องค์ความรู้วิชาขยับกรับเสภาทางหมื่นขับคำหวาน (เจิม นาคะมาลัย) ผ่านคำบอกเล่าของหลานศิษย์ ครูศิริ วิชเวช ศิลปินแห่งชาติ
บทคัดย่อ
การขับเสภา มีความเชื่อว่าเกิดจากการเล่านิทานในบ้านเรือนในยามค่ำคืน ดังที่ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ได้ทรงวิจารณ์เร่ืองตำนานเสภาของสมเด็จเจ้าฟ้ากรม พระยาดำรงราชานุภาพว่า “จะทูลความเห็นส่วนหน่ึงซ่ึงทรงพระวินิจฉัยในมูลเหตุการขับเสภา ว่ามาจากเล่านิทานนั้นถูกต้องจริง” โดยในตอนแรกนิทานที่เล่าคงจะเป็นเพียงเรื่องสั้นๆ ที่เล่าจบ โดยใช้เวลาไม่นานนัก ต่อมาจึงได้ถูกนำมาใช้เล่ากันในที่ชุมชน เช่น ศาลาริมทาง ให้ผู้ที่เดินทาง ไปมาได้ผ่อนคลายความเหน่ือยล้า จากน้ันจึงเร่ิมมีการบริจาครับเงินตอบแทนกันข้ึน ต่อมา เมอ่ืการเลา่นทิานไดร้บัความนยิมอยา่งแพรห่ลายมากขน้ึ จงึเกดิเปน็อาชพีรบัจา้งเลา่นทิานตามงาน มงคลต่างๆ เช่น งานโกนจุก บวชนาค ดังที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ (2515.2) ทรงกล่าวว่า “ประเพณีการรับจ้างเล่านิทานให้คนฟังนี้ แม้ในสยามประเทศก็มีมาแต่โบราณ จะนับ เปน็มหรสพอยา่งหนง่ึซง่ึมีในงาน เชน่ งานโกนจกุ ในตอนค่ำ เมอ่ืพระสวดมนตแ์ลว้กห็าคนไปเลา่ นิทานให้แขกฟังเป็นประเพณีเก่าแก่” ในระยะแรกรูปแบบการเล่านิทานนั้นเป็นเพียงการเล่าแบบ รอ้ยแกว้ธรรมดา ตอ่มาจงึไดม้กีารพฒันาใสอ่ารมณข์ณะเลา่เรอ่ืง จนกลายมาเปน็การดน้กลอนสด สลับกับร้อยแก้ว ดังที่ สุจิตต์ วงษ์เทศ (2532.75) กล่าวว่า “การขับเสภาด้นกลอนอย่างเสรี ก็คือการละเล่นหรือการแสดงที่มีความสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับผู้ดูผู้ฟังที่ร่วมเล่นร่วมฟัง คนเสภาย่อมคล้อยตามอารมณ์ผู้ดูผู้ฟังได้ดังใจ ขณะเดียวกันคนเสภาก็สามารถกำหนดให้คนดู คนฟงัเกดิอารมณร์ว่มในตอนหนงึ่ตอนใดได ้ดว้ยการขบัดน้ดา่ทอหรอืคร่ำครวญตา่งๆ นานาอยา่งเสรี โดยไม่มีข้อกำหนดเรื่องเวลาและอารมณ์” เมื่อมีผนู้ิยมชมชอบในคำกลอนมากขึ้น จึงไดม้ีการแต่ง กลอนเป็นนิทานเรื่องยาวขึ้นและมีการจดบันทึกเพื่อใช้ในการขับลำนำอย่างเป็นแบบแผน ต่อมา จึงได้มีการพัฒนานำไม้เข้ามาตีประกอบจังหวะเข้ากับการเล่า เพ่ือผ่อนคลายความเหน็ดเหน่ือย ของผู้เล่าและไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย จนเป็นต้นกำเนิดของการขับเสภาในปัจจุบัน