This is an outdated version published on 2023-09-08. Read the most recent version.

การออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านจากภูมิปัญญาช่างพื้นบ้าน ด้วยแนวคิดไทยนวัตศิลป์ กรณีศึกษา ช่างตอกกระดาษ

ผู้แต่ง

  • คณิน ไพรวันรัตน์ Faculty of Fine and Applied Arts, Suan Sunandha Rajabhat University

คำสำคัญ:

สกุลช่างเพชรบุรี, ภูมิปัญญา, แนวคิดไทยนวัตศิลป์, ช่างตอก, การออกแบบของตกแต่งบ้าน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์วิเคราะห์รูปแบบ ภูมิปัญญา งานตอกกระดาษ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้าน และเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านจากภูมิปัญญาช่างตอก ด้วยแนวคิดไทยนวัตศิลป์ โดยศึกษาจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากกลุ่มช่างสกุลช่างเพชรบุรี ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิปัญญาและวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี รวมไปถึงฐานข้อมูลออนไลน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับข้อมูลด้านพื้นที่ วิเคราะห์โดยใช้กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ แนวคิดไทยนวัตศิลป์ แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์และข้อมูลด้านพื้นที่เพื่ออธิบายผลการศึกษา

ผลการศึกษาพบว่า สกุลช่างเพชรบุรี เป็นส่วนหนึ่งของช่างสิบหมู่ ผู้วิจัยได้เลือกช่างตอก ซึ่งมีกระบวนการและมีวิธีที่สำคัญปัจจุบันเหลือเพียงคนเดียว นำมาวิเคราะห์โดยใช้กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ตามขั้นตอน โดยนำมาผสานเข้ากับนวัตศิลป์ ในด้านการออกแบบอาร์ตเวิร์ค (art work)กระดาษปรุโดยประยุกต์ใช้เทคนิค Modular ลวดลายประดับพื้นฐานสำหรับชิ้นงานศิลปะได้รับแรงบันดาลใจจากลวดลายประดับบนเสาศาลาของวัดใหญ่สุวรรณารามจังหวัดเพชรบุรี รูปแบบดังกล่าวใช้เทคนิคการเจาะกระดาษหรือตอกกระดาษ จากนั้นตอกกระดาษให้เป็นรูแล้วจึงนำมาสานขัดกัน ใช้ในการสร้างลวดลายตกแต่งสำหรับการนำกระดาษมาขึ้นรูปประดิษฐ์เป็นโคมไฟซึ่งใช้เป็นของตกแต่งบ้านตามความต้องการและศักยภาพของชุมชนและผู้ผลิต

References

เจษฎา สายสุข. (2558). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์กระดาษเหลือใช้เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของตกแต่ง. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 5(1), 169-182.

ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ. (2562). เปิดกลยุทธ์ ICONCRAFT at ICONSIAM ยกระดับงานฝีมือจากคนตัวเล็กสู่ตลาดโลก. https://www.tcdc.or.th/th/all/service/resource-center/article/31984

รัตนภรณ์ แซ่ลี้, โชฒกามาศ พลศรี, และศุภกัญญา เกษมสุข. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้สูงอายุ ชุมชนคำครตา อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร เพื่อเพิ่มความสามารถทางเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี, 7(2), 57-73.

วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร (2548). หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : idesign.

วิรุณ ตั้งเจริญ (2526). การออกแบบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิฌวลอาร์ต.

ศิริอร หริ่มปราณี. (2553). สมการที่ว่าด้วย “ปัญญา” กับ “การผลิต”. คิด, 2(2), 11-20.

สุธิดา ดงแสนสุข และชูศักดิ์ เครือสุวรรณ. (2560). การออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านจากเศษวัสดุไม้เพื่อสร้างรายได้ให้กลุ่มผู้สูงอายุ จังหวัดสุโขทัย. คณะวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ.

อภิสิทธิ ไล่สัตรูไกล. (2553). บทบรรณาธิการ. คิด, 2(2), 5.

Booz, Allen, and Hamilton. (1982). New product management for the 1980s. New York : Booz, Allen and Hamilton Inc. https://www.tcdc.or.th/th/all/service/resource-center/article/31984.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28 — Updated on 2023-09-08

Versions

ฉบับ

บท

บทความวิจัยสร้างสรรค์