การออกแบบอัตลักษณ์ชุมชนผ่านผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก และสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยว เทศบาลตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

Community Identity Design through Souvenir Products and Public Relations Media for Tourism: A Case Study of Bang Muang Subdistrict Municipality, Bang Yai District, Nonthaburi Province

ผู้แต่ง

  • ทิพย์ลักษณ์ โกมลวณิช สาขาวิชาการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์/ Faculty of Fine and Applied Arts, Program in Creative Design, Dhurakij Pundit University
  • กมลศิริ วงศ์หมึก คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ปรวรรณ ดวงรัตน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ณมณ ขันธชวะนะ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ธนิต จึงดำรงกิจ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก , อัตลักษณ์ , ชุมชนตำบลบางม่วง , เลขนศิลป์ , ระบบกริด

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นภายในชุมชนตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี และ 3) เพื่อศึกษาผลตอบรับของนักท่องเที่ยวต่อการใช้อัตลักษณ์ในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวชุมชนตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาด้านประวัติความเป็นมา ภูมิปัญญา อัตลักษณ์ และสถาปัตยกรรม มีการสำรวจ  สังเกตการณ์ สัมภาษณ์ทั่วไปและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ ใช้การศึกษาแบบมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนตำบลบางม่วงและนักศึกษาทุกหลักสูตรของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

            ผลการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ที่สื่อสารถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี แบ่งเป็น 2 ด้าน โดยด้านที่ 1 สิ่งที่ทำให้นึกถึงชุมชนตำบลบางม่วง คือ บ้านริมน้ำ วัด และวิถีชีวิตริมน้ำ ด้านที่ 2 บุคลิกภาพการสื่อสารสำหรับตำบลบางม่วง คือ ความเป็นมิตรและความเป็นชนบทท้องถิ่น มองโลกในแง่ดีมีความสุขสดชื่น ระลึกความหลัง สำหรับแนวทางการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกและเลขนศิลป์สำหรับประยุกต์ใช้บนผลิตภัณฑ์ ได้แก่  1) การออกแบบตราสัญลักษณ์ สำหรับใช้บนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของเทศบาลตำบล บางม่วง 2) ผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึก จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ สินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์เสื้อยืด สินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์กระเป๋าผ้า นาฬิกาแขวนผนัง ปฏิทินไม้ตั้งโต๊ะ พวงกุญแจ และแม่เหล็กติดตู้เย็น และคลิปประชาสัมพันธ์ชุมชน 4 คลิป ได้แก่ คลิปแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านด้านอาหารคาว ปราชญ์ชาวบ้านด้านขนมหวาน ปราชญ์ชาวบ้านด้านสุนทรียศิลป์ (เรือไม้จำลอง)

สิ่งสำคัญที่ค้นพบจากงานวิจัยนี้ คือ การสร้างภาพจำใหม่ด้วยการนำภาพที่ค้นพบจากอัตลักษณ์ชุมชนผ่านกระบวนการออกแบบด้วยระบบกริด และนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบบนผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก การนำระบบกริดมาประยุกต์ใช้กับอัตลักษณ์ชุมชน ช่วยเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถสร้างสรรค์และเข้าถึงเครื่องมือและวิธีการที่เรียบง่ายนี้ได้อย่างไม่ซับซ้อน โดยกระบวนการออกแบบและต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้สามารถนำมาพัฒนาเป็นสินค้าสร้างรายได้ ชุมชนสามารถใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้ไปสร้างงานออกแบบของตนเอง ส่งเสริมให้อัตลักษณ์ของความเป็นชุมชนตำบลบางม่วงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

คำสำคัญ ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก  อัตลักษณ์  ชุมชนตำบลบางม่วง  เลขนศิลป์  ระบบกริด

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.). (2545). คู่มือท่องเที่ยวนนทบุรี. [เอกสารแผ่นพับเผยแพร่].

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.). (2560). สำนักงานภาคกลาง เขต 6. นนทบุรี. [เอกสารแผ่นพับเผยแพร่].

จังหวัดนนทบุรี. (2563). ประเภทที่ 9 ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัด.http://wanich.ac.th/download/datacollege/2563/9%20ข้อมูลพื้นฐานของ จังหวัด.pdf

ชลิดา รัชตะพงศ์ธร. (2563). การออกแบบเลขนศิลป์บ้านช่างทองโบราณ 100 ปี ริมคลองบางราวนก อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี [งานวิจัย ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

ชลิดา รัชตะพงศ์ธร. (2565). การออกแบบเลขนศิลป์บ้านช่างทองโบราณ 100 ปี ริมคลองบางราวนก อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยราชภัฎพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(1), 197-218.

เทศบาลตำบลบางม่วง อําเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. (2562). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ. 2561 – 2565 [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์].

เทศบาลตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. (2563). ประวัติความเป็นมาตำบลบางม่วง. https://bangmoung.go.th/public/list/data/index/menu/1142

ธวัช ราษฎร์โยธา. (2565). การออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน OTOP นวัตวิถี. วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2, 92-115. https://so07.tci-thaijo.org/index.php/LiberalJ/article/view/2289/1553

ปาพจน์ หนุนภักดี. (2553). Graphic Design Principle. ไอดีซีฯ.

ศิริประภา ประภากรเกียรติ. (2562). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว โดยใช้แนวคิดชุมชนเป็นฐาน [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. http://www.thai-explore.net › submitter › file_doc

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2559). ทฤษฏีการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์ระเบียงทอง.

Burke, P. J., & Reitzes, D. C. (1991). An Identity Theory Approach to Commitment. Social Psychology Quarterly, 54(3), 239–251. https://doi.org/10.2307/2786653

Stets, Jan & Burke, Peter. (2014). The Development of Identity Theory. https://doi.org/10.1108/S0882-6145_2014_0000031002.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัยสร้างสรรค์