แนวโน้มละครเวทีไทยในช่วงเวลาแห่งความพลิกผัน

ผู้แต่ง

  • สุรศักดิ์ นามวัฒน์โสภณ นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

ละคอนเวทีไทย, แนวโน้มละคอนเวทีไทย,การจัดการศิลปะ, การเปลี่ยนแปลงฉับพลันทางดิจิทัล

บทคัดย่อ

ละคอนเวทีในประเทศไทยกำลังเผชิญกับความพลิกผันอย่างรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงฉับพลันทางดิจิทัล (Digital Disruption) การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) และปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมภายในประเทศ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้คณะละคอนต่างต้องปรับโครงสร้างองค์กรและแนวทางการนำเสนอให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมใหม่ งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งวิเคราะห์เหตุปัจจัยที่ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อวงการละคอนเวทีไทยโดยองค์รวมเพื่อคาดการณ์แนวโน้มและเสนอแนะแนวทางการจัดการละคอนเวทีไทยท่ามกลางวิกฤตและโอกาส ในการดำเนินการศึกษา ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานโดยการประมวลความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ทางสังคมที่สำคัญต่อวงการละคอนเวที และสังเคราะห์เป็นแนวโน้มและแนวทางการรับมือต่อความเปลี่ยนแปลง

จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของละคอนเวทีไทยแบ่งเป็น 2 ระดับใหญ่ คือ ปัจจัยระดับโลกและระดับประเทศไทย กล่าวคือ ละคอนไทยไม่เพียงแต่เปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับแนวโน้มการพลิกผันของโลกจากการถูกแทรกแซงโดยเทคโนโลยีและการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสเท่านั้น แต่ละคอนไทยยังมีแนวโน้มสวนกระแสโลกในด้านอายุเฉลี่ยผู้ชมด้วย ส่วนในระดับประเทศนั้น ละคอนไทยได้รับผลกระทบจาก การขาดเสถียรภาพทางการเมือง การถดถอยทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงวิถีทางสังคมทำให้ละคอนไทยขาดสมรรถนะในการแข่งขันกับกิจกรรมสันทนาการอื่น ภายใต้กรอบปัจจัยข้างต้นนำไปสู่แนวโน้มสำหรับละคอนเวทีไทย ดังนี้ การลดลงของพื้นที่และสถานที่การแสดง การเติบโตของกลุ่มผู้ชมรุ่นใหม่แบบกระจุกตัวในเมืองหลัก และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและเนื้อหาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมใหม่ เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นักการละคอนควรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการเพิ่มผลิตภาพและเพิ่มช่องทางการนำเสนอ จัดวางตำแหน่งทางการตลาดใหม่ให้สอดคล้องกับผู้ชมเป้าหมาย ร่วมมือกันเพื่อวางมาตรฐานวิชาชีพและสร้างพลังในการเข้าถึงแหล่งทุนและการต่อรอง ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้านการจัดการศิลปะเพื่อให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงใหม่อยู่เสมอ

References

เจตนา นาควัชระ. 2562. “วิชาการกับศิลปการแสดง”. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม), 51
ซีนารีโอ และ รัชดาลัย. 2 ธันวาคม 2556. เลื่อนรอบทำการแสดง ‘เลือดขัตติยา เดอะมิวสิคัล’. สืบค้นจาก https://cutt.ly/RncxKCW
ฐานเศรษฐกิจ. 15 กุมภาพันธ์ 2564. แม่ทัพใหม่“ซีเนริโอ" พลิกเกมสู้โควิด-19. สืบค้นจาก https://www.thansettakij.com/content/strategy/468762
ดังกมล ณ ป้อมเพชร. 2548. “สุนทรีย์มียี่ห้อ? : มองละครเวทีไทยร่วมสมัยในวัฒนธรรมบริโภค”. วารสารอักษรศาสตร์. ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม), 62;70.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง (พ.ศ. 2560-2564). 2560. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
ภัทรานิษฐ์ จิตสำรวย. 19 ตุลาคม 2560. ปิดปรับปรุง ‘สถาบันปรีดี พนมยงค์’ เมื่อสเปซของคนทำละครหดแคบลง. The Momentum. สืบค้นจาก https://themomentum.co/pridi-institute-and-theater-group/
มติชนออนไลน์. 21 พฤษภาคม 2564. เตือนหนี้ครัวเรือนไทยทำนิวไฮ 92% ระเบิดเวลาเศรษฐกิจไทย. มติชนออนไลน์. สื บค้นจาก https://www.matichon.co.th/economy/news_2733197
มุทิตา เชื้อชั่ง. 21 มกราคม 2558. ละครเวที ‘บางละเมิด’ การดิ้นรนของ ‘เสรีภาพ’. ประชาไท. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2015/01/57502
มูลนิะิละครไทย. 29 มีนาคม 2564. ผลกระทบ Covid-19 ที่มีต่อศิลปินละครเวทีร่วมสมัย. สืบค้นจาก https://cutt.ly/GnnmxZm
มูลนิธิละครไทย. 29 พฤษภาคม 2564. ผลสำรวจผู้เสพ-ผู้สร้างบอกอะไร? [เสวนาออนไลน์]. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=k8smN1R0jew&t=2872s
มูลนิธิละครไทย. 2564. รายงานผลสำรวจผู้เสพ-ผู้สร้าง ปี 2553. สืบค้นจาก https://www.thaitheatre.org/goers-makers-entries/63

ภาษาอังกฤษ
American for the arts. (2021, June 1). COVID-19 Pandemic Impact on The Arts. https://www.americansforthearts.org/node/103614
Barra, Michael. (2020, December 13). When Broadway comes back: 5 ways the pandemic will transform the live theater industry. Fortune. Retrieved from https://fortune.com/2020/12/13/covid-live-theater-broadway-west-end-reopening-innovation/
Bernstein, J. S. (2007). Arts marketing insights: The dynamics of building and retaining performing arts audiences. San Francisco: Jossey-Bass.
___________ . (2014). Standing room only: marketing insights for engaging performing arts audiences. New York: Palgrave Macmillan
Hee, Um Hyun. (2020). South Korea: Out of Crisis Arises Opportunity. The IATC journal. สืบค้นจาก https://www.critical-stages.org/21/south-korea-out-of-crisis-arises-opportunity/
Kaiser, Michael M. (2015). Curtain?: the future of the arts in America. Waltham, Massachusetts: Brandeis University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27