การศึกษาคำแสดงอารมณ์ที่ปรากฏในนิตยสารภาพยนตร์บันเทิงฉบับละคร เรื่องบางระจันและวิมานเมขลา
คำสำคัญ:
คำแสดงอารมณ์, ละคร, นิตยสารบันเทิง, นิตยสารภาพยนตร์บันเทิงบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย และเปรียบเทียบคำแสดงอารมณ์ที่ปรากฏในนิตยสารภาพยนตร์บันเทิงฉบับละครเรื่อง “บางระจัน” และ “วิมานเมขลา” ดำเนินการศึกษาโดยการสังเคราะห์เนื้อหาด้วยรูปแบบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ตามกรอบการให้คำนิยามความหมายคำแสดงอารมณ์ของ รุ่งทิวา ฉัททันต์รัศมี (2554) ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. คำแสดงอารมณ์ที่ใช้แสดงอารมณ์ ความรู้สึกของผู้พูด 2. คำแสดงอารมณ์ที่ใช้แสดงความปรารถนาหรือความต้องการของผู้พูด 3. คำแสดงอารมณ์ที่ใช้แสดงการรับรู้หรือความคิดของผู้พูด เก็บข้อมูลจากนิตยสารภาพยนตร์บันเทิงฉบับละครปีที่ 9 ฉบับที่ 914 เรื่อง “บางระจัน” และนิตยสารภาพยนตร์บันเทิงฉบับละครปีที่ 9 ฉบับที่ 998 เรื่อง “วิมานเมขลา” ผลการศึกษาพบว่า 1) คำแสดงอารมณ์ที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูดในเรื่อง “บางระจัน” พบ 9 อารมณ์ ได้แก่ อารมณ์ไม่พอใจ ประหลาดใจ สงสัยหรือไต่ถาม เอ็นดูรักใคร่ ตกใจ สงสาร รำคาญใจ ดูหมิ่น และอารมณ์ขัดเคืองใจ ในเรื่อง “วิมานเมขลา” พบ 18 อารมณ์ ได้แก่ อารมณ์ตกใจ ประชดประชัน ประหลาดใจ ตื่นเต้น หมั่นไส้ ไม่พอใจ สงสัยหรือไต่ถาม รำคาญใจ พูดพลั้งไป ชื่นชม ดีใจ เหนื่อยใจ ขัดเคืองใจ สงสาร เจ็บปวด หยอกล้อ โล่งใจ และอารมณ์เสียดาย 2) คำแสดงอารมณ์ที่ใช้แสดงความปรารถนาหรือความต้องการของผู้พูด เรื่อง “บางระจัน” และเรื่อง “วิมานเมขลา” แยกเป็น 3 ลักษณะ คือ (2.1) แสดงความปรารถนาหรือความต้องการของผู้พูด (2.2) เรียกความสนใจของผู้พูด (2.3) แสดงการทักท้วงของผู้พูด และ 3) คำแสดงอารมณ์ที่ใช้แสดงการรับรู้หรือความคิดของผู้พูด มีการใช้คำที่เหมือนกัน และต่างกัน คำที่ใช้เหมือนกันคือคำว่า “เออ”
References
แทนใจ โพธิแท่น. (2545). จุดกำเนิดและพัฒนาการของรูปแบบและเนื้อหานิตยสารภาพยนตร์ทีวีพูล. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวารสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนิสร บัณฑิตภักดิ์. (2548). การศึกษาคำสแลงในภาษาไทยของวัยรุ่นที่พบในนิตยสารบันเทิง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
รุ่งทิวา ฉัททันต์รัศมี. (2554). การศึกษาคำอุทานในภาษาไทยที่ปรากฏในนิตยสารบันเทิง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. (2541). ภาษาศาสตร์ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
สารานุกรมเสรี. (2560). [ออนไลน์]. ละครย้อนยุค. สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org.
เอื้องอรุณ สมิตสุวรรณ. (2559). “วิมานเมขลา.” นิตสารภาพยนตร์บันเทิงฉบับละคร. 9(998).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต