การสร้างสรรค์สุนทรียะในนิทรรศการ ความงามและความน่าเกลียด สุนทรียศิลป์แห่งมารศี
คำสำคัญ:
การสร้างสรรค์สุนทรียะ นิทรรศการ ความงามและความน่าเกลียด ศิลปะร่วมสมัย ภัณฑารักษ์บทคัดย่อ
ในประวัติศาสตร์ศิลปะร่วมสมัยของไทยในช่วงสองทศวรรษนี้ได้เริ่มปรากฏชื่อศิลปินหญิงผู้สูงศักดิ์ ท่านหนึ่งคือหม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธ์ บริพัตร สืบเนื่องจากการที่มูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้จัด นิทรรศการแสดงผลงานของท่านในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2553 และ พ.ศ. 2556 หลังจากนั้นแม้ว่าศิลปินท่านนี้จะล่วงลับไปแล้วในปี พ.ศ. 2556 ทางมูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร ยังมีความประสงค์ที่จะจัดนิทรรศการ แสดงผลงานของท่าน จึงได้มอบหมายให้ผู้เขียนรับหน้าที่ภัณฑารักษ์ในการจัดนิทรรศการครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2561 โดยให้นำผลงานจิตรกรรมของท่านมาจัดแสดงอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้รับรู้ชื่นชมในผลงาน ณ พิพิธ- ภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป กรุงเทพมหานคร ผู้เขียนจึงได้ทำการศึกษาผลงานจิตรกรรม ภาพร่างลายเส้น วัตถุสิ่งของ หนังสือทั้งหมดของศิลปิน จนสามารถวิเคราะห์ได้ว่าผลงานจิตรกรรมของศิลปินท่านนี้ล้วนแสดงออกทั้งด้านความงามและความน่าเกลียดในเชิงสุนทรียศาสตร์ ในขณะที่การรับรู้ความหมายของสังคมไทยเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์ มักมีเพียงแค่ความงามเท่านั้น ผู้เขียนจึงกำหนดหัวข้อนิทรรศการว่า “ความงามและความน่าเกลียด : สุนทรียศิลป์แห่งมารศี” เพื่อท้าทายการรับรู้เกี่ยวกับนิทรรศการศิลปะ ผู้เขียนได้กำหนดการเล่าเรื่องในห้อง นิทรรศการทั้งสี่ห้องด้วยคำสำคัญ 4 คำคือ ความงาม ความน่าเกลียด เส้นทางศิลปะของหม่อมเจ้ามารศี และสัจจะ นอกจากการจัดแสดงผลงานจิตรกรรมสีน้ำมัน ยังได้นำภาพร่างดินสอบนกระดาษไข หนังสือ วัตถุสิ่งของที่พระญาติ ได้นำกลับมาจากประเทศฝรั่งเศสมาจัดแสดงด้วย เพื่อให้ผู้ชมได้เข้าใจแนวคิดของศิลปินในการสร้างสรรค์มากที่สุด รวมทั้งผู้เขียนได้ออกแบบเส้นประวัติศาสตร์ศิลป์ (Timeline) ของไทย เอเชียและของโลก เพื่อให้ผู้ชมนิทรรศการ ได้เข้าใจพัฒนาการของศิลปะร่วมสมัยไทยและของศิลปินไปพร้อมกัน ในนิทรรศการนี้ยังได้ทำงานแบบบูรณาการ กับดนตรีคลาสสิค และการออกแบบแฟชั่นของแบรนด์ FLYNOW โดยมีการนำผลงานของศิลปินมาเป็นแรง บันดาลใจในการออกแบบชุดเพื่อการจัดแสดงเแฟชั่นในห้องแสดงงานศิลปะ ผลตอบรับจากผู้ชมอยู่ในเกณฑ์ดี นิทรรศการสามารถสร้างผู้ชมกลุ่มใหม่เพิ่มขึ้น แม้ว่าการเดินทางไปยังที่จัดแสดงจะไม่สะดวกนักแต่ด้านการประชา สัมพันธ์บนสื่อออนไลน์ได้ช่วยด้านการเข้าถึงข้อมูลผลตอบรับจากผู้ชมอยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อสรุปการประเมินจากแบบสอบถามผู้เข้าชมนิทรรศการได้ผลแต่ละด้านดังนี้ ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าชมนิทรรศการ 76% สถานที่จัด นิทรรศการ 74% แนวคิดนิทรรศการ 69% ระยะเวลาในการจัดนิทรรศการ 56% เอกสารเผยแพร่ความรู้ 54% การประชาสัมพันธ์กิจกรรม 41% จึงสรุปได้ว่านิทรรรศการประสบความสำเร็จทำให้คนไทยได้รู้จักผลงานของศิลปิน หญิงที่เป็นรอยต่อสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ศิลป์ร่วมสมัยของไทย
References
พร้อมฉัตร สวัสดิวัตน์(หม่อมราชวงศ์). สัมภาษณ์. 15 ธันวาคม 2561
Eco Umberto. (2008). History of Beauty. Italy : G. Canale, Borgaro Tornese.
นุชนันท์ โอสถานนท์, กรรมการมูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศี สุขุมพันธุ์ บริพัตร. สัมภาษณ์. 15 กรกฎาคม 2561.