Journal Information
ISSN 2822-0447 (Print)
ISSN 2822-0439 (Online)
ประกาศ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง หลักเกณฑ์การส่งบทความตีพิมพ์ และการเก็บค่าธรรมนียมการตีพิมพ์บทความในวารสารศิลปกรรมสาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2567
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำหนดหลักเกณฑ์การส่งบทความตีพิมพ์ และการเก็บค่าธรรมเนียมลงพิมพ์บทความ เพื่อใช้สำหรับเป็นค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ และค่าผลิตบทความในวารสารศิลปกรรมสารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สำหรับบทความที่ส่งตั้งแต่วันที่ 2 มกกราคม 2567 เป็นต้นไป) ดังนี้
1.อัตราค่าธรรมเนียมลงตีพิมพ์บทความ โดยบทความภาษาไทย บทความละ 3,000 บาท และบทความภาษาอังกฤษ บทความละ 5,000 บาท
2.บุคลากรที่สังกัดคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมตามข้อ 1 แต่ไม่รวมถึงบทความที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาเพื่อสำเร็จการศึกษา
3.นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในหลักสูตรของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต้องชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ โดยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในอัตราบทความละ 1,500 บาท
4.นักศึกษาระดับปริญญาตรี ในหลักสูตรของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมตามข้อ 1 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในศิลปกรรมสาร จะต้องผ่านการพิจารณาคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบันอย่างน้อย 3 ท่าน/ต่อบทความ
1.บทความต้องมีความยาว 15 – 30 หน้ากระดาษ A4 พิมพ์ด้วย Microsoft Word for Windows
2.แบบและขนาดตัวอักษร
บทความภาษาไทย ใช้ตัวอักษรแบบ “Angsana New” หรือ “Cordia New” ชื่อบทความใช้ตัวอักษรขนาด 18 ตัวหนา ชื่อหัวข้อและหัวข้อย่อยใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวหนา และ ชื่อผู้เขียน บทคัดย่อและเนื้อความต่างๆ ใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวปกติ
บทความภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษรแบบ “Times New Roman” ชื่อบทความใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวหนา ชื่อผู้เขียน บทคัดย่อและเนื้อความต่างๆ ใช้ตัวอักษรขนาด 14 ตัวปกติ ชื่อหัวข้อและหัวข้อย่อยใช้ตัวอักษรขนาด 14 ตัวหนา
เกณฑ์การพิจารณาบทความ
1. เกณฑ์การพิจารณาบทความมีดังนี้ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คุณค่าทางวิชาการ ความสมบูรณ์ของเนื้อหาและโครงสร้าง ภาษาที่ใช้ ความชัดเจนของสมมติฐาน/วัตถุประสงค์ ความชัดเจนของการนำเสนอและการจัดระเบียบบทความ ความถูกต้องทางวิชาการ การอภิปรายผล และการอ้างอิงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
2. บทความจะต้องได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งกองบรรณาธิการอาจให้ผู้เขียนปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตัดสินลงพิมพ์หรือไม่ก็ได้
1 บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่มีรูปแบบของการวิจัยตามหลักวิชาการ กล่าวคือ มีการตั้งสมมติฐานหรือมีการกำหนดปัญหาที่ชัดเจนสมเหตุสมผล ระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแน่นอน มีการค้นคว้าอย่างมีระบบ รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล ตีความและสรุปผลตรงตามวัตถุประสงค์ เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ
2 บทความทางวิชาการ (Article) เป็นบทความที่เขียนขึ้นในลักษณะวิเคราะห์วิจารณ์ หรือ เสนอแนวคิดใหม่ๆ จากพื้นฐานทางวิชาการที่ได้เรียบเรียงจากผลงานทางวิชาการของตนเอง หรือของคนอื่น หรือเป็นบทความทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นความรู้ที่สำคัญแก่คนทั่วไป
รูปแบบของบทความ
แนวทางและรูปแบบการเขียนบทความวิชาการ/วิจัย ต้องมีเนื้อหา ดังนี้
1 ชื่อเรื่อง (Title)
ควรกะทัดรัด ไม่ยาวเกินไป ชื่อเรื่อง ต้นฉบับภาษาไทยให้พิมพ์ชื่อเรื่องภาษาไทยก่อนแล้ว ตามด้วยภาษาอังกฤษ
2 ชื่อผู้เขียนและหน่วยงานสังกัด (Authors)
ให้ระบุชื่อเต็ม-นามสกุลเต็มของผู้เขียนทุกคน และระบุตำแหน่งทางวิชาการ หน่วยงานหรือสถาบันที่สังกัด
3 บทคัดย่อ (Abstract)
กำหนดให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 350 คำ (บทคัดย่อที่เขียนควรเป็นแบบ Indicative Abstract คือ สั้นและตรงประเด็นและให้สาระสำคัญเท่านั้น ไม่ควรเขียนแบบ Informative Abstract ตามแบบที่เขียนวิทยานิพนธ์หรือรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์)
4 คำสำคัญ (Keywords)
กำหนดคำสำคัญที่เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ทำคำค้นในระบบฐานข้อมูลที่คิดว่าผู้ที่จะค้นหาบทความควรใช้ ให้ระบุทั้งคำในภาษาไทยและภาษาอังกฤษใส่ไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษา อย่างละไม่เกิน 5 คำ
5 บทนำ (Introduction)
อธิบายถึงที่มาและความสำคัญของปัญหาและเหตุผลที่นำไปสู่การศึกษาวิจัย หรือให้ข้อมูลทางวิชาการที่มีการตรวจเอกสาร (Literature Review) พร้อมทั้งจุดมุ่งหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัย/งานวิชาการ
6 วิธีการวิจัย เครื่องมือการวิจัย และระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology): กรณีที่เป็นบทความวิจัย
อธิบายกระบวนการดำเนินการวิจัย โดยบอกรายละเอียดของวิธีการศึกษา สิ่งที่นำมาศึกษา จำนวน ขนาด ลักษณะเฉพาะของตัวอย่างที่ศึกษา ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษา อธิบายแบบแผนการวิจัย การเลือกตัวอย่าง วิธีการเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
7 ผลการวิจัย (Research Results): กรณีที่เป็นบทความวิจัย
เสนอผลการวิจัยอย่างชัดเจน ตรงประเด็นตามลำดับขั้นตอนของการวิจัย ถ้าผลไม่ซับซ้อนและมีตัวเลขไม่มาก ควรใช้คำบรรยายแต่ถ้ามีตัวเลขหรือตัวแปรมากควรใช้ตารางหรือแผนภูมิแทน โดยไม่ควรมีเกิน 5 ตารางหรือแผนภูมิ โดยต้องมีการแปลความหมายและวิเคราะห์ผลที่ค้นพบ และสรุปเทียบกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ (ถ้ามี)
8 การอภิปรายผล การวิจารณ์และสรุป ข้อเสนอแนะ (Discussions, Conclusions, and Recommendations)
เป็นการชี้แจงผลการวิจัยว่าตรงกับวัตถุประสงค์/สมมติฐานของการวิจัย สอดคล้องหรือขัดแย้งกับผลการวิจัยของผู้อื่นที่มีอยู่ก่อนหรือไม่อย่างไร เหตุผลใดจึงเป็นเช่นนั้น และให้จบด้วยข้อเสนอแนะที่จะนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ หรือทิ้งประเด็นคำถามการวิจัย ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับการทำวิจัยต่อไป
9 กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements)
ระบุสั้นๆ ว่าได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยและความช่วยเหลือจากที่ใดบ้าง
10 การอ้างอิงและเอกสารอ้างอิง ศิลปกรรมสาร ตั้งแต่ฉบับที่ 1 ประจำาปีที่ 16 (พ.ศ.2566) ใช้ระบบการอ้างอิงตามหลักเกณฑ์ APA 7th edition
การอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation) แบบนาม-ปี (author-date citation system) มี 3 รูปแบบ คือ
10.1 (ผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์) ไว้ท้ายข้อความที่อ้างอิง
รูปแบบภาษาไทย : (ชื่อ/สกุล,/ปี)
ตัวอย่างการพิมพ์ : (สุนีย์ มัลลิกะมาลย์, 2549)
รูปแบบภาษาอังกฤษ : (สกุล,/ปี)
ตัวอย่างการพิมพ์ : (Yamada, 2017)
10.2 ผู้แต่ง (ปีที่พิมพ์) กรณีที่ระบุชื่อผู้แต่งเพื่อนำาเข้าสู่เนื้อหาซึ่งสรุปใจความสำาคัญแล้ว นำามาอ้างถึง
รูปแบบภาษาไทย : ชื่อ/สกุล/(ปี)
ตัวอย่างการพิมพ์ : สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ (2549)
รูปแบบภาษาอังกฤษ : สกุล/(ปี)
ตัวอย่างการพิมพ์ : Yamada (2017)
ตัวอย่างการพิมพ์ : เจตนา นาควัชระ (2551) กล่าวว่า ชาติที่บรรลุถึงความเจริญ รุ่งเรืองในทาง วัฒนธรรมมักเป็นชาติที่มีประเพณีการละครอันรุ่งเรือง...
10.3 อ้างถึงปีที่พิมพ์ ชื่อ/สกุล ของผู้แต่ง ในกรณีที่ต้องการยกข้อความมาทั้งข้อความ โดยไม่ตัดทอน
ตัวอย่างการพิมพ์ : ในปี 2559 สุชาติ เถาทอง กล่าวถึงการวิจัยทางศิลปะไว้ว่า “หลัก สำคัญของการวิจัยศิลปะก็คือแนวคิดที่ว่าศิลปะคือกระบวนการค้นหาความจริง การปฏิบัติสร้างสรรค์ศิลปะมีแนวทางวิธีการเพื่อเข้าถึงและค้นพบความรู้ได้มากขึ้น”
ทั้งนี้ ต้องมีความยาวไม่เกิน 3 บรรทัด หากเกิน 3 บรรทัด ต้องขึ้นบรรทัดใหม่ แล้วย่อหน้า
การอ้างอิงท้ายบทความ รายการเอกสารอ้างอิงให้ระบุรายชื่อเอกสารท่ีใช้เป็นหลักในการ ค้นคว้าวิจัยและมีการอ้างถึง จัดเรียงลำาดับตามตัวอักษร ถ้าเป็นบทความภาษาไทยนำาโดยกลุ่มเอกสาร ภาษาไทยและตามด้วยกลุ่มเอกสารภาษาอังกฤษ รูปแบบของการเขียนเอกสารอ้างอิง ดังนี้
รายการเอกสารอ้างอิงจากหนังสือ
รูปแบบ : ชื่อ/สกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)./สำานักพิมพ์.
รายการเอกสารอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์
(1) วิทยานิพนธ์ที่ไม่ได้ตีพิมพ์
รูปแบบ : ชื่อ/สกุล./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์
///////หรือ วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]./ชื่อมหาวิทยาลัย.
(2) วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตและวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตจากเว็บไซต์ (ไม่อยู่ในฐาน ข้อมูลเชิงพาณิชย์)
รูปแบบ : ชื่อ/สกุล./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือ
///////วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]./ชื่อเว็บไซต์./URL
(3) วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตและวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จากฐานข้อมูลเชิง
รูปแบบ : ชื่อ/สกุล./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/(หมายเลข UMI หรือ เลขลำาดับอื่น ๆ)
///////[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ///////ชื่อมหาวิทยาลัย]./ชื่อฐานข้อมูล.
รายการเอกสารอ้างอิงจากวารสาร
รูปแบบ : ชื่อ/สกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/เลขของปีที่(เลขของฉบับที่),/เลข หน้า.
รายการเอกสารอ้างอิงจากงานศิลปะ (จิตรกรรม/ประติมากรรม/ภาพถ่าย)
รูปแบบ : ชื่อ/สกุล./(ปีที่สร้าง)./ชื่อผลงาน./ชื่อพิพิธภัณฑ์/สถานที่เก็บผลงาน,/เมือง. รายการเอกสารอ้างอิงจากเพลง/ดนตรี/การแสดง
รูปแบบ : ชื่อ/สกุล./(ปีที่แสดง)./ชื่อผลงาน./ชื่อสถานที่, เมือง.
บทความออนไลน์และหนังสือพิมพ์ออนไลน์
รูปแบบ : ชื่อ/สกุล./(ปี,/วัน/เดือน)./ชื่อคอลัมน์./ชื่อหนังสือพิมพ์หรือชื่อเว็บไซต์. URL รายการเอกสารอ้างอิงจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์
รูปแบบ : ชื่อ/สกุล./(ปีที่สร้าง)./ชื่อเรื่อง (CD-ROM)./สถานที่จัดทำา.
รายการเอกสารอ้างอิงจากการสัมภาษณ์
รูปแบบ : ชื่อ/สกุล./ตำาแหน่ง(ถ้ามี)./สัมภาษณ์./วัน/เดือน/ปี.
ตัวอย่างการพิมพ์เอกสารอ้างอิง
ดูตัวอย่างการพิมพ์เอกสารอ้างอิง
การส่งต้นฉบับบทความสามารถทำได้โดย
ส่งทางเว็บไซต์ที่ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/fineartstujournal/about/submissions
เป็นบทความที่มีรูปแบบของการวิจัยตามหลักวิชาการ ระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีการค้นคว้าอย่างมีระบบ รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล ตีความและสรุปผลตรงตามวัตถุประสงค์ เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ
เป็นบทความที่มีรูปแบบการสร้างสรรค์ ระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีการค้นคว้ารวบรวมวิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูล แสดงระเบียบวิธีการที่สะท้อนกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานอย่างเป็นระบบ และสรุปผลตรงตามวัตถุประสงค์
เป็นบทความที่เขียนขึ้นในลักษณะวิเคราะห์วิจารณ์ หรือเสนอแนวคิดใหม่ๆ จากพื้นฐานทางวิชาการที่ได้เรียบเรียงจากผลงานทางวิชาการของตนเอง หรือเป็นบทความทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเป็นความรู้ที่สำคัญแก่คนทั่วไป
เป็นบทความที่เรียบเรียงโดยมีการวิเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบหลักทฤษฎี ข้อเท็จจริง ปรากฏการณ์ทางศิลปกรรม ที่มีการ ดำเนินการมาแล้วจนถึงปัจจุบัน บทบาทของผลงานที่มีต่อวงวิชาการ เพื่อให้เกิดทัศนะและความเข้าใจใหม่
ข้อมูลส่วนตัวของท่าน กองบรรณาธิการจะเก็บไว้เป็นความลับ