ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเสริมเกี่ยวกับรูปร่างที่ได้รับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

ผู้แต่ง

  • ปรียาณัฐ เสริมศิลป์ สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • วิมลพรรณ อาภาเวท สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

การตัดสินใจซื้อสินค้า, สื่อสังคมออนไลน์, อาหารเสริมเกี่ยวกับรูปร่าง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง (1) ลักษณะของประชากรกับการตัดสินใจซื้ออาหารเสริมเกี่ยวกับรูปร่างที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก อย. (2) พฤติกรรมการใช้เลือกใช้ประเภทและเวลาที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการตัดสินใจซื้ออาหารเสริมเกี่ยวกับรูปร่างที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก อย. (3) เครื่องมือสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับการตัดสินใจซื้ออาหารเสริมเกี่ยวกับรูปร่างที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก อย. และ (4) ลักษณะประชากรกับการเลือกเปิดรับเครื่องมือสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างคือบุคคลที่เคยซื้ออาหารเสริมเกี่ยวกับรูปร่างที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก อย. จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า (1) อายุ การศึกษา อาชีพ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้ออาหารเสริมเกี่ยวกับรูปร่างที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก อย. (2) ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์ และระยะเวลาในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้ออาหารเสริมเกี่ยวกับรูปร่างที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก อย. (3) เครื่องมือสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้ออาหารเสริมเกี่ยวกับรูปร่างที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก อย. (4) เพศ อายุ อาชีพ มีความสัมพันธ์กับ
การเปิดรับการใช้เครื่องมือสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญ .05

References

ชวัล วินิจชัยนันท์ และปรีชา วินิจชัยนันท์. (2561). “ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อควบคุมน้ำหนักของประชาชนในกรุงเทพมหานคร.” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ฐิติกาญจน์ พลับพลาลี และพรรษพร เครืองวงษ์. (2558). “พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของนักศึกษา ในมหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร แม่สอด.” นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12.
ดวงมาลย์ พละไกร และคณะ. (2556). “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้ยาลดความอ้วนในนักศึกษาหญิงในมหาวิทยาลัย.” วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 52(4).
ดารณี ประคำศรีวงศ์. (2557). การใช้ข่าวสารการลดน้ำหนักจากสื่อออนไลน์ของผู้หญิง. การค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ศิริวรรณ เสิศสุชาตวนิช และมณฑา เก่งการพานิช. (2550). “พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ที่ใช้ควบคุมน้ำหนักของบุคลากรสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี.” วารสารสุขศึกษา. 30(105).
ศิวรักษ์ กิจชนะไพบูล. (2555) “พฤติกรรมการลดน้ำหนักที่ไม่ถูกต้องของวัยรุ่นและเยาวชนไทย.” วารสารพยาบาลสาร. ฉบับที่ 4
สยามธุรกิจ. (2557). [ออนไลน์]. ธุรกิจ‘ฟิตหุ่น’หมื่นล้านบูมสนั่นดารายกทัพยึด‘แฟนคลับ’. สืบค้นจาก https://www.siamturakij.com/news/
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2546). [ออนไลน์]. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร. สืบค้นจาก http://webnotes.fda.moph.go.th
Ayda Darban, Wei Li. (2012). The impact of online social networks on consumers’ purchasing decision. Master’s thesis within Business Administration. jonkoping university.
Hinkle, D.E, William, W. and Stephen G. J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4thed. New York : Houghton Mifflin

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26