การสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์โดยใช้แนวคิดพหุวัฒนธรรม
คำสำคัญ:
แนวคิดพหุวัฒนธรรม, การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์, นาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์โดยใช้แนวคิดพหุวัฒนธรรมจากผลงานของนาฏยศิลปิน 3 ท่าน ได้แก่ นราพงษ์ จรัสศรี (Naraphong Charassri) อาครัมคาน (Akram Khan) และหลิน เหวยหมิน (Lin Hwai-Min) โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพที่ได้จากการศึกษาแนวคิดพหุวัฒนธรรม แนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ แนวคิดนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ รวมถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย สื่อสารสนเทศอื่น ๆ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ หลังจากนั้นจึงมาสรุปผล และนำเสนอผลการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบและวิธีการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์โดยใช้แนวคิด พหุวัฒนธรรม เป็นการสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ที่ให้ความสำคัญต่อการแสวงหาวิธีการในการสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดความแปลกใหม่ ความหลากหลาย โดยได้บูรณาการศิลปะและวัฒนธรรมต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อมุ่งเน้นสู่กระบวนการพัฒนา ความก้าวหน้าทางด้านการสร้างสรรค์ทางนาฏยศิลป์ และนำมาปรับใช้ให้เข้ากับองค์ประกอบรูปแบบการแสดงทั้งหมด 8 ประการ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการรวบรวมองค์ความรู้แนวคิดพหุวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานทางนาฏยศิลป์ต่อไป
References
Naraphong Charassri. Narai Avatara. Perfroming The Thai Ramayana in The modern World.
Bangkok: Amarin, 2007.
กำจร สุนพงษ์ศรี. สุนทรียศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.
จุติกา โกมลเหมมณี. รูปแบบและแนวความคิดในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยของนราพงษ์ จรัสศรี.
วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย ภาควิชานาฏยศิลป์คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.
ธรากร จันทนะสาโร. ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้ศิลปกรรมเพื่อความยั่งยืน และเป็นอาจารย์ประจำ
สาขาวิชานาฏศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สัมภาษณ์, 26 กุมภาพันธ์ 2562.
นราพงษ์ จรัสศรี. ศาสตราจารย์วิจัย สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์, วันที่ 5 เมษายน 2562, 18 พฤษภาคม 2562.
นราพงษ์ จรัสศรี. ประวัตินาฏยศิลป์ตะวันตก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.
วิรุณ ตั้งเจริญ. ศิลปะหลังสมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สันติศิริการพิมพ์, 2547.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. วัฒนธรรมกับการพัฒนา: มิติของพลังที่สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนัก
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, 2544.