การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อนถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ........ (หรือหากมีกรุณาอธิบายในข้อความส่งถึงบรรณาธิการ).
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word และมีรูปแบบตามที่วารสารกำหนดไว้
  • ถ้ามีการอ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต ให้ระบุ URLs สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ตให้ถูกต้อง
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ใช้ฟอร์น TH Sarabun PSK ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16 pt (ในภาษาไทย และภาษาอังกฤษ) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งตามรูปแบบให้เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนดของวารสารฯ ทั้งในแง่ของรูปแบบและการอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำผู้แต่ง

คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง

วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ Template  และรูปแบบการอ้างอิงเป็น APA 7 ตั้งแต่วารสารฉบับ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (1 มกราคม 2567) เป็นต้นไป

  1. การส่งบทความ
    • การเตรียมต้นฉบับ โดยผู้เขียนต้องใช้ Template  และรูปแบบการอ้างอิงตามที่วารสารกำหนด

                     ดาวน์โหลด Template บทความวิจัย ภาษาไทย Word หรือ PDF      English  Word หรือ PDF 
                     ดาวน์โหลด Template บทความวิชาการ Word หรือ PDF                 English  Word หรือ PDF
                     ใบนำส่งบทความ ดาวน์โหลด Word หรือ PDF
                     คู่มือการเขียนเอกสารอ้างอิง ดาวน์โหลด
(หากดาวน์โหลดไฟล์ word ไม่ได้ ให้คลิกขวาที่ข้อความแล้วเลือก "Open link in new window" และ เลือกลูกศร Reload this page ทางมุมซ้ายบนเพื่อดาวน์โหลดไฟล์) 

              ผู้สนใจส่งต้นฉบับ บทความต้องมีความยาว 15 - 20 หน้ากระดาษ A4 การตั้งค่าหน้ากระดาษขอบ 2.54 ซม. ทั้ง 4 ด้าน พิมพ์ 1 คอลัมน์  พิมพ์ด้วยตัวอักษร “TH SarabunPSK” มีรายละเอียดดังนี้

          2.1.1   ชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้พิมพ์ตัวหนา ขนาด 18 พอยต์

          2.1.2  บทคัดย่อ (Abstract) กำหนดให้คำว่า “บทคัดย่อ” และ “Abstract” ให้พิมพ็ตัวหนา ขนาด 16 พอยต์ ส่วนการพิมพ์เนื้อหาบทคัดย่อให้พิมพ์คอลัมน์เดียว มีภาษาไทย 1 ย่อหน้าไม่เกิน 300 คำ  ภาษาอังกฤษ 1 ย่อหน้า ไม่เกิน 250 คำ โดยเนื้อหาในบทคัดย่อใช้ตัวอักษรขนาด 16 พอยต์

          2.1.3  หัวข้อหลักต่างๆ และหัวข้อย่อยระกับที่ 1 ให้พิมพ์ตัวหนา ขนาด 16 พอยต์ ทั้งฉบับส่วนหัวข้อย่อยระดับ 2 เป็นต้นไป ให้พิมพ์ตัวธรรมดา ขนาด 16 พอยต์ทั้งฉบับ

          2.1.4  เนื้อหาให้ย่อหน้า 1.25 ซม. ใช้ตัวธรรมดา ขนาด 16 พอยต์ และพิมพ์ชิดขอบทั้งสองด้าน ถ้ามีลำดับข้อย่อย ให้ย่อหน้าแรกที่ 0.50 ใช้อักษรตัวหนาในระดับที่ 1 ส่วนข้อย่อยระดับต่อไปใช้อักษรตัวปกติ

          2.1.5  การลำดับหัวข้อของเนื้อเรื่องให้ใช้เลขกำกับ โดยให้บทนำเป็นหมายเลข 1 และหากมีหัวข้อย่อยให้ใช้ระบบเลขทศนิยมกำกับหัวข้อย่อย 2 ระดับ ส่วนตัวเลขลำดับถัดไป (ถ้ามี) ใช้ตัวเลขตามด้วยวงเล็บปิด เช่น 1), 1.1) เป็นต้น

  • การเรียงลำดับเนื้อหา

          การเรียงลำดับเนื้อหาบทความในวารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร ให้ผู้สนใจเรียงลำดับเนื้อหาตามหัวข้อหลักดังนี้

2.2.1  ชื่อเรื่อง (Title) ควรครอบคลุมเนื้อหาสำคัญ กระชับ ชัดเจน ทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้อักษรตัวหนา ขนาด 18 โดยพิมพ์ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ

2.2.2  ชื่อผู้เขียน ให้ระบุชื่อเต็ม-นามสกุลเต็ม ของผู้เขียนให้ครบถ้วนทุกคน ถ้ามีมากกว่า 1 คน ให้พิมพ์คำว่า “และ” ไว้ที่หน้าคนสุดท้าย โดยให้ใส่ตัวเลขอารบิคกำกับต่อท้ายนามสกุลเพื่อแสดงต้นสังกัดของผู้เขียนเฉพาะภาษาไทย โดยทำเป็นตัวยก และใส่เครื่องหมายดอกจัน “*” กำกับท้ายตัวเลขสำหรับผู้ประสานงาน ใช้ตัวอักษรตัวธรรมดา ขนาด 16 พอยต์ โดยพิมพ์ไว้ตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ

2.2.3  ที่อยู่หรือหน่วยงาน ให้พิมพ์ชื่อหน่วยงานหรือสถาบันในสังกัดของผู้เขียนทุกคน โดยเรียงตามหมายเลข ไว้ท้ายกระดาษของบทคัดย่อ และสำหรับผู้ที่ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับผู้ร่วมวิจัย (Corresponding Author) ให้ใส่ e-mail ที่ติดต่อได้ โดยระบุ * ท้ายชื่อผู้ประสานงาน และระบุ *Corresponding author email: ให้ใช้ขนาดอักษรตัวธรรมดา ขนาด 14 พอยต์ โดยพิมพ์ไว้กึ่งกลางกระดาษ

2.2.4  บทคัดย่อ (Abstract) มีทั้งบทความวิชาการและบทความวิจัย ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยบทความภาษาไทยให้นำบทคัดย่อภาษาไทยขึ้นก่อนภาษาอังกฤษ ส่วนบทความภาษาอังกฤษให้นำบทคัดย่อภาษาอังกฤษข้นก่อนภาษาไทย และทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษต้องมีเนื้อหาตรงกัน โดยให้พิมพ์คอลัมน์เดียว ย่อหน้า 1.25 ซม. เนื้อหาในบทคัดย่อควรระบุวัตถุประสงค์ ระเบียบวิธีวิจัย และสรุปผลการวิจัยโดยย่อ หัวข้อบทคัดย่อให้ใช้อักษรตัวหนา ขนาด 16 พอยต์ โดยพิมพ์ไว้ตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ และเนื้อหาให้ใช้อักษรตัวธรรมดา ขนาด 16 พอยต์ พิมพ์ชิดขอบทั้งสองด้าน โดยบทคัดย่อภาษาไทยมีความยาวไม่เกิน 300 คำ และบทคัดย่อภาษาอังกฤษมีความยาวไม่เกิน 250 คำ

2.2.5  คำสำคัญ (Keyword) ให้พิมพ์ “คำสำคัญ:” เป็นภาษาไทย โดยใช้อักษรตัวหนา ขนาด 16 พอยต์ อยู่ใต้บทคัดย่อ ให้เว้นระยะห่าง 1 บรรทัด ขนาด 6 พอยต์ และ “Keywords:” ภาษาอังกฤษ โดยใช้อักษรตัวหนา อยู่ใต้ Abstract ให้เว้นระยะห่าง 1 บรรทัด ขนาด 6 พอยต์ ส่วนเนื้อหาให้ใช้อักษรตัวธรรมดา โดยคำสำคัญไม่เกิน 5 คำ

2.2.6  เนื้อหา (Text) ประกอบด้วยบทความ 2 ประเภท ได้แก่

      1)  บทความวิจัย ประกอบด้วย

         2.1)  บทนำ (Introduction) ประกอบด้วยหัวข้อย่อย 1) ที่มาและความสำคัญของปัญหา 2) วัตถุประสงค์ 3) สมมติฐาน (ถ้ามี) 4) กรอบแนวคิดการวิจัย (ถ้ามี)

         2.2) การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) ที่เกี่ยวข้อง 

         2.3) ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) บอกเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และวิธีการวิจัย (Materials and Methods) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย และการดำเนินการที่กระชับและชัดเจน

         2.4) ผลการวิจัย (Research Results) บอกผลที่พบอย่างสมบูรณ์ มีรายละเอียดครบถ้วน อาจมีแผนภูมิ รูปภาพ หรือตารางประกอบคำอธิบาย

         2.5) สรุปผลและอภิปรายผล (Conclusion and Discussion) อาจเขียนรวมกับผลการวิจัยได้ เป็นการประเมิน การตีความ และการวิเคราะห์ในแง่มุมต่างๆ ควรมีการอ้างหลักการ แนวคิด หรือทฤษฎีมาสนับสนุนหรือหักล้างอย่างเป็นเหตุเป็นผล และอาจมีข้อเสนอแนะที่จะนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ หรือเพื่อต่อยอดงานวิจัย

      2) บทความวิชาการ ประกอบด้วย

         2.1)  บทนำ (Introduction) เป็นการนำเสนอที่มาหรือแนวความคิดที่ต้องการนำเสนอในบทความวิชาการ

         2.2) เนื้อหา เป็นส่วนหลักของเนื้อหาบทความ โดยมีการแบ่งประเด็นเพื่อนำเสนอ เป็นประเด็นย่อย ๆ และมีการจัดเรียงเนื้อหาโดยเรียงลำดับการนำเสนอตามรายละเอียดของเนื้อหา 

        2.3) สรุปผล เป็นการนำเสนอบทสรุปของบทความวิชาการ หรือองค์ความรู้ของบทความที่นำเสนอ

2.2.7  อื่น ๆ เช่น องค์ความรู้ใหม่ การนำไปใช้ประโยชน์ (ถ้ามี) เป็นข้อมูลในประเด็นอื่นที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอเพิ่มเติม เช่น องค์ความรู้ใหม่ การนำไปใช้ประโยชน์ ฯลฯ

2.2.8  กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) ระบุสั้นๆ ว่าได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยและความช่วยเหลือจากแหล่งใดบ้าง

2.2.9  เอกสารอ้างอิง (References) การอ้างอิงในบทความใช้การอ้างอิงแบบ APA ทุกการอ้างอิงที่ปรากฏในเนื้อหาต้องมีในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ ซึ่งการอ้างอิงในเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงทั้งบทความจะต้องตรงกัน โดยห้ามใส่เอกสารอ้างอิงบทความโดยปราศจากการอ้างอิงในเนื้อบทความ และต้องมีการอ้างอิงที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ รายละเอียดของเอกสารอ้างอิง ประกอบด้วยชื่อ-สกุลผู้เขียน ชื่อหนังสือหรือชื่อของบทความ ชื่อของเอกสารที่พิมพ์ สำนักพิมพ์หรือสถานที่พิมพ์ ปีที่ (ฉบับที่) พิมพ์ และเลขหน้าของบทความที่อ้างอิง ทั้งนี้การเขียนให้เป็นไปตามรูปแบบของชนิดของเอกสารที่อ้างอิงตามคู่มือการอ้างอิงของวารสาร ดาวน์โหลด

2.2.10 ตาราง (Table) การพิมพ์ตารางต้องมีหมายเลขกำกับใช้คำว่า “ตารางที่...” และมีคำอธิบายไว้เหนือตาราง โดยทุกตารางที่ใส่ไว้ในบทความจะต้องมีการกล่าวอ้างในเนื้อบทความ

2.2.11 รูปภาพ (Figure) การพิมพ์รูปภาพต้องมีหมายเลขกำกับใช้คำว่า “ภาพที่...” และมีคำอธิบายใส่ไว้ใต้รูป (รูปภาพให้บันทึกในรูปแบบของ .jpg แนบเพิ่มมาพร้อมกับไฟล์บทความด้วย) โดยทุกรูปภาพที่ใส่ไว้ในบทความจะต้องมีการกล่าวอ้างในเนื้อบทความ

2.2.12  สมการ (Equation) การพิมพ์ให้พิมพ์กึ่งกลางคอลัมน์และต้องมีหมายเลขกำกับอยู่ภายในวงเล็บ หมายเลขสมการ อยู่ชิดขอบด้านขวาสุดของคอลัมน์

2.2.13 ภาคผนวก (ถ้ามี)

  • เกณฑ์การพิจารณา

          บทความจะต้องได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นอย่างน้อย 2 คน ซึ่งเป็นแบบใช้การ Peer-review แบบ Double Blinded โดย กองบรรณาธิการ อาจให้ผู้เขียนปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และทรงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตัดสินลงตีพิมพ์หรือไม่ก็ได้

บทความวิจัย

บทความวิจัย หมายถึง บทความที่นำเสนอรายงานผลการวิจัยจากต้นฉบับ มีการประมวลองค์ความรู้ทีได้ศึกษา และผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 คน หรือการประเมินโดย Peer-review แบบ Double Blinded  ประกอบด้วยองค์ประกอบ ดังนี้ 

  • ชื่อเรื่องงานวิจัย (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
  • บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
  • คำสำคัญ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ให้ระบุ 3-5 คำ
  • บทนำ
  • การทบทวนวรรณกรรม
  • ระเบียบวิธีวิจัย
  • ผลการวิจัย
  • สรุปผลและอภิปรายผล (รวมข้อเสนอแนะ)
  • กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)
  • เอกสารอ้างอิง

ดาวน์โหลด Template บทความวิจัย Word หรือ PDF

บทความวิชาการ

บทความวิชาการ (Academic Articles) หมายถึง งานเขียนนำเสนอเนื้อหาที่เกิดจากการวิเคราะห์สังเคราะห์ทำให้ได้ผลงานที่มีความน่าสนใจ มีความรู้ใหม่ ผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 คน หรือการประเมินโดย Peer-review แบบ Double Blinded  ประกอบด้วยองค์ประกอบ ดังนี้

  • ชื่อเรื่องงานวิจัย (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
  • บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
  • คำสำคัญ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ให้ระบุ 3-5 คำ
  • บทนำ
  • แนวคิดหรือทฤษฎี
  • องค์ความรู้ใหม่ หรือแนวคิด หรือผลการวิเคราะห์ สังเคราะห์
  • สรุปผล
  • กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)
  • เอกสารอ้างอิง
  • เนื้อหาสามารถต้องชี้ประเด็นที่ต้องการนำเสนอได้อย่างชัดเจนโดยการลำดับเนื้อหาอย่างเหมาะสม สรุปผลและข้อเสนอแนะที่ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายและชัดเจน

 

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมลที่ป้อนในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในวารสารนี้เท่านั้นและจะไม่เผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่นๆ