นาฏศิลป์พื้นเมือง : แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ประภาศรี ศรีประดิษฐ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ, นาฏศิลป์พื้นเมือง

บทคัดย่อ

            ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ โดยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากถึงร้อยละ 20 และใน พ.ศ. 2574 จะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28 ทั้งนี้เมื่อบุคคลอายุ 60 ปี ซี่งก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุเริ่มต้น จะเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงทางสภาพร่างกาย จิตใจ และความสัมพันธ์ทางสังคมที่เสื่อมโทรมลงตามกาลเวลา ส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลง ดังนั้นจึงเกิดการผลักดันส่งเสริมให้มีการวิจัย และพัฒนานวัตกรรมที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตได้โดยง่าย

            นาฏศิลป์พื้นเมืองเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่อยู่คู่ผู้สูงอายุมาตลอดช่วงชีวิต สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นนวัตกรรมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้สูงอายุในสังคมและชุมชนให้ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย จากการออกกำลังเคลื่อนไหว ด้านจิตใจจากการผ่อนคลายทางด้านดนตรี และด้านความสัมพันธ์ทางสังคมจากการเข้าร่วมกิจกรรมแสดงนาฏศิลป์ในชุมชน โดยอาศัยแนวทางการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่ ผ่านกิจกรรมการพัฒนานาฏศิลป์พื้นเมือง ได้แก่ การอนุรักษ์ การฟื้นฟู การประยุกต์ และการพัฒนา เมื่อกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าวสิ้นสุดลงสามารถวัดคุณภาพชีวิตได้จากเครื่องวัดองค์ประกอบในร่างกาย และแบบวัดคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุที่ประยุกต์มาจากแบบทดสอบคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก

            แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้วยนาฏศิลป์พื้นเมืองสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เนื่องจากนาฏศิลป์พื้นเมืองแสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นซึ่งนอกจากจะเป็นการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่ต่อไปอีกด้วย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2547). แนวทางการดําเนินงาน การสร้างตํานานผลิตภัณฑ์ (story of product). กรุงเทพฯ: เอทีเอ็น โปรดักชั่น.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่องสังคมผู้สูงอายุ (ฉบับปรับปรุง, พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน).
ฉัตรกมล สิงห์น้อย นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร และประทีป ปุณวัฒนา. 2558. การพัฒนาแบบสอบถามการรับรู้บรรยากาศการจูงใจในการเล่นกีฬาฉบับภาษาไทย. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 16(1), 50-63.
ธนสรรค์ เกตุพุฒ. (2559). การวิเคราะห์คุณค่าดนตรีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวคิดของครูดุษฎี พนมยงค์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 11(4), 1 - 16. จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/
OJED/article/view/84186
เพ็ญภพ พันธุ์เสือ. (2560). ประสิทธิผลของการออกกำลังกายแบบชี่กงต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2538). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
วีรโชติ พึ่งเป็นสุข. (2559). ผลฉับพลันของการฟังเพลงไทยที่มีต่อระดับความเครียดและคลื่นสมองของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2531). สังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). สังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2564 จาก https://www.parliament.go.th/library.
สุรกุล เจนอบรม. (2541). วิสัยทัศน์ผู้สูงอายุและการศึกษานอกระบบสำหรับผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: นิชินแอดเวอร์ไทชิ่งกรุ๊ฟ.
BTL BANGKOK. (2561). จ้างผู้สูงอายุ สร้างงาน สร้างอาชีพ. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2564 จาก https://www.
bltbangkok.com/news/4238/.
Dorson, R. M. (1972). Folklore and folklife: An introduction. In Dutta, op.cit.
Flanagan, J. C. (1978). A research approach to improving our quality of life. American Psychologist, 33, 126-147.
Sharma, R.C. (1988). The Meaning of Quality of Life. In R.C. Sharma, editor. Population, Resource, environment and Quality of Life. New Delhi: Dhanat Rai and Sons.
UNESCO (1993). Special needs in the classroom: A teacher education guide. Paris: UNESCO. https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000135116.
World Health Organization. (1997). WHOQOL Measuring quality of life: Geneva. Retrieved From http://www.who.int/mental_health/media/68.pdf.
Zhan, L. (1992). Quality of life: Concept and measurement issues. Journal of Advanced Nursing, 17, pp. 795-800.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-25

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ