12 เรื่องโนราโรงครู: ที่มาของวรรณกรรมและความนิยมในการแสดงโนรา

ผู้แต่ง

  • ชาญณรงค์ คงฉิม อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

12 เรื่องโนรา, โนราโรงครู, การแสดงโนรา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษา 12 เรื่องโนราโรงครู ในด้านที่มาของตัวบทและความนิยมในการแสดง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิหลังของวรรณกรรมที่ใช้ในการแสดง 12 เรื่องโนราโรงครู และ 2) เพื่อศึกษาลักษณะการแสดงของ 12 เรื่องโนราโรงครู เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์และสังเกตการณ์การแสดง จากคณะโนราโรงครู 5 คณะ 5 จังหวัดภาคใต้ โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับการดัดแปลงวรรณกรรมเป็นบทละคร และแนวคิดเกี่ยวกับสื่อพื้นบ้านในการศึกษาวิเคราะห์

            ผลการศึกษาพบว่า 1) ศึกษาภูมิหลังของวรรณกรรม 12 เรื่องโนราโรงครู ได้ถูกดัดแปลงมาจากวรรณกรรมท้องถิ่น ปัญญาสชาดก และชาดกในนิบาต โดยนักแสดงหยิบยกเพียงตอนสั้น ๆ มาแสดง ประกอบด้วย พระสุธน-มโนราห์ พระรถ-เมรี ลักษณวงศ์ โคบุตร สังข์ทอง ดาราวงศ์ พระอภัยมณี จันทโครพ สินนุราช สังข์ศิลป์ชัย มณีพิชัย และเรื่องไกรทอง และ 2) ลักษณะการแสดงของ 12 เรื่องโนราโรงครู นิยมใช้ตัวละคร 2 ตัว คือ โนราใหญ่ รับบทเป็นตัวละครหลักของเรื่อง และนายพรานรับบทเป็นตัวละครรอง ในด้านการแสดงมีการเท้าความก่อนนำเข้าสู่การแสดงเรื่องนั้น ๆ การขับร้องบทสั้น ๆ กับการเจรจาสลับกันไป และสอดแทรกมุกตลกขณะการแสดง

References

เอกสารอ้างอิง

จรัญ ทองวิไล. (2547). การศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมภาคใต้เรื่องสินนุราช [วิทยานิพนธ์

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].

ณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์ วิทยา บุษบงค์ และชวนากร จันนาเวช. (2557). ภาพสะท้อนทางสังคมจาก

องค์ประกอบเชิงซ้อนในวรรณกรรมกรณีหนังสือ “สังข์ศิลป์ชัย” ฉบับภาคใต้.

แพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์. 1(2), 9-31.

นันทพร พวงแก้ว. (2527). การศึกษาเชิงเปรียบเทียบเรื่องพระรถ-เมรีฉบับต่าง ๆ [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร

มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

นิยะดา เหล่าสุนทร.(2538). ปัญญาสชาดก : ประวัติและความสําคัญที่มีต่อวรรณกรรมร้อยกรองของไทย.

กรุงเทพฯ : แม่คําผาง.

ธันธวัช ปิ่นทอง, จินตนา สายทองคำ, อัควิทย์ เรืองรอง. (2562). ความแพร่หลาย และลักษณะเด่น

ของละครนอกแบบหลวง เรื่องสังข์ทอง ตอน “เลือกคู่-หาปลา” ของกรมศิลปากร.

มนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 8(2), 1-22.

พชญ อัคพราหมณ์. (2561). สังข์ศิลป์ชัย: การใช้วรรณกรรมพื้นบ้าน ในกระบวนการสร้างสรรค์

งานละครฐานชุมชน. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 10(2), 124-142.

พิทยา บุษรารัตน์. (2535). โนราโรงครู ตำบทท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง [วิทยานิพนธ์

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

วชิรญาณ: ออนไลน์ สืบค้น 10 เมษายน 2565 จาก https://vajirayana.org/

วินัย ภู่ระหงษ์. (2520). พระสุธน-นางมโนห์รา : การศึกษาเปรียบเทียบที่มาและความสัมพันธ์ ระหว่างฉบับ ต่าง ๆ. [วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

วินัย สุกใส. (2546). วิเคราะห์ภาพสะท้อนเศรษฐกิจสังคมชุมชนลุ่มทะเลสาบสงขลาที่ปรากฏใน

วรรณกรรมท้องถิ่นประเภทร้อยกรองยุคการพิมพ์. (พ.ศ. 2472-2503), [วิทยานิพนธ์การศึกษา

มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ].

สุกัญญา จันทนา. (2538). การศึกษาวิเคราะห์ผู้แต่งกลอนบทละครเรื่องดาราวงศ์. [วิทยานิพนธ์

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].

สุภัค มหาวรากร. (2547). การแปรรูปวรรณกรรมเรื่องสังข์ทอง. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ:

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภา พูนผล. (2551). การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องลักษณวงศ์ บัวระวงไกลสอน

ท้าวสุริวงศ์และพระลัคนาวงศ์. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์].

เสาวณิต วิงวอน. (2558). นาฏยวรรณคดีสโมสร. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30