เตาเผาเจิ้น มรดกวัฒนธรรมมีชีวิต

Zhen Kiln: the Living Cultural Heritage

ผู้แต่ง

  • วีระจักร์ สุเอียนทรเมธี -

บทคัดย่อ

เตาเผาเจิ้น เป็นเตาเผาแบบมีประทุนที่ใช้ฟืนไม้สนเป็นเชื้อเพลิงแบบประเพณีของจีนที่อยู่ภายในอาคารเรือนเตา โครงสร้างเตาคล้ายไข่ผ่าครึ่งคว่ำลง มีผนังกำแพงเตา 2 ชั้น คั่นกลางด้วยช่องว่างอากาศ ภายในลานพื้นห้องเผาเพิ่มความลาดชันจากด้านหน้าไปด้านท้ายเตา เพื่อให้มวลอากาศร้อนไหลไปตามแนวขวางจากด้านหน้าเตาไปสู่ด้านท้ายเตาแล้วออกไปทางปล่องเตา เตาเผาเจิ้นเป็นเตาเผาด้วยฟืนที่มีวิทยาการขั้นสูง ทำให้สามารถควบคุมอุณหภูมิและบรรยากาศการเผาได้ดี จึงทำให้จิ่งเต๋อเจิ้นเป็นแหล่งผลิตงานเครื่องกระเบื้องที่มีคุณภาพสูงมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง

ปัจจุบันเตาเผาเจิ้นเป็นแหล่งมรดกวัฒนธรรมมีชีวิตทรงคุณค่ายิ่งของจีน นอกจากเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้แล้ว ยังกอปรไปด้วยระบบจัดการมรดกวัฒนธรรมที่ดี ภายใต้องค์ประกอบรายล้อมของนิเวศวัฒนธรรมและการจัดการมรดกวัฒนธรรมแบบยั่งยืน ก่อให้เกิดคุณค่าครอบคลุมรอบด้านในบริบทร่วมวิถี ทำให้เตาเผาเจิ้นมรดกวัฒนธรรมมีชีวิตนี้ ประดุจเป็นทรัพยากรและทรัพย์สินวัฒนธรรมของชาติที่สร้างมูลค่ายิ่ง แบบปฏิบัติที่ดีนี้สามารถนำมาปรับประยุกต์ในการจัดการมรดกวัฒนธรรมเครื่องเคลือบดินเผามีชีวิตในประเทศไทยได้

References

วีระจักร์ สุเอียนทรเมธี. ชิตวร วราศิริพงศ์และคณะ. (2557). การพัฒนาและการจัดการมรดกวัฒนธรรม กรณีอุตสาหกรรม เครื่องกระเบื้องที่จิ่งเต๋อเจิ้น. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2550). การจัดการทรัพยากรทางโบราณคดีในงานพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

ICOMOS. The NARA Document on Authenticity (1994). Digital PDF Document.

Rice, Prudence M. (1997).The Prehistory & History of Ceramic Kilns. USA : The American Ceramic Society.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ