วัฒนธรรมการแต่งกายสตรีมุสลิม : มุมมองอัตลักษณ์การดำรงอยู่ของความศรัทธาและความงามในบริบทปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ สำเภา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การแต่งกาย, ความศรัทธา, ความงาม, สตรีมุสลิม, อัตลักษณ์มุสลิม

บทคัดย่อ

บทความนี้เรียบเรียงจากการได้ศึกษาวัฒนธรรมอิสลาม อัตลักษณ์ของการดำรงอยู่ของความศรัทธา อัตลักษณ์การแต่งกายสตรีมุสลิม ความสัมพันธ์ของการแต่งกายกับหลักศาสนาอิสลาม วัฒนธรรมการแต่งกายของสตรีมุสลิมทั้งในอดีตและปัจจุบันซึ่งเป็นสากล การแต่งกายตามหลักคำสอนและการตีความการแต่งกายสตรีมุสลิม ความงามในบริบทมุสลิม อัตลักษณ์มุสลิมในกระแสการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมมีผลกระทบต่อวัฒนธรรมการแต่งกายของสตรีมุสลิมทัศนะของสตรีมุสลิมชาวไทยที่มีทัศนะความเห็นแตกต่างกันออกไปในเรื่องของศาสนบัญญัติ เรื่องการแต่งกายและรวมถึงการใช้ชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ อย่างไรก็ตามสตรีมุสลิมมีการแสดงออกของอัตลักษณ์การดำรงอยู่ของความศรัทธาทั้งในแง่การดำเนินชีวิตและในแง่วัฒนธรรมการแต่งกาย ความเชื่อ ความศรัทธา คำสอนต่าง ๆ ของศาสนาที่ยังคงเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติของชาวมุสลิมที่สืบทอดต่อกันมาเพื่อให้สตรีมุสลิมมีความปลอดภัยจากสังคม การแต่งกายตามหลักศรัทธายังคงมีส่วนสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในศาสนาอิสลามเป็นอาภรณ์แห่งความยำเกรง เป็นความสุภาพและลุ่มลึกผู้สวมใส่และผู้พบเห็น ปัจจุบันการแต่งกายสตรีมุสลิมมีการปรั บให้เหมาะสมกับกิจกรรมในการดำเนินชีวิตของตนมากขึ้นโดยยึดหลักแนวทางการปฏิบัติที่ยังคงความเป็นอัตลักษณ์สตรีมุสลิมไว้ได้อย่างชัดเจน  จากการศึกษาจากเอกสารทางวิชาการพบว่าแม้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมจะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนการแต่งกายของสตรีมุสลิมในปัจจุบันให้มีความทันสมัยและเหมาะสมต่อการดำเนินชีวิตของตนมากขึ้นแต่สตรีมุสลิมก็ยังคงตระหนักและเห็นคุณค่าของความศรัทธาต่อการดำรงอยู่ของอัตลักษณ์การแต่งกายและความสำคัญในหลักคำสอนอยู่เสมอจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง

References

กองสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจสภาวะทางสังคม วัฒนธรรม และ สุขภาพจิต พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ : กองสถิตพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

ธนภัทร รุ่งธนาภิรมย์. (2560). ทฤษฎีความงาม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แอท โฟร์พริ้นท์.

ศูนย์กษัตริย์ฟาฮัด เพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน . (2564).พระมหาคัมภีร์อัลกรุอานพร้อมความหมาย ภาษาไทย. สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ประเทศไทย.

สุชาติ เศรษฐมาลินี และ คณะ. (2557). คนหนุ่มสาวมุสลิมกับโลกสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : คณะ ทำงานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสาวนีย์ จิตต์หมวด. (2531). กลุ่มชาติพันธุ์ : ชาวไทยมุสลิม. กรุงเทพฯ : กองทุนสง่ารุจิระอัมพร.

อัมพร หมาดเด็น (2557). พลวัตสังคมสังเวียน: ขบวนการฟื้นฟูสลามของผู้หญิงมุสลิมในสังคมไทย. คนหนุ่มสาวมุสลิมกับโลกสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : คณะทำงานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฮาฟิส สาและ (2557). โลกาภิวัฒน์กับการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์มุสลิม : พลวัตของกระแสอิสลาม ‘บริสุทธิ์’ ในสังคมมุสลิมไทย. คนหนุ่มสาวมุสลิมกับโลกสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : คณะทำงานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฮัจย์ สุฮัยรี อิลยาส. (มปป). สตรีมุสลิมกับอาภรณ์. กรุงเทพฯ : M.K.IMAGE CO.,LTD

คมกฤษ กล่อมเกลี้ยง.(2555). แฟชั่นมุสลิมชายแดนใต้ เคร่งครัด สวยงาม และตามเทรนด์. วารสารรูสมิแล. 33(1) มกราคม - เมษายน, 35-41. สืบค้น 20 กันยายน 2565, จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rusamelae/article/view/63084/51840

จุรีรัตน์ บัวแก้ว. (2558). ผืนผ้าโบราณของจังหวัดชายแดนภาคใต้: วารสารอาศมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์. 15(1) ตุลาคม 2557-มีนาคม. สืบค้น 12 พฤศจิกายน 2565, จาก https:// so06.tci-thaijo.org/index.php/cjwu/article/view/95355/74486

ณัฐชนา นวลยัง. (2562). วิวัฒนาการวัฒนธรรมการแต่งกายจากอดีตสู่ปัจจุบันของภาคใต้. สืบค้น 12 พฤศจิกายน 2565, จาก http://human.skru.ac.th/husoconference/ conf/O2.pdf

นริศรา สื่อไพศาล. (2558). ผู้หญิงมุสลิมในยุคโลกาภิวัฒน์: ตีความและต่อรอง, ศรัทธาและความเปลี่ยนแปลง. สืบค้น 22 กันยายน 2565, จาก https://prachatai.com/ journal/2015/12/63168

พิเชฐ แสงทอง. (2555). ประวัติศาสตร์สังคมของผ้าคลุม : มุมมองจากตะวันออกกลาง. วารสารรูสมิแล. 33(1) มกราคม - เมษายน, 35-41. สืบค้น 20 กันยายน 2565, จาก https:// so05.tci-thaijo.org/index.php/rusamelae/article/view/63080/51836

รวิวรรณ พุฒซ้อน. (2563). “บานง” เครื่องแต่งกายของสตรีมุสลิมชายแดนใต้. สืบค้น 12 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.finearts.go.th/promotion/view/22582

มาวัดดะห์ จะปะกียา. (2561). ผู้หญิงกับการฝ่าฝืนเรื่องการแต่งกาย. สืบค้น 28 กันยายน 2565, จาก https://islamhouse.muslimthaipost.com/article/20859

วราภรณ์ ทนงศักดิ์. (2561). ภูมิทัศน์วัฒนธรรมปูยูจากอิทธิพลของศาสนาอิสลามและความเป็นพื้นที่ชายแดน : การแต่งกายนุ่งห่มตามวิถีมุสลิม. สืบค้น 20 กันยายน 2565, จาก http://www2.huso.tsu.ac.th/puyu2020/featured_11.html

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. วัฒนธรรม. (2565). สืบค้น 26 สิงหาคม 2565, จาก https:// th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8 %98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1

อนุสรณ์ นินวน. (2562). ความงามของอาภรณ์มุสลิมชายแดนใต้ในร่มเงาธารธรรมแห่งศรัทธา. สืบค้น 20 กันยายน 2565, จาก https://women.trueid.net/detail/zWOl3EY2LvrD

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์กรมหาชน). (2560). ผ้า : หัตถกรรมในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมมุสลิมชายแดนใต้. สืบค้น 28 กันยายน 2565, จาก https://www.sacit. or.th/uploads/items/attachments/825f9cd5f0390bc77c1fed3c94885c87/1a 1f7bb4cb5c543374f52c40ff5df928.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ