ปัจจัยที่ส่งเสริมการสื่อสารอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในบริบทการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์-วัฒนธรรม กรณีศึกษา เส้นทางรถไฟสายมรณะ จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • สุกานดา ถิ่นฐาน สาขาวิชาศิลปะการออกแบบเชิงวัฒนธรรม คณะมัณฑศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, เส้นทางรถไฟสายมรณะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในปัจจุบัน 2) ศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มที่มีความสนใจพิเศษที่เดินทางมาท่องเที่ยวเส้นทางรถไฟสายมรณะ 3) เเนวทางการพัฒนาการออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์-วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ในเส้นทางรถไฟสายมรณะ จังหวัดกาญจนบุรี การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามสำรวจพฤติกรรมนักท่องเที่ยวและปัจจัยรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวในปัจจุบัน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่ จำนวน 400 คน ผู้วิจัยเลือกวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย t-test และ One-way ANOVA (f-test) ผู้วิจัยพบว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอยู่ในช่วงอายุ 21 - 30 ปี เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เคยมาจังหวัดกาญจนบุรีแล้วมากกว่า 1 ครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์ในการเดินทางมาเพื่อพักผ่อนและท่องเที่ยวเดินทางมากับครอบครัวโดยรถยนต์ส่วนตัวและเลือกที่จะมาพักค้างคืน งานวิจัยพบว่า (1) พฤติกรรมด้านความสนใจในแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมประเภทกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติมากที่สุด (2) ในประเด็นการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และพหุวัฒนธรรมในพื้นที่เส้นทางรถไฟสายมรณะ พบว่ารับรู้ในระดับมาก (3) ความคิดเห็นในเรื่องผลกระทบสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ด้านรูปแบบการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไปพบว่าแสดงความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก (4) แนวทางการพัฒนากิจกรรมการ ท่องเที่ยวประวัติศาสตร์-วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ พบว่านักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่ให้ความ สำคัญอยู่ในระดับมาก (5) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว พบว่านักท่องเที่ยวที่มีปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมในกิจกรรมการท่องเที่ยวแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

References

จุฑาพรรธ์ ผดุงชีวิต. (2551) วัฒนธรรม การสื่อสารและอัตลักษณ์ = Culture, communication and identity. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์. (2548). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาทุนทางสังคมในฐานะปัจจัยการผลิต ของเศรษฐกิจชุมชน. กรุงเทพมหานคร. รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2541). การผสมผสานทางชาติพันธุ์และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม: รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

Adhikary, M. (1995). Management of Ecotourism. Bangkok: Srinakharinwirot University.

Ministry of Tourism & Sports. (2021). Tourism Economic Review (รายงานสภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว). Retrieved August 15, 2021, from https://www.mots.go.th/download/article/article_20210521170904.pdf?fbclid=IwAR0_4l_k1ploNOdj-N6UNPMg4lnO96Q9UzZ2htsPU_QimPW-bY7HloKYz4k

Ministry of Tourism & Sports. (2020). Tourism Economic Review (รายงานสภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว). Retrieved August 15, 2021, from https://www.mots.go.th/download/TourismEconomicReport/3-1TourismEconomicIssue3(April-June63).pdf

Padungchewit, Chutapan. (2008). Culture, communication and identity (วัฒนธรรม การสื่อสาร อัตลักษณ์). ( 2nd ed.). Bangkok : Chulalongkorn University Press (CUPRINT).

Richards, Greg. (2018). Panorama of Creative Tourism around the World. Retrieved August 14, 2021, from https://www.sac.or.th/databases/ sac_research/research-item-search.php?ob_id=237

Richards, Greg., Wisansing, Juthamas., Paschinger, Elena., & DASTA Team. (2018). Creating Creative Tourism Toolkit (คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์). Retrieved August 15, 2021, from https://issuu.com/trumpet255 /docs/dasta_ct-toolkit_eng

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ