กลยุทธ์การบริหารจัดการแบรนด์ของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อภิญญ์พัทร์ กุสิยารังสิทธิ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

การบริหารแบรนด์, การสื่อสารแบรนด์, เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับกลยุทธ์การบริหารจัดการแบรนด์ของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย 3 เครือข่าย ได้แก่ เอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ เอช ดังนี้ 1) การสื่อสารแบรนด์เอไอเอสด้านอารมณ์ที่สะท้อนภาพลักษณ์ผู้ใช้บริการที่มีรายได้ดี มีความหรูหรา เอไอเอสมีลักษณะการสื่อสารแบรนด์คล้ายกับคู่แข่งเรื่องการนำเสนอสินค้าและบริการที่หลากหลาย อาทิ เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่มีความแตกต่างเรื่องการให้บริการอินเทอร์เน็ตบ้านที่แบรนด์เอไอเอสทำเพิ่มขึ้น และเป็นแบรนด์เดียวที่ใช้ตัวแสดงลักษณะเฉพาะ คือ น้องอุ่นใจ เป็นเครื่องมือสื่อสารแบรนด์ และมีการทำกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม    ที่เน้นด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวอย่างต่อเนื่องภายใต้โครงการสานรักจากเอไอเอส 2) การบริหารแบรนด์ของดีแทคมีการนำเสนอเรื่องเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่มีประสิทธิภาพ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต 4G เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ นอกจากนั้น ยังมีการสื่อสารที่เน้นเรื่องความรู้สึกดีๆ (Feel Good) และความรับผิดชอบต่อสังคมด้านสื่อออนไลน์ที่นำเสนอการรู้เท่าทันสื่ออินเทอร์เน็ตของเด็ก และเยาวชน การสานความสัมพันธ์ในครอบครัว จากโครงการสำนึกรักบ้านเกิดที่จัดทำอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อส่งเสริมอาชีพของเกษตรกรไทย และ 3) แบรนด์ทรูมูฟ เอช มุ่งนำเสนอภาพลักษณ์แตกต่างจากคู่แข่ง โดยการสื่อสารแบรนด์ผ่านกลุ่มทรูคอร์ปอเรชั่น ทำให้ผู้รับสารเกิดการจดจำแบรนด์ได้ง่ายกว่าแบรนด์อื่น มีการนำเสนอสิทธิประโยชน์ที่เชื่อมโยงกันกับลูกค้าในกลุ่มทรูคอร์ปอเรชั่น การสื่อสารที่สำคัญคือ การเน้นเรื่องนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ใช้กับการศึกษา การรักษาพยาบาล และการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยนำเสนอภาพลักษณ์แบรนด์ ด้วยความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนการสื่อสารแบรนด์ด้วยโฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

References

กุณฑลี รื่นรมย์. (2556). Corporate Brand Success Valuation. กรุงเทพมหานคร : ไซเบอร์พริ้นท์.
ฐานเศรษฐกิจ. (2559). 3 ค่ายมือถือสู้เดือด! ศึกชิงลูกค้าในทุกรูปแบบ. 36(3), 187.
ดาวน ไอแอคโคบุชชี่ และ ฟิลลิป คอทเลอร์. (2551). การบริหารการตลาดของ Kellogg [Kellogg on
Marketing]. (ณัฐยา สินตระการผล, ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร : ส. เอเชียเพรส (1989).
ดีแทค. (2560). [ออนไลน์]. DTAC Reward. สืบค้นจาก http://www.dtac.co.th/dtacreward.
ดีแทค. (2560). [ออนไลน์]. DTAC Play. สืบค้นจาก http://dtacplay.dtac.co.th/th/main.
ทรูคอร์เปอเรชั่น. (2558). รายงานประจำปี 2558. กรุงเทพมหานคร : ม.ป.ท.
ทรูมูฟเอช. (2560). [ออนไลน์]. กลุ่มทรูรายงานผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 3 ปี 2559. สืบค้นจาก http://www3.truecorp.co.th/investor/entry/1470.
โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น. (2559). รายงานประจำปี 2558 บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน). กรุงเทพมหานคร : ม.ป.ท.
โพซิชั่นนิ่ง. (5 มีนาคม 2549). [ออนไลน์]. จากออเร้นจ์สู่ “ทรูมูฟ”. สืบค้นจาก
http://positioningmag.com/8443.
วิทยา จารุพงศ์โสภณ. (2557). กลยุทธ์การบริหารแบรนด์ (Strategic Brand Management). กรุงเทพมหานคร : แปลน พริ้นติ้งท์.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2559). [ออนไลน์]. รายงานอัตราค่าบริการโทรคมนำคม ประจำไตรมำสที่ 2/2559 (เมษายน – มิถุนายน 2559). สืบค้นจาก http://www.nbtc.go.th/getattachment/Business/commu/telecom/ information/research/document/รายงานอัตราค่าบริการโทรคมนาคม/ปี-2559/รายงานอัตราค่าบริการไตรมาส-2_59.pdf.aspx
เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์. (2558). [ออนไลน์]. “ใช้ชีวิตได้มากกว่า” การปรับแบรนด์ครั้งสำคัญของเอไอเอส.
สืบค้นจาก http://www.manager.co.th/cyberbiz/viewnews.aspx?NewsID=9580000066293.
แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส. (2546). [ออนไลน์]. แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2546 . สืบค้นจาก http://capital.sec.or.th/webapp/corp_fin/datafile/56/20030268T05.DOC.

แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส. (2558). [ออนไลน์]. เอไอเอส รับรางวัล “ภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ดีเด่น
ประจำปี 2558” 2 เรื่อง จาก สคบ. สืบค้นจาก
http://aisclub.ais.co.th/WebboardDetail.aspx?mid=28&room=7&qid=90584.
แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส. (2560). [ออนไลน์]. แนวทางสู่ความยั่งยืนของเอไอเอส. สืบค้นจาก
http://www.ais.co.th/csr.html.
แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส. (2558). รายงานประจำปี 2558. กรุงเทพมหานคร : ม.ป.ท.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-27