การวิเคราะห์เนื้อหาการนำเสนอข่าวประชาคมอาเซียนของหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ข่าวสด และโพสต์ทูเดย์

ผู้แต่ง

  • ณาตยา ฉาบนาค สาขาการบริหารสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ประชาคมอาเซียน, หนังสือพิมพ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการนำ เสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนของ หนังสือพิมพ์ไทย โดยระบุตัวอย่างของหนังสือพิมพ์ 3 ฉบับ ได้แก่ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ข่าวสด และโพสต์ทูเดย์ ซึ่งมีรูปแบบการนำ เสนอเนื้อหาที่แตกต่างกัน เพื่อให้ทราบความแตกต่างของการนำ เสนอข้อมูลดังกล่าว ตลอดจนปัญหา และอุปสรรคในการนำ เสนอข่าวประชาคมอาเซียนในปัจจุบัน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาที่ปรากฏในหน้า หนังสือพิมพ์ และการไปสัมภาษณ์แบบเจาะลึกบรรณาธิการข่าวประชาคมอาเซียนของหนังสือพิมพ์ทั้ง 3 ฉบับ ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาสำคัญในการนำ เสนอข่าวประชาคมอาเซียนคือ ความไม่ชัดเจนในการนำ เสนอข่าวประชาคมอาเซียน รวมไปถึงการนำ เสนอข่าวที่ไม่ครอบคลุมวัตถุประสงค์หลักของประชาคมอาเซียนเท่าที่ควร นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์ ทั้ง 3 ฉบับหนังสือพิมพ์ยังขาดการกระตุ้นให้ประชาชนได้เกิดการเตรียมพร้อมที่จะปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะด้านการเมือง ความมั่นคง ตลอดจนด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งในแต่ละประเทศของ ภูมิภาคอาเซียนมีความแตกต่างกัน รวมไปถึงยังขาดการกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความรู้สึกของการเป็นประชาคมอาเซียน อย่างแท้จริงอีกด้วย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2545). สื่อมวลชน ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ศาลาแดง.
จุมพล รอดคำ ดี. (2532). สื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฏฐิกา ณ ระนอง. (2548). การนำ เสนอข่าวประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนทางหน้าหนังสือพิมพ์ไทยรายวัน. วิทยานิพนธ์วารสารมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดรุณี หิรัญรักษ์. (2542). การสื่อสารมวลชนโลก=Global Communication. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนวดี บุญลือ จาระไน แกลโกศล และพีระ จิระโสภณ. (2544). หลักและทฤษฎีการสื่อสาร. นนทบุรี : สำ นักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นนทรี เหมทานนท์. (2557). วิเคราะห์รูปแบบและเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับอาเซียนระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินโดนีเซีย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สื่อสารมวลชน) คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นันทิยา วรเพชรายุทธ, สัมภาษณ์. 15 กรกฎาคม 2558.
บัญญัติ คำ นูณวัฒน์. (2558). เกาะติดเขตเศรษฐกิจพิเศษ..ทำ การค้าชายแดนให้รุ่งเรือง. คมชัดลึก (4 ก.พ. 2558).
พีระ จิระโสภณ. (2529). ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน. กรุงเทพมหานคร : สำ นักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พุฒิพงษ์ รับจันทร์. (2556). การเตรียมความพร้อมขององค์กรสื่อวิทยุโทรทัศน์ในการสร้างการรับรู้ของประชาชนเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เพ็ญแข เอี่ยมนิรัตน์. (2537). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการคัดเลือกข่าวต่างประเทศเพื่อลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ภาษาไทยรายวัน 4 ฉบับ. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เพ็ญพงศ์ สุขโชคศิริพร. (2552). การรับรู้เกี่ยวกับประเทศชั้นนำ ของโลกและแนวทางการคัดเลือกข่าวต่างประเทศในหนังสือพิมพ์ และหนังสือพิมพ์ออนไลน์ไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทย์ บัณฑิตสกุล. (2554). รู้จักประชาคมอาเซียน. กรุงเทพมหานคร : สถาพรบุ้คส์.
สมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย. (2555). [ออนไลน์]. สื่อมวลชนยุคประชาคมอาเซียน. สืบค้นจาก www.tja.or.th
สุรินทร์ พิศสุวรรณ. (2554). รู้ไว้ได้เปรียบแน่. กรุงเทพมหานคร : สำ นักพิมพ์อมรินทร์. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2556). [ออนไลน์]. เส้นทางประเทศไทยสู่ประชาคม
อาเซียน การประชุมประจำ ปี 2556 ของ สคช. สืบค้นจาก http://www.nesdb.go.th
อภิชาต ศรีสอาด. (2556). ก้าวใหม่ประเทศไทยภายใต้ AEC. กรุงเทพมหานคร : นาคา อินเตอร์มีเดีย.
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์. (2550). สื่อสารมวลชนเบื้องต้น : สื่อมวลชน วัฒนธรรม และสังคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Berbard, B. (1967). Content Analysis of Communication. New York : The MacMillan.
Cohen, B. C. (1963). The Press and Foreign Policy. Printceton, N.J. : Princeton University.
Dearing, J. W. & Rogers, E. M. (1996). Agenda-Setting.T housand Oaks. Calif : Sage Publication.
Holsti, R. O. (1969). Content Analysis for the Social and Humanities. Mass Addison-Westly
Krippendorff, K. (1980). Content Analysis : An Introduction to Methodloggy. London Sage.
McCombs, ME. & Shaw, D. L. (1972, Spring). The agenda-setting function of mass media. Public Opinion Quarterly, 36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-26