การพัฒนารูปแบบกระเป๋าด้วยลวดลายผ้าไหมทอผสมเปลือกหอยมุก
คำสำคัญ:
1. การทอผ้า หมายถึง กรรมวิธีการผลิตผืนผ้าโดยใช้เส้นด้ายพุ่งและเส้นด้ายยืนมาขัดประสานกันจนได้เป็นผืนผ้า ทั้งนี้ต้องมีเครื่องมือในการทอ เรียกว่า หูก หรือกี่ (ในภาษาไทยถิ่นอีสาน มักเรียกการทอผ้าว่าบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปทรงของกระเป๋า
ที่มีความเหมาะสมกับการผลิตด้วยผ้าไหมทอผสมเปลือกหอยมุก 2) เพื่อออกแบบกระเป๋าผ้าไหมทอผสมเปลือกหอยมุกที่เป็นไปตามแนวโน้มผู้บริโภคสตรีโดยใช้ทฤษฎีการสร้างมูลค่าเพิ่มและเทรนด์แฟชั่น
โดยกระบวนการวิจัย เริ่มจากการเก็บข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึก (in dept interview) ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน
การออกแบบและการทอผ้าที่มีประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 10 ปี จำนวน 3 ท่าน จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อสร้างเป็นข้อกำหนดทางการออกแบบ เมื่อได้แบบร่าง (sketch) แล้ว จึงให้ผู้เชี่ยวชาญ
ทั้ง 3 ท่าน เลือกแนวทางการออกแบบที่สอดคล้องกัน เพื่อนำมาพัฒนาเป็นต้นแบบ และนำต้นแบบที่ได้
ไปสำรวจความพึงพอใจสินค้า ผ่านกลุ่มตัวอย่างสตรีที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และมีความชื่นชอบ
ผ้าไทยและสนใจด้านแฟชั่น
จากการวิจัย พบว่า รูปแบบกระเป๋าที่เหมาะแก่การนำมาผลิตด้วยผ้าไหมชนิดนี้คือ กระเป๋าถือสตรี
ที่นิยมใช้ถือเพื่อออกงานราตรี โดยมีขนาดที่สามารถบรรจุบัตรเครดิต โทรศัพท์มือถือ และ ลิปสติกได้
ด้านลวดลายควรเป็นลายที่มีเรื่องราวมีแรงบันดาลใจ (inspiration) ที่น่าสนใจ ควรมีความร่วมสมัยไม่ควรยึดติดกับความดั้งเดิมเพื่อเป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ โดยแนวคิดดั้งเดิมในการทอนั้น เป็นการทอผ้าเพื่อให้เกิดผื้นผิวที่มีลักษณะนูนขึ้นมาจากพื้นผ้า ซึ่งเป็นลวดลายประเภทหนึ่งที่มีแนวคิดในการออกแบบจากการเลียนแบบลวดลายในธรรมชาติให้ออกมาเป็นลวดลายเรขาคณิต ผู้วิจัยยังคงแนวคิดด้านการออกแบบลวดลายที่เลียนแบบธรรมชาติมาพัฒนาให้เกิดความร่วมสมัย ผ่านแนวคิดการเลียนแบบพื้นผิวของวัสดุ
ที่ใช้ในการออกแบบกระเป๋าในปัจจุบันอย่างหนังจระเข้หรือหนังงู โดยเลียนแบบออกมาเป็นลักษณะของการตัดเปลือกหอยมุก เพื่อเลียนแบบเกล็ดบนผิวของสัตว์เลื้อยคลาน และผู้วิจัยได้พัฒนาลวดลายกราฟิกเพื่อให้เกิดความรู้สึกแปลกใหม่ และใช้การทอผ้าไหมแบบดั้งเดิมผสานกับการสลับสีเปลือกหอยมุกให้เกิดสีและมิติเพิ่มขึ้น เกิดเป็นแนวคิดการออกแบบเชิงการเลียนแบบธรรมชาติขึ้น ด้านสีของกระเป๋า ผู้วิจัยเลือกใช้สีที่มีความร่วมสมัยใส่ได้กับทุกชุด เช่น สีขาว เทา ดำ เบจ โดยเลือกใช้เพียงสีใดสีหนึ่งหรือหลายสีร่วมกัน
References
กลุ่มวิชาการด้านช่างศิลปไทย สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร, 2553, โครงการสร้างต้นแบบเพื่อจัดทำองค์ความรู้ด้านงานช่างประดับมุก, 14-16.
กรมหม่อนไหม, 2557, โครงการวิจัยศึกษาและพัฒนาลวดลายผ้าขิดไทยอีสานเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไทยร่วมสมัย
กรมหม่อนไหม, 2557, รายงานสรุปสถานการณ์ทางเศรษฐกิจการตลาดหม่อนไหม ปี 2557, แหล่งที่มา : https://www.qsds.go.th/newqsds/file_news/1069.pdf, 30 มีนาคม 2562.
ชัยพร ใคร้ทอง, 2550, พฤติกรรมผู้บริโภค และส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเห็ด
ในเขตอำเภอหล่มสัก และอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์, วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
ประเสริฐ โกศัลวิตร, พัฒนา...ต่อยอดไหมไทย, 4 เมษายน 2555, ไทยรัฐออนไลน์, แหล่งที่มา : https://bit.ly/2NB6FBi
ปิยะนุช นุ่มเนียม, 2553, การพัฒนาลวดลายผ้าจกด้วยจักรปักคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นผลิตภัฑณ์กระเป๋าถือสตรี. คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, กรุงเทพฯ.
พิมลพรรณ ธนเศรษฐ, 2558, โครงการธุรกิออกแบบ ผลิต และจำหน่ายกระเป๋าแฟชั่น, บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.
แพรวา รุจิณรงค์, 29 มกราคม 2562, นักวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์, [บทสัมภาษณ์.]
ผ้าทอพื้นเมืองในภาคกลาง/โครงการพัฒนาผ้าพื้นเมืองในทุกจังหวัดของประเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร,
2543, ใน สมพงษ์ ทิมแจ่มใส (บ.ก.), กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มนตรี พิริ ยะกุล, 2555, Conjoint Analysis, วารสารรามคำแหง 29(2), 252-272.
วสันต์ นุ้ยภิรมย์, 2561, ดารานักร้องเพียบ!ร่วมเดินแบบในงาน “SILK ISAN”, แหล่งที่มา : https://www.siambusinessnews.com/13846, 30 มีนาคม 2562.
วรรณา โชคบันดาลสุข, 2559, การถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าตีนจกไท-ยวนในจังหวัดราชบุรี, วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(1), 172-176.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, 2539, การบริหารการโฆษณาและการส่งเสริมการตลาด, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา.
สินีนาถ เลิศไพรวัน, 2549, การศึกษาแนวโน้มความนิยมในการเลือกใช้รูปแบบกระเป๋าหนังของสตรีนักธุรกิจไทย : รายงานการวิจัย = Case study : the leather handbags' design selected for fashion trend by Thai working women, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อนันต์ สุวรรณรัตน์, 25 มีนาคม 2557, อดีตอธิการบดีกรมหม่อนไหม, [บทสัมภาษณ์.]