การเปิดรับสื่อสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีนของคนไทย ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • วรพรรณ เรืองโชติช่วง สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • อริชัย อรรคอุดม คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีน, การสื่อสารเพื่อสุขภาพ, สื่อสังคม, การเปิดรับสื่อ

บทคัดย่อ

        การศึกษาในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเจตคติเรื่องการรักษาสุขภาพมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีนของคนไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) สำรวจและวิเคราะห์การเปิดรับสื่อสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีนของคนไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยศึกษาจากประชากรวัย 18-60 ปีที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 200 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เปิดรับสื่อสังคมเฟซบุ๊ก โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการเปิดรับสื่อสังคม คือ การใช้งานตามกระแสนิยม นิยมดูคลิปวิดีโอเกี่ยวกับการสาธิตวิธีการทำอาหารคลีน โดยสนใจในองค์ประกอบต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในสื่อสังคมเฟซบุ๊กเกี่ยวกับอาหารคลีนในระดับมาก และรูปอาหารมีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมการตลาดมากที่สุด โดยพบว่า อิทธิพลที่ทำให้ซื้ออาหารคลีนจากการเปิดรับสื่อสังคมคือ การส่งเสริมการตลาด ส่วนการใช้สื่อวิดีโอในอินสตาแกรมควรมีความยาวไม่เกิน 30 วินาที ในขณะที่สื่อเฟซบุ๊กโฆษณาประเภท Page Post มีความน่าสนใจมากที่สุด ส่วนในไลน์คือ โฆษณาประเภท LINE Sponsored Sticker นอกจากนี้ ผู้บริโภคที่มีความสนใจ   อาหารคลีนมีเจตคติที่ดีเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพในระดับมาก เนื่องจากอาหารคลีนส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย และผู้บริโภคมักนิยมสั่งซื้ออาหารคลีนทางเฟซบุ๊ก และชำระเงินด้วยวิธีการโอนเงินผ่านธนาคาร

 

References

จรีวรรณ แซมมณี. (2550). แบนเนอร์โฆษณาบนเว็บไซต์กับการจดจำได้ของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ทิพย์วัลย์ ยะพันธ์. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตของนักศึกษา
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต,
คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พันธ์ทิพย์ สิทธิปัญญา. (2553). พฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทวิตามินชนิดเม็ด
ของนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พิศิษฐ์ สวนนาค และปราณี แก้วดำรงค์. (2550). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนของผู้จำหน่ายอาหาร ในการเลือกซื้ออาหารสดมาจำหน่ายในตลาดนัดเขตเทศบาลตำบลห้วยชินสีห์. ม.ป.ท. : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วงศ์สวาท โกศัลวัฒน์. (2545). การวิเคราะห์โอกาสและศักยภาพของการพัฒนาอาหารไทยสู่ตลาดโลก. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2555). การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาด. กรุงเทพมหานคร : ท้อป.
ศูนย์ข้อมูลกรุงเทพ. (2558). [ออนไลน์]. สถิติกรุงเทพมหานคร 2558. สืบค้นจาก http://www.bangkok.go.th/upload/user/00000130/Logo/statistic/stat%202558(thai).pdf.
สิริพันธุ์ จุลกรังคะ. (2542). โภชนาศาสตร์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุภาพร ชุ่มสกุล. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของ นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,
สาขาวิชาการประกอบการ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมฤดี วีระพงษ์. (2535). [ออนไลน์]. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทยในปัจจุบัน. สืบค้นจาก http://www.nmt.ac.th/product/web/1/food.html.
Jun, J. (2014). A study on market segmentation of sales promotion in the family restaurant-focused on sales promotion of strategic alliances benefits. Korean Journal of Food and Cookery Science, 25(5), 531-544.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-27