รูปแบบการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการตีความตัวละคร “ราม” ในรามายณะผ่านทฤษฎีภาวะและรส โดยคำนึงถึงองค์ประกอบทางการแสดงทั้ง 8 ประการ

ผู้แต่ง

  • นรีรัตน์ พินิจธนสาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์, ราม, ทฤษฎีภาวะ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงสร้างสรรค์ในหัวข้อ เรื่อง การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการตีความตัวละคร “ราม” ในรามายณะผ่านทฤษฎีภาวะและรส ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์จากแนวคิดการตีความตัวละคร “ราม” ในวรรณกรรมเรื่องรามายณะ โดยใช้ทฤษฎีภาวะและรส เพื่อแสดงให้เห็นถึงบริบทความเป็นมนุษย์ของตัวละคร “ราม” ใน “นวรส” หรือภาวะอารมณ์ ความรู้สึกทั้ง 9 แบบ ได้แก่ รัก โกรธ เกลียด กลัว กล้าหาญ โศกเศร้า ขบขัน อัศจรรย์ใจ และสงบ โดยสร้างสรรค์เป็นผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ตามองค์ประกอบทางการแสดง
8 ประการ คือ 1) การออกแบบบทการแสดง 2) การคัดเลือกผู้แสดง 3) การออกแบบลีลาท่าทางนาฏยศิลป์ 4) การออกแบบเสียงและดนตรี 5) การออกแบบเครื่องแต่งกาย 6) การออกแบบอุปกรณ์การแสดง 7) การออกแบบแสง และ 8) การออกแบบพื้นที่การแสดง

            ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการตีความตัวละคร “ราม” ในรามายณะผ่านทฤษฎีภาวะและรส แบ่งออกเป็น 9 ชุดการแสดงตาม “นวรส” โดยเป็นการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ที่ให้ความสำคัญต่อการแสดงออกถึงภาวะอารมณ์ และความรู้สึกของตัวละครมากกว่าการวางท่าทางเพื่อความสวยงาม หรือการแสดงเอกลักษณ์ทางนาฏยศิลป์ประจำชาติเท่านั้น และไม่มุ่งเน้นการเล่าเรื่องเพียงอย่างเดียวแต่ให้ความสำคัญต่อกระบวนการค้นหาพัฒนารูปแบบการแสดงซึ่งนำแนวคิดการให้ความสำคัญกับแนวคิดความเรียบง่าย (Minimalism) มาปรับใช้ให้เข้ากับองค์ประกอบรูปแบบการแสดงทั้งหมด 8 ประการ ซึ่งผลงานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นนั้นสามารถเป็นการพัฒนานาฏยศิลป์สร้างสรรค์ทั้งในเชิงวิชาการ และทำให้คนรุ่นใหม่สามารถเข้าใจในวรรณกรรมที่สอดแทรกคติธรรมะได้โดยง่ายยิ่งขึ้น

References

Devdutt Pattanaik. (2015). The book of Ram. Penguin Books India. p.168.
Drarakorn Chandnasaro. (2014). The Dance from concept of Trilaksana in Buddhism. The Degree of Fine and Applied Arts Program in Fine and Applied Arts, Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkok University. (in Thai)
Duangthida Ramet. (2015). The beginning of the Ramayana legend from the original Ramayana. (Type 1). Bangkok: Kaew Kaew Publishing. (in Thai)
Krisara (Suriman) Warisara Phuricha, (2008) Drama Scene. Bangkok. Chulalongkorn University Press, p.148
Paitoon KamKang. Lecturer, Bunditpatanasilpa Institute. Interview, 19 September 2018.
Pattama Watthana Panich (2013).The role of nang narai in thai contemporary dance “Narai Avatara” The Degree of Fine and Applied Arts Program in Fine and Applied Arts, Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkok University. (in Thai)
Passakorn Inthumara. Lecturer, Thammasat University. Interview, 10 July 2018.
Preecha Boonyarat. Assistant Professor, Thammasat University. Interview, 3 September 2018.
Sarupong SUTPRASERT, Lecturer, Thammasat University. Interview, 13 July 2018.
Matnee Rutnim. (2006). Introduction to the art of theater performance. Bangkok: Thammasat University Press. p.38 (in Thai)
Naraphong Charassri. (2005). History of Western Dance. Bangkok : Chulalongkok University Press. (in Thai)
Naraphong Charassri. Research Professor, Chulalongkok University. Interview, 25 May 2018, 21 June 2018, 1 March 2019.
Saengmon Witoon, (2511) Dance dance practice. Department of Fine Arts, p. 274-323. (in Thai)
Surasit Wisetasing. Flavour Of Dance Through The Modern Performance “Narai Avatara” The Degree of Fine and Applied Arts Program in Fine and Applied Arts, Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkok University. (in Thai)
Wanasak Padungsestakit .Assistant professor, Suan Sunandha Rajabhat University. Interview,21 June 2018. p.26-27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัยสร้างสรรค์