ความพร้อมเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
คำสำคัญ:
ความพร้อม, มหาวิทยาลัยดิจิทัล, ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความพร้อมเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา อาจารย์ผู้สอน และบุคลากรสายสนับสนุน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-Test, F-test และ Pearson Correlation ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีความเห็นว่าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยมีความพร้อมอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.51, S.D.=.375) ในขณะที่บุคลากรสายสนับสนุนและผู้สอน เห็นว่ามีความพร้อมในระดับน้อย ( =2.39, S.D.=.624 และ =2.25, S.D.=.472 ตามลำดับ) โดยระบบที่นักศึกษาเห็นว่ามีความพร้อมมากที่สุดคือ ระบบบริการโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล ( =2.91, S.D.=.570) และระบบที่มีความพร้อมน้อยที่สุดคือ ระบบบริการทรัพยากรการเรียนรู้ ( =2.14, S.D.=.535) ส่วนระบบที่ผู้สอนเห็นว่ามีความพร้อมน้อยที่สุดคือ ด้านห้องเรียน/ห้องปฏิบัติการ/ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ( =1.92, S.D.=.782) และระบบที่บุคลากรสายสนับสนุนเห็นว่ามีความพร้อมน้อยที่สุดคือระบบสารสนเทศระบบนิเวศดิจิทัลงานวิจัย ( =2.03, S.D.=.887) ส่วนปัจจัยที่สัมพันธ์กับความพร้อมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ปัจจัยที่มีระดับความสัมพันธ์สูงสุดในกลุ่มนักศึกษา คือ จุดมุ่งหมายในการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มผู้สอน คือ ความคิดเห็นต่อการ Login เข้าใช้งาน และขั้นตอนในการใช้งานของระบบต่างๆ มีความสะดวก รวดเร็ว และง่ายในการใช้งาน ส่วนกลุ่มบุคลากรสายสนับสนุน ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความพร้อม คือ เพศ
References
ธิราลักษณ์ ธีรวัจณนารถ. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้คอมพิวเตอร์ของบุคลากรครูในโรงเรียนการศึกษา ขั้นพื้นฐานเอกชน จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิภา เมธธาวิชัย. (2543) วิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฏธนบุรี.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2015). โครงการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Economy) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2552). เทคนิคการเขียนรายงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2560). สถิตินักศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
สุชาดา กีระนันทน์ .(2001). เทคโนโลยีสารสนเทศสถิติ: ข้อมูลในระบบสารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก .(2559). ราชมงคลพระนครมุ่งพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยดิจิทัล. ประจำวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต