ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาในทัศนะของนักศึกษา

ผู้แต่ง

  • สาวิตรี สุวรรณโณ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ภาพลักษณ์, การประชาสัมพันธ์, การเปิดรับข่าวสาร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาในมุมมองของนักศึกษา และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารและภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
สวนสุนันทา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวมรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 360 คน โดยใช้สถิติ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทามีภาพลักษณ์อยู่ในระดับค่อนข้างจริงในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะภาพลักษณ์ด้านองค์กร คือ การเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏอันดับ 1 ของประเทศ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ภาพลักษณ์ด้านการจัดการด้านอุปกรณ์ อาคารและสถานที่ คือ การมีอาคารสถานที่ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมไทย อันดับสามได้แก่ ภาพลักษณ์ด้านหลักสูตรการเรียนการสอนและนักศึกษา คือ มีนักศึกษาและบัณฑิตที่ดีและมีคุณภาพ โดยจากการทดสอบสมมติฐานพบว่า นักศึกษาที่มีลักษณะทางประชากรด้านเพศ และคณะที่แตกต่างกันนั้นมีมุมมองต่อภาพลักษณ์ต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในขณะที่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่มีชั้นปีที่แตกต่างกัน โดยการเปิดรับข่าวสารมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01

References

กรกนก วิโรจศรีสกุล. (2546). ภาพลักษณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสายตาประชาชนเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรมะ สตะเวทิน. (2539). หลักและทฤษฏีการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พีระ จิระโสภณ. (2538). หลักและทฤษฏีการสื่อสาร. เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและทฤษฏีการสื่อสารกรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วศมล สบายวัน. (2553). การพัฒนาแบบวัดภาพลักษณ์องค์กร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชา
การประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิภาวรรณ ทองเพชร. (2546). ภาพลักษณ์กองทัพอากาศในสายตาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิรัช ลภิรัตนกุล. (2553). การประชาสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.
Argenti, P. A., (2007). Corporate communication. Boston: McGraw-Hill/Irwin.
F. Faul, E. Erdfelder, A. Buchner, and A. G. Lang, (2009). “Statistical power analyses using G*Power 3.1,” Behavior Research Methods. 41(4): 1149-1160.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-25