Journal Information
จริยธรรมสำหรับการตีพิมพ์
มาตรฐานทางจริยธรรม
หน้าที่ของบรรณาธิการ
- พิจารณาตรวจสอบบทความให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร อยู่ในรูปแบบที่วารสารกำหนด รวมถึงตรวจสอบคุณภาพของบทความก่อนการตีพิมพ์
- กลั่นกรองบทความในเบื้องต้นก่อนส่งต่อไปยังผู้ประเมิน และปฏิเสธบทความหากพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์
- รับบทความและจัดกระบวนการพิจารณาประเมินบทความในลักษณะ Double-blind peer review
- ปฏิบัติตามขั้นตอนในการรับและพิจารณาตีพิมพ์บทความของวารสาร และศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) อย่างเคร่งครัด
- ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เผยแพร่ในวารสาร รักษามาตรฐานและพัฒนาให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
- ตรวจสอบข้อมูลในเวบไซด์ของวารสารให้มีความถูกต้อง ทันสมัย เป็นปัจจุบัน
- หากมีปัญหาข้อขัดแย้ง ให้นำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมกองบรรณาธิการ เพื่อหาข้อสรุปภายใต้ฉันทามติของกองบรรณาธิการ
จรรยาบรรณของบรรณาธิการ
- บรรณาธิการต้องพิจารณาบทความทุกบทความโดยปราศจากอคติต่อบทความหรือผู้นิพนธ์
- บรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้เสียหรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์หรือผู้ประเมินบทความ
- สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการ ภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนด
- ไม่นำความคิดเห็นส่วนตัวมาตัดสินใจรับหรือปฏิเสธบทความ
- ไม่นำบทความจากผู้นิพนธ์ไปทำซ้ำ หรือเขียนขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เป็นบทความของตนเอง
- ไม่แสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจกับผู้นิพนธ์ หรือผู้ประเมิน
- ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ต่อบุคคลอื่น หรือผู้ประเมิน ยกเว้นจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
หน้าที่ของผู้ประเมินบทความ
- พิจารณาก่อนรับเป็นผู้ประเมินว่ามีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ของบทความ และเต็มใจที่จะรับประเมิน ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่บรรณาธิการกำหนด
- ต้องแสดงเหตุผลในการรับพิจารณา หรือปฏิเสธการรับบทความ เป็นลายลักษณ์อักษรต่อบรรณาธิการ
- ประเมินบทความด้วยความรอบคอบ โดยใช้ความรู้ความสามารถด้านวิชาการอย่างเต็มที่
- ให้คำแนะนำอย่างสร้างสรรค์ และเป็นกัลยาณมิตร ชัดเจน บนหลักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับบทความและเป็นประโยชน์ต่อผู้นิพนธ์
- หากพบว่าบทความไม่อ้างอิง หรือคัดลอกผู้อื่น ให้แจ้งบรรณาธิการทราบ
- หากพบว่าบทความมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับผู้ประเมินต้องแจ้งบรรณาธิการทราบ
จรรยาบรรณของผู้ประเมินบทความ
- พิจารณาบทความภายใต้หลักการและเหตุผล โดยปราศจากอคติส่วนตัวต่อผู้นิพนธ์
- ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อผู้นิพนธ์ หากพบว่ามีส่วนได้เสีย ต้องปฏิเสธการรับบทความ
- ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลบทความที่ประเมินต่อบุคคลอื่นที่ไม่ใช่บรรณาธิการ
- ไม่หาผลประโยชน์ไม่ว่าในรูปแบบใดจากผู้นิพนธ์ หรือเรียกร้องค่าตอบแทนในการทำหน้าที่ประเมินนี้
หน้าที่ของผู้นิพนธ์
- ต้องเป็นผู้เขียนบทความ หรือมีส่วนร่วมในการเขียนบทความ ตรวจสอบบทความให้มีความเป็นต้นฉบับ และมีมาตรฐานการเขียนเชิงวิชาการที่ดี
- ตรวจสอบอ้างอิงในเนื้อความ และ บรรณานุกรมให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนด ไม่คัดลอกผลงานจากแหล่งอื่น และต้องไม่แสดงข้อมูลอันเป็นเท็จ
- ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ของข้อมูล เนื้อหา และรูปภาพ บทความของตนเอง
- ต้องให้ผู้ร่วมวิจัยยินยอมให้ และรับทราบการส่งบทความนี้มายังวารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
- ต้องรับผิดชอบข้อความ ซึ่งเป็นความคิดเห็นของผู้แต่งทั้งหมด
- หากผู้นิพนธ์ได้การรับรองจริยธรรม ควรส่งเอกสารใบรับรองมาพร้อมกับบทความ
- ไม่นำบทความที่ส่งเข้าระบบกับวารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร. พระนคร แล้ว ไปส่งให้วารสารอื่นอีก
- ต้องระบุแหล่งสนับสนุนทุนวิจัยไว้ในกิตติกรรมประกาศ
- เคารพความคิดเห็นที่ผู้ประเมินมีต่องานเขียน และดำเนินการแก้ไขโดยมิได้ชักช้า
จรรยาบรรณของผู้นิพนธ์
- ส่งบทความที่เขียนด้วยตนเอง และไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นรุปแบบของบล็อก หรือ เว็บไซด์ หรือ สิ่งพิมพ์ใด ๆ
- ไม่นำผลงานที่วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร. พระนคร ตีพิมพ์แล้ว ไปส่งตีพิมพ์กับวารสารอื่นอีก
- ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และอ้างอิงอย่างสม่ำเสมอทั้งในเนื้อความและบรรณานุกรม
- ผู้นิพนธ์ที่ปรากฏในบทความ ต้องมีส่วนร่วมในงานวิชาการนี้จริง
- ผู้นิพนธ์พึงนำเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และองค์ความรู้ที่ทันสมัย อันจะเป็นประโยชน์ต่อความก้าวหน้าในศาสตร์และอาชีพด้านเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน