การสังเคราะห์เกณฑ์คุณภาพสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลทางการศึกษา

ผู้แต่ง

  • จักรีรัตน์ แสงวารี สาขาวิชาการบริหารนวัตกรรมการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

โทรทัศน์ดิจิทัล, สถานีโทรทัศน์ดิจิทัลทางการศึกษา, เกณฑ์คุณภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์เกณฑ์คุณภาพสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลทางการศึกษา (2) ศึกษา มุมมองของผู้ทรงคุณวุฒิต่อเกณฑ์คุณภาพสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลทางการศึกษา (3) สังเคราะห์เกณฑ์คุณภาพสถานีโทรทัศน์ ดิจิทัลทางการศึกษา โดยจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 ท่าน ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร ด้านการศึกษา ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ ด้านนิเทศศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์เกณฑ์คุณภาพสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลทางการศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านบริหารจัดการ 2) ด้านการจัดผังรายการ 3) ด้านบุคคล 4) ด้านผู้รับบริการ และ 5) ด้านการประเมินผล ส่วนมุมมองของผู้ทรงคุณวุฒิต่อเกณฑ์คุณภาพสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลทางการศึกษา ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านงานบริหาร 2) ด้านการผลิตรายการ/เนื้อหารายการ 3) ด้านการสื่อสารองค์กร 4) ด้านกลุ่มเป้าหมาย 5) ด้านการวิจัย 6) ด้านสังคม และ 7) ด้านงบประมาณ และผลการสังเคราะห์เกณฑ์คุณภาพ สถานีโทรทัศน์ดิจิทัลทางการศึกษา โดยการเชื่อมโยงจากการทบทวนวรรณกรรมกับผลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบหลักคือ 1) ด้านการบริหารจัดการ 2) ด้านการจัดผังรายการ/ผลิตรายการ 3) ด้านทรัพยากรบุคคล 4) ด้านผู้เปิดรับ และ 5) ด้านการวิจัยและประเมินผล

References

กตัญญู หิรัญญสมบูรณ์. (2548). การบริหารอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร : เท็กซ์ แอนด์เจอร์นัล พับลิเคชั่น.
กาญจนา แก้วเทพ. (2556). การบริหารงานโทรทัศน์. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2554). กสทช. 2554. กรุงเทพมหานคร : ฮีซ์.
ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2540). ศัพท์การบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ต้นอ้อ แกรมมี่.
ชิตณรงค์ คุณกฤดาธิการ. (2551). การบริหารกิจการสื่อสาร. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ไชยา เกศารัตน์. (2555). [ออนไลน์]. รัฐประศาสนศาสตร์: การบริหารมืออาชีพ. [สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2557] จาก http://human.skru.ac.th/image/article/t8-55.pdf
ณัฏฐ์ชุดา วิจิตตจามรี. (2554). การสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธงชัย สันติวงษ์. (2543). องค์การและการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.
ธาม เชื้อสถาปนศิริ. (2557, กุมภาพันธ์). ฝันเป็นจริง Digital TV, 4PM for Public Media, 2014 (2), 50.
นภาภรณ์ อัจฉริยะกุล และอมรมาศ คงธรรม. (2547). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยุและโทรทัศน์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร. (2547). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ลักษณา คล้ายแก้ว และดารุณี นครอินทร์. (2555). “การจัดและส่งเสริมรายการบนอินเตอร์เน็ตทีวีในประเทศไทย”. นิเทศศาสตรปริทัศน์, ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 : 151-165.
วสันต์ อติศัพท์. (2533). การผลิตเทปโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและฝึกอบรม. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์ และคณะ. (2546). การวางแผนกลยุทธ์ : ศิลปะการกำ หนดแผนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร : อินโนกราฟฟิกส์.
วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2543). คุณภาพคือการปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.
วีรพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล. (2540). TQM LIVING HANDBOOK : An Executive Summary. กรุงเทพมหานคร : บีพีอาร์แอนด์ทีคิวเอ็มคอนซัลแทนท์
สมควร กวียะ. (2547). การประชาสัมพันธ์ใหม่. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
สยามอินเทลลิเจนซ์ยูนิต. (2556). [ออนไลน์]. บทวิเคราะห์ Digital TV การเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมทีวีไทยใต้เงื้อมมือ กสทช. [สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2557] จาก http://www.siamintelligence.com/thai-digital-tv-analysis/
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2554). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2553). อภิธานศัพท์การประกันคุณภาพการศึกษา (QA Glossary). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).
สุทิติ ขัตติยะ. (2555). หลักการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. กรุงเทพมหานคร : ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2554). การบริหารงานสื่อสารมวลชน. กรุงเทพมหานคร : ประสิทธิ์ภัณฑ์แอนด์พรินติ้ง.
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ และคณะ. (2550). สื่อมวลชนเบื้องต้น สื่อมวลชน วัฒนธรรม และสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-25