การสื่อสารกับการมีส่วนร่วมในชุมชนต่อปัญหาหมอกควันภาคเหนือของเยาวชน ในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • นิศากร ไพบูลย์สิน สาขาวิชาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมในชุมชน, ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารเรื่องปัญหาหมอกควันภาคเหนือ (2) ศึกษาการมีส่วนร่วมในชุมชนต่อปัญหาหมอกควันภาคเหนือ และ (3) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารกับการมีส่วนร่วมในชุมชนต่อปัญหาหมอกควันภาคเหนือของเยาวชนในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน ได้ทำวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) เยาวชนส่วนใหญ่มีการเปิดรับข่าวสารมลพิษทางอากาศและหมอกควันจากสื่อมวลชนในระดับปานกลางไม่ว่าจะเป็นสื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ และสื่อหนังสือพิมพ์ หรือสื่อในระดับชุมชน ได้แก่ แผ่นพับ เสียงตามสายในชุมชน และอินเทอร์เน็ต สื่อที่ได้รับความนิยมและมีการเปิดรับมากที่สุด ได้แก่ อินเทอร์เน็ต สื่อโทรทัศน์ และสื่อบุคคล ได้แก่ พ่อ แม่ และสมาชิกในครอบครัวมากที่สุด (2) การมีส่วนร่วมลดปัญหามลพิษทางอากาศและหมอกควันของเยาวชนอยู่ในระดับน้อย ถึงแม้ว่าจะมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากช่องทางของสื่อต่างๆ ในชุมชน และเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจถึงสาเหตุและผลกระทบของมลพิษหมอกควัน แต่ไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในชุมชนได้ ดังนั้นการปรึกษาหารือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเป็นกลไกสำคัญในการสื่อสาร เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการแก้ปัญหาในชุมชนด้วยการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันทุกระดับ (3) ปัจจัยที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารกับการมีส่วนร่วมในชุมชนต่อปัญหาหมอกควันภาคเหนือของเยาวชนในจังหวัดเชียงใหม่ ไม่มีความสัมพันธ์กัน

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2543). “การสื่อสารกับพื้นที่สาธารณะ: ทัศนะของ Harbermas” ใน มองสื่อใหม่มองสังคมใหม่. กรุงเทพมหานคร : เอดิสัน เพรส โพรดักส์.
ปาริชาติ สถาปิตานนท์และคณะ. (2549). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน:จากแนวคิดสู่
การปฏิบัติการวิจัยในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
พรทิพย์ พิมลสินธุ์. (2553). การบริหารงานประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรรณวิมล หุตินทรวงศ์. (2549). การสื่อสารในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบโฮมสเตย์ ของชุมชน
ปลายโพงพาง อําเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Burikul, T. (2009). Political participation for Thai citizens in a democratic system from the first constitution to the constitution of B.E. 2550. Nonthaburi : A P Graphic Design and Printing.
DeFleur, M., L. (1975). “Mass Media Influences on Public Conceptions of Social Problems.” Social Problems. 23(1), 22-34.
Schramm, W. (1973). Mass Media and National Development. California : Stanford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26