ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาตนเองในยุคเครือข่ายสังคมของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, การพัฒนาตนเอง, ยุคเครือข่ายสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยี พฤติกรรมการเรียนรู้ เทคโนโลยี พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำ วัน และการพัฒนาตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร เพื่อเปรียบเทียบ ลักษณะทางประชากรกับการพัฒนาตนเองของผู้สูงอายุในยุคเครือข่ายสังคม และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกับการพัฒนาตนเอง ในยุคเครือข่ายสังคมของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จำ นวน 400 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ ที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ไคว์สแควร์ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และใช้สถิติ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครมีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับ เทคโนโลยีผ่านสื่อวิทยุโทรทัศน์เป็นประจำ มีพฤติกรรมการเรียนรู้เทคโนโลยี มีพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำ วัน และการพัฒนาตนเองของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า อายุและรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกันมีการพัฒนาตนเองในยุคเครือข่ายสังคมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยที่มีผลต่อ การพัฒนาตนเองในยุคเครือข่ายสังคมของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครคือ การใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำ วัน ร้อยละ 45.90 และการเรียนรู้เทคโนโลยี ร้อยละ 37.20
References
คุณภาพชีวิตท้องถิ่น. (7 มกราคม 2552). บางกอกทูเดย์.
นครินทร์ ซื่อสัตย์. (2551). ชมรมผู้สูงอายุกับการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.
ปรมะ สตะเวทิน. (2541). การสื่อสารมวลชน กระบวนการและทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2555). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2555. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2556). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2556. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร : พัฒนาศึกษา.
สถิติคนชราครองโลก. (12 มีนาคม 2552). ไทยรัฐ.
สู่สังคมผู้สูงอายุ. (2 มีนาคม 2552). โพสต์ทูเดย์.
สัญญา รักชาติ. (2550). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
อุบลรัตน์ เพ็งสถิต. (2551). จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ออกแบบเพื่อผู้สูงอายุ ความท้าทายของนักออกแบบในอนาคต. (17 กุมภาพันธ์ 2552). กรุงเทพธุรกิจ.
Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. 2nd Ed. New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต