เสียงตะโกนร้องในงานศิลปะกับการเมืองที่ถูกควบคุม

ผู้แต่ง

  • ศุภชัย อารีรุ่งเรือง

คำสำคัญ:

ศิลปะกับการเมือง

บทคัดย่อ

ประเด็นการแสดงออกทางศิลปะเพื่อสะท้อนสังคมและการเมืองในสภาวะที่รัฐบาลควบคุมเสรีภาพของศิลปิน นักสร้างสรรค์ นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นมานั้น ส่งผลให้เกิดหลายเหตุการณ์ที่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าลบทิ้ง ทำลายผลงาน หรือควบคุมการแสดงออกไม่ให้ปรากฏในสื่อสาธารณะ ผู้เขียนในฐานะศิลปินได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะกับการเมืองก็เคยถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐควบคุมสิทธิเสรีในการสร้างสรรค์แสดงออกด้วยผลงานศิลปะเพื่อสะท้อนสังคมการเมืองเช่นกัน เมื่อปี พ.ศ. 2561 ในเทศกาลศิลปะ “KhonKaen Manifesto เหลี่ยม มาบ มาบ แสงจ้าในตึกร้าง” ซึ่งเป็นผลงานที่ผู้เขียนได้วาดใบหน้าของนายกรัฐมนตรีของไทยสองท่านจากสองสมัย  จากนั้นในปี พ.ศ. 2562 ผู้เขียนได้รับเชิญให้นำผลงานศิลปะไปแสดงงานเดี่ยว (SOLO EXHIBITION) ที่ NANYANG ACADEMY OF FINE ARTS ในชื่อผลงาน Sound of Silence in Thailand  ผลงานชุดนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนอประเด็นเรื่องการควบคุมเสรีภาพทางการแสดงความคิดเห็นของประชาชนไทยในด้านสังคมและการเมือง ซึ่งในขณะนั้นเกิดความขัดแย้งทางความคิดของกลุ่มหัวก้าวหน้ากับกลุ่มอนุรักษ์นิยม ท่ามกลางสภาวะที่หลายประเทศเกิดการชุมนุมโดยคนรุ่นหนุ่มสาวเพื่อประท้วงต่อต้านผู้มีอำนาจเนื่องจากต้องการเห็นอนาคตที่ดีกว่า เกิดเป็นแรงกระเพื่อมส่งต่อทั่วเอเชียรวมถึงประเทศไทย    ผู้เขียนสร้างสรรค์ผลงานชุดดังกล่าวในลักษณะภาพจิตรกรรมเทคนิคหมึกบนกระดาษ  ดินสอบนกระดาษ พาสเทล รวมถึงสื่อวิดีโอที่ไร้เสียง เป็นการแสดงออกถึงความอึดอัด การถูกกดขี่ วัฒนธรรมของการห้ามพูด ห้ามตั้งคำถามของเด็กต่อผู้ใหญ่ในสังคมไทยที่ฝังรากลึกมายาวนาน  ผลการตอบสนองของผู้ชมต่องานที่จัดแสดงพบว่า ผู้ชมมีการแสดงความเห็นเชิงสนับสนุนต่อผลงานที่นำเสนอ โดยมีทั้งผู้ชมชาวไทยที่ได้รับข่าวสารจากหอศิลป์ ผู้ชมชาวไทยที่เดินผ่านแล้วเข้ามาชมงาน รวมทั้งผู้ชมชาวสิงคโปร์และนักท่องเที่ยวชาติอื่นก็ได้สะท้อนความเห็นแบบมีส่วนร่วมกับปรากฏการณ์ที่สังคมไทยถูกอำนาจเผด็จการเข้ายึดอำนาจ กล่าวโดยสรุปในการจัดแสดงผลงานที่แสดงออกด้านการเมืองของผู้เขียนทั้งสองครั้งแต่ต่างสถานที่กันระหว่างสองประเทศ พบว่าผลงานศิลปะสามารถสื่อสารจากประเด็นทางการเมือง และสร้างการรับรู้ทางสุนทรียะได้แตกต่างกัน

References

Wikipedia, Iconoclasm. accessed June 24 2021, available from. https://en.wikipedia.org/wiki/Iconoclasm,
ประชาไท, บทความพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ : ความสมานฉันท์ในการเซ็นเซอร์ตัวเองของสื่อกรณีวิจารณ์ป๋า, เข้าถึงเมื่อ 24 มิถุนายน 2564, เข้าถึงได้จาก https://prachatai.com/journal/2007/03/12169
อันนา หล่อวัฒนตระกูล, 2 ปี 2 เดือน การหายไปของหมุดคณะราษฎร, เข้าถึงเมื่อ 24 มิถุนายน 2564, เข้าถึงได้จาก https://prachatai.com/journal/2019/06/83100

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ