถ่าย)

                        รูปแบบ : ชื่อศิลปิน. ชื่อผลงาน. ปีที่สร้าง. ชื่อพิพิธภัณฑ์/สถานที่เก็บผลงาน, เมือง.

            10.5 การอ้างอิงจากเพลง/ดนตรี/การแสดง

                        รูปแบบ : ชื่อศิลปิน. ชื่อผลงาน. ปีที่สร้าง. ชื่อสถานที่, เมือง.

            10.6 การอ้างอิงจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์

                        รูปแบบ : ชื่อผู้แต่ง, ปี, ชื่อเรื่อง (CD-ROM). สถานที่: ปีที่จัดทำ.

                        รูปแบบ : ชื่อผู้แต่ง, ปี, ชื่อเรื่อง (ออนไลน์) ปีที่พิมพ์ (วัน เดือน ปี ที่อ้าง)

                                       จาก Website. (ระบุชื่อ)
            10.7 การสัมภาษณ์

                        รูปแบบ : ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์. ตำแหน่ง(ถ้ามี). สัมภาษณ์. วัน เดือน ปี.

ตัวอย่างเอกสารอ้างอิง

จักรกฤษณ์ นรมิตผดุงการ และทวี สวนมาลี. (2519). ความสามารถในด้านการเงินของเทศบาล กรณีของเทศบาลนครกรุงเทพ

            ก่อนเปลี่ยนแปลงเป็นกรุงเทพมหานคร. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์,16(เมษายน), 231-254.

ณรงค์ รัตนะ. (2528ก). การครอบครองและการรอบรู้เทคโนโลยีในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี

            กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน.

                 . (2530). เทคโนโลยีโลหะอุตสาหกรรมการหล่อ.กรุงเทพฯ: ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์

            เทคโนโลยีและการพลังงาน.

ณรงค์ รัตนะ, พัชรี อรรถจินดา, และกฤษฎา ธาราสุข. (2531). การทำสัญญาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในเชิงธุรกิจ.

            กรุงเทพฯ: ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการพลังงาน.

ทวี เสรีวาศ. (2551). ร่องรอยชีวิตจากเมืองสู่พื้นถิ่น. วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ และสมคิด อิสระวัฒน์. (2526). ประชากรศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อักษรบัณฑิต.

นราพงษ์ จรัสศรี. ศาสตราจารย์ ประจำภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์

            25 พฤษภาคม 2561.

Byrne, Maritza Ivonne. (1996). Self-talk and Test Anxiety. PhD thesis, Monash University, Melbourne.

Ferguson, Nicolas, and Maire O’Reilly. (1979a). English for International Bangking. London: Evans.

                 . (1979b). English Telephone Conversation. London: Evans.

Parikh, Mihir and Sameer Verma. (2002). “UtilizingInternet Technologies to Support Learning: An Empirical

          analysis. " International Journal of Information Management 22(1), 27-46.

Therapeutic Goods Administration. (N.d.). "Recalls & Alerts." Department of Health and Ageing,

          Canberra, https://www.tga.gov.au/recalls/index.htm, (accessed December 13, 2004).

Wyatt, David K. (1984). Thailand: A Short History. New Haven: Yale University Press.

ประพัทธ์พงษ์ อุปลา. การขนส่งในเมือง. (ออนไลน์) 2550. (สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2551). จาก https://www.arch.kmitl.ac.th
          /prapatpong/

วสันต์ นุ้ยภิรมย์. ดารานักร้องเพียบ! ร่วมเดินแบบในงาน “SILK ISAN”. (ออนไลน์) 2561. (สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2562).
            จาก https://www.siambusinessnews.com/13846

United Nations. Economic Commission for Europe. (Online) 2004. (cited 2008 Jan 15). Available from:
            http:www.unece.org/commission/2005/E_ECE_1424e.pdf

           

            11  ภาคผนวก (ถ้ามี)

            12  ตารางและรูป ต้องมีความคมชัดไฟล์รูปภาพแบบ JPEG  ความละเอียด 300 ppi และให้แทรกไว้ในบทความ มีคำอธิบายสั้นๆ แต่สื่อความหมายได้สาระครบถ้วนและเข้าใจ กรณีที่เป็นตาราง ให้ระบุลำดับที่ของตาราง ใช้คำว่า "ตารางที่......" และมีคำอธิบายใส่ ไว้เหนือตาราง กรณีที่เป็นรูป ให้ระบุลำดับที่ของรูป ใช้คำว่า "ภาพที่....." และมีคำอธิบายใส่ไว้ใต้รูป โดยให้ระบุที่มาของภาพด้วย (ตารางและรูปให้บันทึกในรูปแบบของ .jpg แนบเพิ่มมาพร้อมกับไฟล์บทความด้วย.

 

การส่งต้นฉบับบทความสามารถทำได้โดย

ส่งทางเว็บไซต์ “ศิลปกรรมสาร” https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/index